การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติ...

10
วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ ปีท่ 6 ฉบับที่ 1 เดือน ตุลาคม 2553 มีนาคม 2554 การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551: ทัศนะจากผู้กากับภาพยนตร์ไทยและผู้ปกครองในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ภาสวรรณ กรกชมาศ 1 [email protected] บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เปรียบเสมือนโครงการวิจัยนาร่องในการสารวจการรับรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์การ จัดประเภทภาพยนตร์ภายใต้กฎกระทรวง เพื่อกาหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ร.บ. ภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 จากกลุ่มผู้กากับภาพยนตร์ไทยและผู้ปกครองโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยได้เก็บข้อมูล จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ในกลุ่มผู้กากับภาพยนตร์ไทยที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สูสายตาสาธารณชนจานวน 10 ท่าน และสัมภาษณ์กลุ่ม (focus-group interview) ผู้ปกครองในเขตภาคเหนือ ตอนล่างจานวน 9 จังหวัดคือ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กาแพงเพชร พิจิตร ผลงานวิจัยได้ข้อสรุปแนวทางเกณฑ์การแบ่งช่วงอายุผู้ชมไว้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. ทั่วไป สามารถชม ได้ทุกวัย 2. เหมาะสาหรับผู้ที่มีอายุต่ากว่า 15 ปี ควรมีผู้ปกครองแนะนา 3. เหมาะสาหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และ 4. เหมาะสาหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป คาสาคัญ: พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551, การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ ABSTRACT This research study is regarded as a pilot plan in examining perspectives and opinions, perceived by Thai film directors and parents in the Lower Northern Region of Thailand, after applying the rules and regulations of film rating under the Ministerial Regulations for Classifying Categories of Films and the Film and DVD Censorship Act 2008. The data was collected as a fieldwork in order to have an in-depth interview with 10 Thai film directors who have gained outstanding achievements in public and a focus-group interview with parents in nine provinces in the Lower Northern Region: Phitsanulok, Tak, Petchaboon, Sukhothai, Uttaradit, Nakhonsawan, Uthaitani, Kampangpetch and Pichit. With respect to the findings, the study has offered a criterion for classifying the audience age into four categories: 1) All ages admitted; 2) Suitable for under 15s, admitted if accompanied by an adult at all times during the motion picture; 3) Suitable for over 15s; and 4) Suitable for over 18. 1 อาจารย์ ดร. ประจาภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Transcript of การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติ...

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551: ทัศนะจากผู้ก ากับภาพยนตร์ไทยและผู้ปกครองในเขตภาคเหนือตอนล่าง ภาสวรรณ กรกชมาศ1 [email protected]

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เปรียบเสมือนโครงการวิจัยน าร่องในการส ารวจการรับรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์การจัดประเภทภาพยนตร์ภายใต้กฎกระทรวง เพื่อก าหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ พ.ร.บ. ภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 จากกลุ่มผู้ก ากับภาพยนตร์ไทยและผู้ปกครองโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยได้เก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ในกลุ่มผู้ก ากับภาพยนตร์ไทยที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สู่สายตาสาธารณชนจ านวน 10 ท่าน และสัมภาษณ์กลุ่ม (focus-group interview) ผู้ปกครองในเขตภาคเหนือตอนล่างจ านวน 9 จังหวัดคือ พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ก าแพงเพชร พิจิตร

ผลงานวิจัยได้ข้อสรุปแนวทางเกณฑ์การแบ่งช่วงอายุผู้ชมไว้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. ทั่วไป สามารถชมได้ทุกวัย 2. เหมาะส าหรับผู้ที่มีอายุต่ ากว่า 15 ปี ควรมีผู้ปกครองแนะน า 3. เหมาะส าหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และ 4. เหมาะส าหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

ค าส าคัญ: พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551, การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ ABSTRACT

This research study is regarded as a pilot plan in examining perspectives and opinions, perceived by Thai film directors and parents in the Lower Northern Region of Thailand, after applying the rules and regulations of film rating under the Ministerial Regulations for Classifying Categories of Films and the Film and DVD Censorship Act 2008. The data was collected as a fieldwork in order to have an in-depth interview with 10 Thai film directors who have gained outstanding achievements in public and a focus-group interview with parents in nine provinces in the Lower Northern Region: Phitsanulok, Tak, Petchaboon, Sukhothai, Uttaradit, Nakhonsawan, Uthaitani, Kampangpetch and Pichit.

With respect to the findings, the study has offered a criterion for classifying the audience age into four categories: 1) All ages admitted; 2) Suitable for under 15s, admitted if accompanied by an adult at all times during the motion picture; 3) Suitable for over 15s; and 4) Suitable for over 18.

