รูปแบบวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ - ThaiJO

99

Transcript of รูปแบบวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ - ThaiJO

รูปแบบวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ

ชื่อวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ(ThaksinUniversityJournal)เจ้าของ มหาวิทยาลัยทักษิณที่ปรึกษา อธิการบดีบรรณาธิการบริหาร รองอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ดร.ประมาณเทพสงเคราะห์) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา (รองศาสตราจารย์เกษมอัศวตรีรัตนกุล)หัวหน้ากองบรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ดร.นิคมชูศิริกองบรรณาธิการ ศาสตราจารย์ดร.จรัญจันทลักขณา ศาสตราจารย์ดร.วิสุทธิ์ใบไม้ ศาสตราจารย์ดร.สุทัศน์ยกส้าน ศาสตราจารย์ดร.วัชรินทร์รุกขไชยศิริกุล ศาสตราจารย์ดร.สุทธวัฒน์เบญจกุล ศาสตราจารย์ดร.สมจิตต์สุพรรณทัสน์ รองศาสตราจารย์ดร.ครรชิตมาลัยวงศ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วิภาพลันสังเกตุ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นุกูลอินทระสังขา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จุฑารัตน์สถิรปัญญา อาจารย์กรรณิการ์กันอุปัทว์ อาจารย์ดร.ศิริรัตน์สินประจักษ์ผล อาจารย์ดร.อาภรณ์ส่งแสงกองจัดการ นายศิลป์ชัยสุวรรณมณี นางสาวอรกมลไกรวงศ์ นางสาวบัวไขมณีวงค์ นางสาวสุมาลีแก้วทอง นายฟูศักดิ์กาญจนสำราญวงศ์วัตถุประสงค์ 1.เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและบทความของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ และหน่วยงานต่างๆ 2.เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย 3.เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยกำหนดออก ปีละ2ฉบับ(มกราคม-มิถุนายนและกรกฎาคม-ธันวาคม)จำนวนพิมพ์ 500ฉบับรูปแบบเล่ม ขนาดB5(8หน้ายก)ประมาณ10ยก ปกอาร์ตมัน210แกรมพิมพ์2สีเคลือบUV เนื้อในใช้กระดาษปอนด์80แกรมหรือกระดาษนิวเอช105แกรม พิมพ์สีเดียว9ยกและสอดสี1ยกการเผยแพร่ จัดจำหน่ายและสมัครสมาชิก มอบเป็นอภินันทนาการแก่ห้องสมุดของหน่วยงานรัฐและเอกชนสถาบันการศึกษาการบอกรับเป็นสมาชิก ค่าสมาชิกปีละ100บาท แจ้งชื่อที่อยู่พร้อมธนาณัติหรือเช็คไปรษณีย์สั่งจ่าย บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณที่ทำการไปรษณีย์ควนขนุนจ.พัทลุง93110การติดต่อ บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุงอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง93110โทรศัพท์0-7460-9600ต่อ7251-3โทรสาร0-7467-3227 E-mailAddress:[email protected]โรงพิมพ์ บริษัทมาสเตอร์พีซแอนด์โครเชท์จำกัดอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา90110

บรรณาธิการแถลง

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณฉบับนี้เป็นฉบับที่ 1 (ประจำเดือนมกราคม-มิถุนายน)ของปีที่ 13

มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจประกอบด้วยบทความวิจัยจำนวน5เรื่องและบทความวิชาการจำนวน5เรื่อง

ทั้งหมดเป็นบทความทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะทำงานประจำกองบรรณาธิการขอขอบคุณ

เจ้าของบทความทุกท่านที่ได้กรุณาส่งบทความวิจัยหรือบทความวิชาการมาตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัย

ทักษิณอย่างต่อเนื่อง และขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิเป็นอย่างสูงที่ เสียสละเวลาอันมีค่ายิ่งในการ

กลั่นกรองพิจารณาแก้ไขงานเขียนดังกล่าวเพื่อนำเสนอผู้อ่าน

สำหรับผู้สนใจที่จะเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านวารสาร

มหาวิทยาลัยทักษิณไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายในหรือบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยทักษิณสามารถส่งผลงาน

ของท่านมายังกองบรรณาธิการทางกองบรรณาธิการยินดีจะเผยแพร่ผลงานของท่านเมื่อผ่านการพิจารณา

ของผู้ทรงคุณวุฒิรายละเอียดผู้สนใจสามารถหาอ่านได้จากการเตรียมต้นฉบับท้ายเล่มสำหรับท่านผู้อ่าน

ที่ให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะและชี้ข้อบกพร่องต่างๆของวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณทางกองบรรณาธิการ

ขอน้อมรับไปปรับปรุงในการพิมพ์ครั้งต่อๆไปและขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงมาณโอกาสนี้

รองศาสตราจารย์ดร.นิคมชูศิริ

บรรณาธิการประจำฉบับ

บทความวิจัย

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว : การติดตั้งและทดสอบระบบ ณ มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง

Pico-Hydropower Generator : The Setup and Test of System

at The Suk-kaew Kaewdang Foundation

อีลีหย๊ะ สนิโซ1*

Eleeyah Saniso1*

คำสำคัญ : พลังงานทดแทน พลังงานน้ำ กังหันน้ำ มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง

1 อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อ.เมือง จ.ยะลา 95000* Corresponding author : โทรศัพท์: 086-2960787 e-mail: [email protected]

บทคัดย่อ การวิจัยนี้จึงมุ่งออกแบบ ติดตั้ง และทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว ณ มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง

ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า บริเวณลำธารสายที่หนึ่งสามารถ

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วแบบคอยาว (กังหันน้ำคาปลาน) ขนาดกำลัง 1 กิโลวัตต์ เมื่อทดสอบ

ระบบพบว่า สามารถให้แรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้าได้เฉลี่ยเท่ากับ 217.43 ± 2.70 V และ 47.52 ± 2.12Hz

ตามลำดับ และสามารถใช้งานได้จริงกับครัวเรือนหรือชุมชนในท้องถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

Abstract The objective of this research is to design, setup and test of the pico-hydroelectric generator system

for rural education area at the Suk-kaew Kaewdang Foundation, Tambon Lampaya, Ampher Muang, Yala. The

result showed that the first stream area is suitable to set up 1 kW long neck pico-hydroelectric generator system

(Kaplan hydroturbine). From the system testing was showed the average of electrical voltage and frequency of

217.43 ± 2.70 V and 47.52 ± 2.12 Hz, respectively. Finally, the systems can be applied to household of