1 อาจารย์ ดร. ประจ าภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

บทน า

การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ในประเทศไทย เก่ียวข้องกับหน่วยงานคณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ หรือ กองเซ็นเซอร์ ซึ่งได้ยึดเอาพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 เป็นบรรทัดฐาน ในมาตรา 4 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ห้ามมิให้ท า หรือฉาย หรือแสดง ณ สถานที่มหรสพ ซึ่งภาพยนตร์หรือประกาศกอปรด้วยลักษณะฝ่าฝืน หรืออาจฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ถึงแม้เพียงว่าการท าหรือฉาย หรือการแสดงภาพยนตร์ หรือประกาศนั้น ๆ น่าจะมีผลเช่นว่านั้น ก็ห้ามดุจกัน” (พระราชบัญญัติภาพยนตร์, 2473, หน้า 13)

ในยุคสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเอาแนวคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์จากสหรัฐอเมริกาเข้ามา ก่อให้เกิดการเข้มงวดกวดขันในทุกรูปแบบ รวมทั้งในวงการภาพยนตร์ด้วย เมื่อเข้าสู่ยุคเผด็จการสฤษดิ์ -ถนอม-ประภาส ความหวาดระแวงภัยคอมมิวนิสต์ยิ่งเพิ่มมากข้ึนไปอีก ภาพยนตร์เรื่องใดที่เข้าข่ายวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็จะถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ โดยการก ากับของ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล ถูกเชิญให้เข้าชี้แจงต่อจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ว่ามีเจตนาท าลายเสถียรภาพรัฐหรือไม่ อีกทั้งตลาดพรหมจารี ของสักกะ จารุจินดา, เทพธิดาโรงแรม ที่มีฉากหนึ่งจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ต่อมา เมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ผ่านพ้น ประชาชนตระหนักในสิทธิเสรีภาพของตน ขณะเดียวกันสื่อภาพยนตร์ก็สนองตอบต่อบรรยากาศทางสังคมขณะนั้นด้วย โดยสะท้อนออกมาในภาพยนตร์ว่าด้ วยเสรีภาพในเรื่องเซ็กซ์อย่างเต็มที่ อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง รสสวาท, ตลาดพรหมจารี และ เทพธิดาโรงแรม

กาลเวลาผ่านไปพร้อมกับการเติบโตของเทคโนโลยีสื่อขนานใหญ่และยากแก่การควบคุมขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้มีการตรา “พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พุทธศักราช 2530” ที่รวมเอาสื่อวีซีดี ดีวีดี วิดีโอเกม เลเซอร์ดิสก์ และซีดีรอมไว้ด้วย ภายใต้ค าแถลงของผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมขณะนั้นที่ว่า “แม้จะได้รับอนุญาตจากกองเซ็นเซอร์ให้สามารถเผยแพร่ได้ ก็ยังมีสิทธิ์ติดคุก หากมีผู้ร้องทุกข์จนเป็นคดีในศาล ว่า ภาพที่ปรากฏเป็นภาพลามกตามกฎหมายอาญา 287 เป็นผลท าให้ภาพยนตร์หลายเรื่อง “เซ็นเซอร์ตัวเอง” (Self-censorship) ตัวอย่างเช่นในภาพยนตร์ วีซีดี ดีวีดี และโทรทัศน์ เหล่าผู้ประกอบการจ าต้องร่วมเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะหวั่นทางเร่ืองกฎหมาย

นอกจากการเซ็นเซอร์จะสะท้อนบรรยากาศแห่งยุคสมัยแล้ว ในช่วงเวลาที่ผ่านมายังได้เห็นการเซ็นเซอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เป็นต้นว่า สั่งให้เปลี่ยนชื่อเรื่อง เช่น อาจารย์ใหญ่ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ศพ ภาพยนตร์บางเรื่องให้ถ่ายท าบางฉากใหม่ เช่น องคุลีมาล , หมากเตะรีเทิร์นส หรือก าหนดให้ขึ้นค าเตือน อาทิ invisible waves/ฉากสูบบุหรี่, มนุษย์เหล็กไหล/ฉากเล่นไพ่ ในขณะที่บางเรื่องให้ตัดบางฉากออกไป เช่น สุดเสน่หา/ตัดฉากเลิฟซีนของคู่รักวัยทอง ฯลฯ

จนในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา โดยเนื้อหาโดยรวม ภาครัฐยังคงใช้อ านาจเข้ามาควบคุมจัดการสื่อภาพยนตร์ไม่ต่างจาก พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการเรียกร้องของคนในอุตสาหกรรมหนังไทยและวิพากษ์วิจารณ์ตลอดปี 2550 เกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.ฉบับใหม่ แต่ในที่สุดการเรียกร้องจาก ฝ่ายอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ไม่เป็นผลในเรื่องการควบคุมสื่อภาพยนตร์โดยรัฐ โดยในที่สุดส านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้เป็นผู้รับผิดชอบในการเซ็นเซอร์จัดประเภทภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในประเทศไทย และภาพยนตร์ทุกเรื่องที่จะเข้าฉายจะต้องถูกจัดประเภทโดยพิจารณาจากความเหมาะสมกับกลุ่มอายุผู้ชม (มักนิยมเรียกว่าการจัดเรตติ้ง) โดยกฎกระทรวงดังกล่าวก าหนดเกณฑ์แบ่งประเภทหรือเรตติ้งของภาพยนตร์ออกเป็น 7 ประเภท คือ

1. ประเภทส่งเสริมการเรียนรู้และส่งเสริมให้ดู มีเนื้อหาส่งเสริมการศึกษา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรมของชาติ

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

2. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป

3. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุ 13 ปีขึ้นไป

4. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

5. ประเภทที่เหมาะสมกับผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

6. ประเภทที่ห้ามผู้มีอายุต่ ากว่า 20 ปีดู

7. ประเภทที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร เนื่องจากมีเนื้อหาหม่ินต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ท าลายความมั่นคงของประเทศ ก่อให้แตกความสามัคคี เหยียดหยามศาสนา ไม่เคารพต่อปูชนียบุคคล ขัดต่อศีลธรรม วัฒนธรรม และมีเนื้อหาที่แสดงถึงการมีเพศสัมพันธ์ เห็นอวัยวะเพศในลักษณะลามกอนาจารนั้น

จากการประกาศใช้ พ.ร.บ. ภาพยนตร์ พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา บรรดาผู้ที่อยู่ในแวดวงผู้สร้างภาพยนตร์ไทยไม่ค่อยสบายใจกับการยกร่างกฎกระทรวงก าหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ โดยเฉพาะข้อที่ 7 ที่แสดงความเห็นว่าในเมื่อมีการจัดประเภทของภาพยนตร์โดยแบ่งตามอายุผู้ชมแล้ว ก็ไม่สมควรมีประเภทที่ 7 คือห้ามฉายออกมาอีก ซึ่งมิใช่เป็นการยกเลิกกระบวนการเซ็นเซอร์ที่เคยมีอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่เป็นการเพิ่มหน้าตาหรือเปลี่ยนแปลงการเซ็นเซอร์ไปในรูปแบบของการจัดประเภทภาพยนตร์ โดยที่ผ่านมานั้นในเรื่องประเด็นของการจัดเรตติ้งเป็นเรื่องที่หลาย ๆ ฝ่ายทั้งในแวดวงนักวิชาการด้านสื่อมวลชนและภาพยนตร์ตลอดจนฝ่ายนักวิชาชีพได้รวมตัวกันจัดการเสวนาในประเด็นของการจัดเรตติ้งกันอย่างกว้างขวาง

จนในที่สุดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบรับร่าง กฎกระทรวงก าหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ และตาม พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เป็นที่เรียบร้อย (กรมสุขภาพจิต, 2552, หน้า 3) ซึ่งการรับร่างกฎกระทรวงก าหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ (หรือกฎกระทรวงที่ว่าด้วยการจัดเรตติ้งภาพยนตร์) ถือว่าเป็นการยุติบทบาทของระบบเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2473 โดยสิ้นเชิง

ส าหรับสาระส าคัญของมาตรการ “จัดเรตติ้ง” ในกฎกระทรวงฉบับนี้ก าหนดไว้ว่าภาพยนตร์หรือหนังที่จะฉายออกสู่สาธารณะต้องระบุประเภท เพื่อจ ากัดกลุ่มอายุผู้ชมให้เหมาะสม โดยในมาตรา 26 ของ พ.ร.บ. แยกไว้ “7 เรต” หรือ “7 ประเภท” ตามที่ได้มีการน าเสนอร่างของส านักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยจะมี “คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์” เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาจัดเรตติ้ง

ผลของการคัดค้านจากฝ่ายอุตสาหกรรมภาพยนตร์ น าโดยนายกสมาคมผู้ก ากับภาพยนตร์ได้ติงประเด็นของการจัดเรตติ้งประเภทที่ 7 ซึ่งเมื่อมีการจัดระบบเรตติ้งแล้วก็ไม่ควรสั่งห้ามฉายอีก อีกทั้งเกณฑ์ของเรตที่ 7 ข้อความระบุกว้างเกินไป จะเป็นอุปสรรคในการท างานของผู้ก ากับภาพยนตร์ (ติดขอบจอ, 2552) รวมถึงเกณฑ์ในการพิจารณาในแต่ละเรตซึ่งมีความคลุมเครือในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วงอายุของผู้ชม เป็นต้น มิได้ถูกหยิบยกเข้าไปไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวเลย

นอกจากการขาดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเรื่องการพิจารณาจัดประเภทภาพยนตร์จากทางฝ่ายอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยเฉพาะฝ่ายผู้ก ากับภาพยนตร์ที่เข้าใจบริบทและธรรมชาติของสื่อมากกว่าใคร การพิจารณาประเภทของภาพยนตร์นอกจากดูแนวทางด้านผู้ประกอบการหรือผู้ก ากับภาพยนตร์แล้ว ควรต้อง รับฟังความคิดเห็นจากเครือข่ายครอบครัวในฐานะผู้ปกครองด้วยว่าจะเห็นด้วยมากน้อยประการใด เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่า

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

กฎกระทรวงก าหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ฉบับนี้ยังขาดการส ารวจความคิดเห็นจากฝ่ายของผู้ก ากับภาพยนตร์และของผู้ปกครองประชาชนทั่วไปในเร่ืองของเกณฑ์ต่าง ๆ ที่น ามาจัดเรตติ้ง

ส าหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาได้ท าการจัดประเภทภาพยนตร์ไว้ตั้งแต่ ค.ศ. 1963 (พ.ศ. 2506) และเป็นในรูปแบบของลักษณะการตรวจสอบกันเองระหว่างกลุ่มหรือบริษัทผู้ผลติภาพยนตร์ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานภาพยนตร์แห่งชาติ ในสหรัฐฯ เอง การจัดประเภทของภาพยนตร์ วัตถุประสงค์คือต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์นั้น ๆ ว่ามีเนื้อหาเหมาะสมกับเยาวชนในวัยต่าง ๆ อย่างไร โดยจะมีตัวแทนจากทั้งผู้ประกอบการทางภาพยนตร์ และกลุ่มผู้ปกครองเข้าร่วมในกระบวนการจัดประเภทของภาพยนตร์ มิใช่การตัดเนื้อหา โดยมาจากบุคคลเพียงบางกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาจากหน่วยงานของรัฐโดยไม่เข้าใจถึงศิลปะของภาพยนตร์ การจัดประเภทภาพยนตร์แท้จริงก็เพื่อให้ผู้ปกครองได้พิจารณาประกอบก่อนพาบุตรหลานของตนไปชมภาพยนตร์ ซึ่งเกณฑ์ในการพิจารณานั้นดูจากเนื้อหาที่เก่ียวกับความรุนแรงต่าง ๆ อาทิ ค าพูด หยาบคาย การใช้สิ่งเสพติด การใช้อาวุธ ภาพเก่ียวกับการมีเพศสัมพันธ์ ฉากโป๊ เปลือย เป็นต้น

ทั้งนี้ภายหลังจากที่กฎกระทรวงดังกล่าวได้ประกาศใช้ พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อ านวยการโครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม (มีเดียมอนิเตอร์) ตั้งข้อสังเกตว่า “สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือเนื่องจากเป็นระบบใหม่ ภาพยนตร์เองก็เป็นศิลปะ การปฏิบัติหรือใช้งานคงท าได้ไม่ง่ายเหมือนกับการก าหนดเปน็ตัวอักษรในกระดาษ” ซึ่งกลไกเรตติ้งนี้จะเกิดประสิทธิภาพได้ดีที่สุดก็ต้องเกิดจากความรู้ความเข้าใจในกลไก ตั้งแต่ผู้ผลิต เจ้าของโรงภาพยนตร์ พ่อแม่ กลุ่มผู้ชม คณะกรรมการตรวจพิจารณา จึงเชื่อว่ากลไกใหม่คงไม่หยุดอยู่แค่นี้ ต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความรัดกุม กระชับ และเป็นธรรม (กรมสุขภาพจิต, 2552, หน้า 3)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อส ารวจการรับรู้และความคิดเห็นของผู้ปกครองในเขตภาคเหนือตอนล่างที่มีต่อเกณฑ์การพิจารณาจัดเรตติ้งภาพยนตร์ไทยทั้ง 7 ประเภทภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551

2. เพื่อส ารวจความคิดเห็นของผู้ก ากับภาพยนตร์ไทยที่มีต่อเกณฑ์การพิจารณาจัดเรตติ้งภาพยนตร์ไทยทั้ง 7 ประเภทภายใต้กฏกระทรวงก าหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551

3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเกณฑ์การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 ต่อไป

ระเบียบวิธีวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือการวิจัยในเชิงคุณภาพคือการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth-interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (focus-group interview) เพื่อต้องการศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในเชิงส ารวจแนวความคิด โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ก ากับภาพยนตร์ไทย และกลุ่มผู้ปกครองในเขตภาคเหนือตอนล่าง

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

ผลการวิจัย

1. ผู้ปกครองของเยาวชนยังไม่รู้และไม่เข้าใจ

จากการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (focus group interview) ผู้ปกครองในเขตภาคเหนือตอนล่างต่างมีความคิดเห็นว่า การเซ็นเซอร์คือการจ ากัดเนื้อหาบางส่วนด้วยรูปแบบต่าง ๆ เพื่อหวังว่าจะไม่ให้เกิดการเลียนแบบหรือเกิดความกระทบกระเทือนจิตใจของเด็กและเยาวชนที่ได้เห็นภาพต่าง ๆ ยังมีผู้ปกครองส่วนหนึ่งมีข้อสังเกตว่าระหว่างการดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์กับการดูเรื่องเดียวกันผ่านสื่ออื่นมีเนื้อหาแตกต่างกัน เช่น ดีวีดี หรือวีซีดี มีรายละเอียดมากกว่าการดูที่โรงภาพยนตร์

การตัดสินใจของผู้ปกครองส่วนใหญ่เลือกที่จะเข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์หรือไม่ มักข้ึนอยู่กับความต้องการหรือความเป็นห่วงสวัสดิภาพเร่ืองการคบเพื่อน การเดินทางของบุตรที่อยู่ในปกครองของตนเองผู้ปกครองกลุ่มนี้มักจะมีบุตรที่อยู่ในวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมต้นเป็นต้นไป มีส่วนน้อยที่เกิดจากความต้องการของผู้ปกครองเองที่จะไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์กันตามล าพังหรือไปดูกันทั้งครอบครัว ผู้ปกครองส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมการสัมภาษณ์แบบกลุ่มไม่ได้ชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ แต่มักมีประสบการณ์เข้าโรงภาพยนตร์ตั้งแต่ใน วัยหนุ่มสาว แต่เมื่อมีครอบครัวแล้วการไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ก็ห่างเหินไป กอปรกับมีสื่ออื่น ๆ อาทิ วีซีดี ดีวีดี อินเทอร์เนต เคเบิลทีวี และฟรีทีวี ที่น าภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ได้ไม่นานออกมาเผยแพร่สู่มือผู้บริโภค ท าให้สามารถทดแทนการเข้าไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี

ส่วนเยาวชนที่ไปดูภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์กับผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในวัยเด็กอายุไม่เกิน 15 ปีที่ผู้ปกครองยังคงเป็นห่วงไม่กล้าให้บุตรไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์กับเพื่อนหรือตามล าพัง ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องพาไปชมตามที่บุตรร้องขอ หรือส่วนใหญ่มักจะรอให้ภาพยนตร์เหล่านั้นผลิตเป็นวีซีดีหรือดีวีดีออกจ าหน่ายก่อน หลังจากนั้นจึงไปซื้อหรือเช่ามาให้บุตรดู มีบางส่วนที่บุตรสามารถโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาดูได้ ดังนั้นการไปดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ส าหรับเยาวชนที่อยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีอิสระมากยิ่งขึ้นในการเดินทางแต่ยังมีผู้ปกครองบางส่วนที่ยังคงไปรับส่งหรือคัดกรองเพื่อนที่จะไปดูภาพยนตร์ด้วยกันอยู่บ้าง ในขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนของเยาวชนที่อยู่ในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายนี้มองว่าการพาบุตรไปชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์เป็นการคลายเครียดให้กับบุตรหลังจากที่คร่ าเคร่งต่อการเรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งนี้มักจะแตกต่างกับผู้ปกครองที่มีบุตรที่ศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาอายุ 18 ปีขึ้นไปที่คิดว่าควรปล่อยบุตรให้มีความอิสระในการเดินทางและเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ได้ตามอัธยาศัย

จากการสัมภาษณ์แบบกลุ่มยังพบอีกว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่คิดว่าการจัดเรตติ้งในภาพยนตร์เป็นเหมือนกับการจัดเรตติ้งทางโทรทัศน์ทั้งสัญลักษณ์และตัวเลขจึงไม่ให้ความสนใจ ในขณะที่ผู้ปกครองส่วนน้อยที่นิยมเข้าไปชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ แต่เมื่อได้เข้าไปชมก็ไม่ได้สังเกตเห็นสัญลักษณ์เรตติ้งของภาพยนตร์นั้น ๆ อีกทั้งกระบวนการเข้าดูภาพยนตร์ไม่ได้ใช้วิธีการจ ากัดอายุผู้ชมสมบูรณ์แบบ การจัดเรตติ้งจึงไม่ได้มีผลกระทบต่อการรับรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดเลือกและเตือนให้เยาวชนในปกครองรับชมภาพยนตร์ การตัดสินใจของผู้ปกครองจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลจากแหล่งอื่นมากกว่า เช่น ตัวอย่างภาพยนตร์ โฆษณา เป็นต้น

2. ทัศนะจากผู้ก ากับภาพยนตร์

จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ก ากับภาพยนตร์ทั้งกลุ่มที่ยังไม่ได้มีผลงานในช่วงที่พระราชบัญญัติฯ ประกาศใช้ และผู้ก ากับกลุ่มที่มีผลงานอยู่ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติฯ ทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ถึงแม้จะมีกฎหมายหมายที่ให้มีการจัดเรตติ้งภาพยนตร์ออกมาก็ไม่มีผลต่างไปจากพระราชบัญญัติภาพยนตร์ ฉบับ พ.ศ. 2473 เพราะระบบเซ็นเซอร์ยังคงอยู่ มีเพียงการจัดเรตติ้งแต่ละช่วงวัยเพิ่มเข้ามาเท่านั้น รวมทั้งการจัดเรตติ้งก็ไม่ได้มีผลในการคุ้มครองเยาวชนตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพราะไม่ได้มีมาตรการบังคับหรือการลงโทษบัญญัติไว้แต่อย่างใด

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

ถึงแม้ผู้ก ากับส่วนใหญ่เห็นด้วยกับวิธีการจ ากัดการรับชม (censorship) ด้วยการก าหนดช่วงอายุผู้ที่จะรับชมเนื้อหาบางประเภทตามความเหมาะสมของวุฒิภาวะแต่ละช่วงวัย (rating) ผู้ก ากับยังคงมีความคิดเห็นว่า จ านวนช่วงของการจัดกลุ่มมีความถี่มากเกินไป และการจัดประเภทบางกลุ่มยังมีความซ้อนทับและไม่มีความจ าเป็นต้องมี การแบ่งแยกประเภทจึงยังคงเหลื่อมล้ าและไม่ชัดเจน และไม่ได้มีการท าการศึกษาด้านจิตวิทยาของเยาวชนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการคัดกรองเนื้อหาเพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัยอย่างชัดเจน สิ่งที่ผู้ก ากับภาพยนตร์ทุกคนมีความคิดเห็นตรงกันก็คือการมีเรตห้ามฉายที่เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการเซ็นเซอร์ที่มีมาแต่เดิม ท าให้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มีการน าระบบการควบคุมภาพยนตร์มาใช้ถึง 3 ระบบด้วยกันคือ ระบบส่งเสริม ระบบเรตติ้ง และระบบเซ็นเซอร์ เจตนารมณ์เริ่มต้นของกฎหมายจึงผิดเพี้ยนไปจากที่ต้องการให้มีเพียงระบบการจัดเรตติ้งตามกลุ่มอายุเท่านั้น

ดังเช่น การจัดเรตติ้งประเภท “ส” ส่งเสริม ที่ผู้ก ากับมีความคิดเห็นว่ามีความทับซ้อนกับประเภท “ท” ทั่วไปที่เกณฑ์ในการพิจารณาแทบจะไม่มีความแตกต่างกันมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็น่าจะเพียงพอ ประเภท “13” และ “15” ช่วงอายุมีความต่างกันเพียง 2 ปีและเกณฑ์ในการพิจารณามีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยซึ่งสามารถรวมกันหรือเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ และประเภท “ห้ามฉาย” ที่ไม่ควรจะมีเพราะมีกฎหมายอาญาหลายฉบับสามารถด าเนินการกับผู้กระท าผิดได้อยู่แล้ว อีกทั้งเกณฑ์ดังกล่าวมีรายละเอียดปลีกย่อยจนอาจท าให้ ผู้พิจารณาใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการตัดสินใจ แทนที่จะใช้การตัดสินใจโดยใช้บรรทัดฐานของความรู้เกี่ยวกับเยาวชนและสภาพสังคม ท าให้เกิดการตัดสินใจในการจัดกลุ่มภาพยนตร์คลาดเคลื่อนโดยไม่ได้พิเคราะห์ถึงบริบทของเนื้อหาในภาพยนตร์อย่างแท้จริงสิ่งเหล่านี้ถือว่าเท่ากับเป็นการปิดโอกาสในการรับรู้และเรียนรู้ของเยาวชนที่เกิดจากการรับสื่อภาพยนตร์

ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยมีความคิดว่าควรปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการเลือกรับและปรับตัวด้วยตนเอง การจัดเรตติ้งหรือเซ็นเซอร์สะท้อนให้เห็นว่าภาครัฐยังคงต้องการควบคุมการรับรู้ของประชาชนและไม่เชื่อในวิจารณญาณการเลือกรับรู้เท่าทันสื่อของประชาชน อีกทั้งไม่มีการบูรณาการกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ในการควบคุมภาพยนตร์แทนการควบคุมด้วยการใช้กฎหมายห้ามฉาย

3. ทางออกของเกณฑ์การจัดเรตติ ง

จากการประมวลความคิดเห็น ทั้งจากผู้ปกครองทั้ง 5 กลุ่มตามช่วงอายุในพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ที่แสดงความคิดเห็นต่อการไว้วางใจพฤติกรรมการรับชมภาพยนตร์ของ บุตรหลานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่เยาวชนในปกครองอายุไม่เกิน 15 ปี กลุ่มผู้ปกครองที่เยาวชนในปกครองอายุไม่เกิน 20 ปี และผู้ปกครองที่อายุ 20 ปีขึ้นไป และผู้ก ากับภาพยนตร์ รวมทั้งการศึกษาจากงานวิจัยที่เก่ียวข้อง ชัยยุทธ อภินันท์ธรรม (2545) ได้ศึกษาถึงปัญหาและแนวโน้มของการจัดระดับอายุผู้ชมภาพยนตร์ในประเทศไทย ได้เสนอว่า น่าจะมี 3 รูปแบบ ได้แก่

1. ภาพยนตร์ที่สามารถชมได้ทุกเพศทุกวัย

2. ภาพยนตร์ที่เด็กที่มีอายุต่ ากว่า 18 ปีหรือต่ ากว่าเกณฑ์ที่ก าหนด ต้องมีผู้ปกครองพาไปชม

3. ภาพยนตร์ที่ห้ามเด็กที่มีอายุต่ ากว่า 18 ปีหรือต่ ากว่าเกณฑ์ที่ก าหนดชมเด็ดขาด

ขณะที่ แสงดาว เสนาจักร (2545) ได้ศึกษาเรื่อง การจัดแบ่งประเภทผู้ชมภาพยนตร์ในประเทศไทย เห็นว่าระดับการจัดแบ่งประเภทผู้ชมภาพยนตร์ที่ควรน ามาใช้ในประเทศไทย ควรมี 5 ระดับ ได้แก่ G, PG, PG-13, R และ NC-17 เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอิทธิพล วรานุศุภากุล (2552) ได้ศึกษางานวิจัยเร่ือง “ความคิดเห็นต่อการจัดระดับภาพยนตร์ ส าหรับประเทศไทย” มีความคิดเห็นแตกต่างกันโดยเสนอแนะว่า ควรแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

1. ภาพยนตร์ทั่วไป

2. ภาพยนตร์ที่มีผู้ชมอายุต่ ากว่า 15 ปี ผู้ปกครองควรแนะน า

3. ภาพยนตร์ที่มีผู้ชมอายุต่ ากว่า 15 ปีต้องมีผู้ปกครองเข้าชมด้วย

4. ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้ชมภาพยนตร์ต่ ากว่า 18 ปีเข้าชม

5. ภาพยนตร์ที่ห้ามฉาย

นอกจากเกณฑ์การจัดเรตติ้งจากการวิจัยข้างต้น การศึกษาในครั้งนี้ยังได้น าข้อมูลการใช้ระบบ เรตติ้งของประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ (ดังตาราง) มาใช้วิเคราะห์อีกด้วย

จากการที่ได้ศึกษาดังที่กล่าวมาแล้ว พบว่าเกณฑ์การจัดเรตติ้งในประเทศไทยจากทัศนะของ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายผู้ปกครองที่เป็นผู้ดูแลเด็กและเยาวชน ฝ่ายผู้ก ากับที่เป็นฝ่ายสร้างสรรค์ผลงาน รวมทั้งงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อนหน้านี้ และการจัดเรตติ้งของอารยประเทศ ท าให้สรุปได้ว่า

- ไม่ควรน าภาพยนตร์ที่ได้รับการส่งเสริมเข้ามารวมอยู่ในเรตติ้ง ควรมีรูปแบบการจัดการเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่ได้รับการส่งเสริมอย่างชัดเจน แยกออกมาต่างหากจากการจัดเรตติ้ง

- ควรตัดเรตติ้งห้ามฉายภายในราชอาณาจักรออกไป แล้วน ากฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญามาบูรณาการใช้แทน

- ควรมีใช้เรตติ้งอย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการจ ากัดอายุผู้ชมอย่างเข้มงวด หากอายุไม่ถึงตามเกณฑ์ก็ไม่มีสิทธิได้ชมภาพยนตร์เรื่องนั้นเว้นแต่ว่ามีผู้ปกครองเข้าชมด้วย

- การจัดเรตติ้งควรมีการจัดแบ่งเรตติ้ง ดังนี้

1. ทั่วไป สามารถชมได้ทุกวัย

2. เหมาะส าหรับผู้ที่มีอายุต่ ากว่า 15 ปี ควรมีผู้ปกครองแนะน า

3. เหมาะส าหรับผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

4. เหมาะส าหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป

เนื่องจาก ผลของการท าการศึกษาในกลุ่มผู้ปกครอง 5 กลุ่มอายุของเยาวชน สามารถแบ่งกลุ่มความคิดเห็นได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ปกครองที่มีเยาวชนในปกครองอายุไม่เกิน 15 ปี ผู้ปกครองในกลุ่มนี้มีความเป็นห่วงเร่ืองการบริโภคสื่อมวลชนของบุตรหลานเป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องการเลียนแบบที่ท าให้เกิดการตัดสินใจในชีวิตผิดพลาด หรือท าให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นกลุ่มเยาวชนที่อายุต่ ากว่า 15 ปี จึงควรมีผู้ปกครองแนะน าในการรับชมรับฟังสือ่มวลชนอยู่ตลอดเวลา เยาวชนในช่วงอายุนี้อาจจะยังไม่มีวิจารณญาณเพียงพอในการเลือกรับเนื้อหาต่าง ๆ ที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์

ผู้ปกครองกลุ่มที่ 2 ที่มีความคิดเห็นใกล้เคียงกันคือกลุ่มผู้ที่เยาวชนในปกครองอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ถือว่าเยาวชนในกลุ่มนี้สามารถดูแลตัวเองได้ในระดับหนึ่ง มีการเลือกรับ เลือกเชื่อได้บ้าง ในขณะเดียวกัน

อ้างอิงตารางที่ 1 ท้ายบทความ

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

ในวัยนี้ก็เป็นวัยรุ่นที่มีความอยากรู้อยากลองการก าหนดเนื้อหาจึงต้องท าอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้เรียนรู้และเลือกที่จะเลียนแบบไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพของตนเอง

ส่วนผู้ปกครองกลุ่มที่ 3 มีเยาวชนในปกครองอายุ 18 ปีขึ้นไป ในวัยนี้ผู้ปกครองคิดว่าควรปล่อย มีการตัดสินใจได้ด้วยตนเองแล้ว กอปรกับปัจจุบันช่องทางการสื่อสารใหม่ ๆ เกิดขึ้นเป็นจ านวนมาก การปิดกั้นเนื้อหาข้อมูลบางอย่างเช่นภาพโป๊เปลือย ความรุนแรงต่าง ๆ จึงไม่อาจท าได้ ดังนั้นควรให้เยาวชนตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไปได้รับรู้และเรียนรู้สื่อมวลชนด้วยตนเอง และแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะที่สอดคล้องกับประเทศต่าง ๆ อีกด้วย

ดังนั้น การจัดเรตติ้งจึงต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของสื่อภาพยนตร์ที่เป็นทั้งสือ่มวลชนและผลงานศิลปะ ขณะเดียวกันสื่อภาพยนตร์ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่ท าให้คนได้รับรู้ทัศนคติของผู้สร้างได้ในเวลาอันรวดเร็ว การควบคุมจึงต้องกระท าภายใต้ความเข้าใจและความต้องการของผู้ชมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ภาพยนตร์ต้องการจะสื่อสารด้วย การจัดเรตติ้งถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นการให้สิทธิการสื่อสารในฐานะมนุษย์คนหนึ่งในสังคมประชาธิปไตยเพื่อให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เป็นพลวัต แต่การควบคุมสื่อภาพยนตร์ในประเทศไทยยังคงยึดถือการเซ็นเซอร์ที่ถือว่าเป็นการจ ากัดสิทธิการใช้วิจารณญาณของประชาชนด้วยการคิดแทนประชาชนอยู่ เรื่องนี้จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการไม่บูรณาการกฎหมายและมุ่งที่จะจ ากัดการรับรู้มากกว่าการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) ที่เป็นแนวทางในเชิงป้องกันมากกว่าเชิงป้องปรามเช่นการเซ็นเซอร์ การน าระบบเรตติ้งมาใช้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่การก าหนดเกณฑ์การจัดเรตติ้งไปจนถึงจ ากัดคนเข้าชมภาพยนตร์อย่างเคร่งครัด จึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมที่เป็นพลวัตของไทย

ข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยในอนาคต

1. การวิจัยนี้ เป็นการเก็บข้อมูลเฉพาะในส่วนกลุ่มผู้ปกครองเขตภาคเหนือตอนล่าง ฉะนั้น หากต้องการศึกษาให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรทั้งหมดควรจะขยายวงกว้าง มากกว่านี้

2. การวิจัยต่อไปในประเด็นด้านการจัดเรตติ้งควรศึกษาถึงเนื้อหาของภาพยนตร์ภายหลังจากการประกาศใช้เรตติ้งว่ามีคุณลักษณะหรือเนื้อหาเป็นไปตามที่ พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ก าหนดหรือไม่

3. ควรเก็บข้อมูลในกลุ่มเจ้าของธุรกิจภาพยนตร์เพื่อศึกษาผลของการใช้เรตติ้งประกอบด้วย

ข้อจ ากัดในการวิจัย

1. เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลในกลุ่มผู้ปกครองเฉพาะในเขตอ าเภอเมืองเท่านั้น ซึ่งกลุ่มผู้ปกครองในเขตอ าเภออื่น ๆ อาจมีความคิดที่แตกต่างไปจากนี้

2. เป็นงานวิจัยที่ศึกษาทัศนะของกลุ่มผู้ปกครองและผู้ก ากับภาพยนตร์เท่านั้น ยังขาดการศึกษาทัศนะจากคณะกรรมการการตรวจพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซึ่งผลการศึกษาอาจยังไม่รอบด้าน

3. เป็นการเก็บข้อมูลที่การบังคับใช้เรตติ้งอยู่ในระยะเริ่มต้น อาจท าให้การได้รับข้อมูลข่า วสารของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักไม่สามารถเข้าใจถึงสภาพปัญหาทุกด้านได้

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

บรรณานุกรม กรมสุขภาพจิต. (3 สิงหาคม 2552). ฉาก“อวสานเซ็นเซอร์”. เดลินิวส์, 3. กฤษดา เกิดดี (2541). พิพากษานอกศาล: ภาพยนตร์ & กลวิจารณ์ & การแสดงทรรศนะ. กรุงเทพฯ: มติชน. กฤษดา เกิดดี. (2541). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลส าคัญ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์. กฤษดา เกิดดี. (2548). การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ: ห้องภาพสุวรรณ. ชัยยุทธ อภินนัท์ธรรม. (2545). ปัญหาและแนวโน้มการจ ากัดระดับอายุผู้ชมภาพยนตร์ในประเทศไทย.

รายงานโครงการเฉพาะบุคคลมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวชิาการบริหารสื่อสารมวลชน.

โดม สุขวงศ์. (2550). ส ารวจเสน้ทาง พรบ. 2473 กับกรณีศึกษา. ใน ชลิดา เอ้ือบ ารุงจิต (บรรณาธิการ), วารสารหนังไทย, (หน้า 25-54). กรุงเทพฯ: มูลนิธิหนังไทย.

ติดขอบจอ [นามแฝง]. (15 พฤษภาคม 2552). พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ กับสาระที่เปลี่ยนไป. มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2552, จาก http://www.matichon.co.th/news_search.php

ธ ารงรักษ์ ราพินี. (2550). จากเซ็นเซอร์สู่เรตติ้ง ทางออกที่เป็นไปได้. ใน ชลิดา เอ้ือบ ารุงจิต (บรรณาธิการ), วารสารหนังไทย, (หน้า 157-232). กรุงเทพฯ: มูลนิธิหนังไทย.

ภาสวรรณ กรกชมาศ. (2553). การเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551: ทัศนะจากผู้ก ากับภาพยนตร์ไทยและผู้ปกครองในเขตภาคเหนือตอนล่าง. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2473). พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดทิัศน์ พ.ศ. 2473. ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551). พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดทิัศน์ พ.ศ. 2551. ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค.

กรุงเทพฯ: ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แสงดาว เสนาจักร์. (2545). การจัดแบ่งประเภทผูช้มภาพยนตร์ในประเทศไทย. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล

มหาบัณฑิต, กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์. อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2552). ความคิดเห็นต่อการจัดระดับภาพยนตร์ ส าหรับประเทศไทย. วิทยานพินธ์

นศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. Bertrand, I. (1978). Film Censorship in Australia. St Lucia: University of Queensland Press. British Board of Film Classification. (2009). The Guidelines [E-book]. London. Crawley, T. (1996). Dictionary of Film Quatations. Ware: Wordsworth. Katz, E. (1994). The Film Encyclopedia. New York: Harper Collins. Kuhn, A. (1999). Cinema, Censorship and Sexuality 1909-1925. London: Routledge. Lyons, C. (1997). The New Censors: Movies and the Culture Wars. Philadelphia: Grove

Weidenfeld. Motion Picture Association of America. (2007). Classification and Rating Rules [E-book].

California. Motion Picture Association of America. (June 15, 1996). Motion Picture Association of

America. Film Ratings. Retrieved June 14, 2009, from http://www.mpaa.org/ FilmRatings.asp

Motion Picture Association of America. (June 15, 1996). Motion Picture Association of America Film Rating System. Wikipedia. Retrieved June 14, 2009, from http://en.wilipedia. org/wiki/MPAA_film_rating_System

วารสารวิทยาการจดัการและสารสนเทศศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับท่ี 1 เดือน ตุลาคม 2553 – มีนาคม 2554

ภาพและตารางอ้างอิง ตารางที่ 1 เปรียบเทียบช่วงอายุในการจัดเรตติ้งของประเทศต่าง ๆ

ประเทศ ไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ เกาหลีใต้

ช่วงอ

ายุ

ส่งเสริม G U G All ท่ัวไป PG PG PG 12 ปีขึ้นไป

13 ปีขึ้นไป 13 ปีขึ้นไป 12 ปีขึ้นไป 16 ปีขึ้นไป 15 ปีขึ้นไป 15 ปีขึ้นไป R 15 ปีขึ้นไป 18 ปีขึ้นไป 18 ปีขึ้นไป 18 ปีขึ้นไป 17 ปีขึ้นไป 18 ปีขึ้นไป 21 ปีขึ้นไป 19 ปีขึ้นไป 20 ปีขึ้นไป NC-17 R18

ห้ามฉาย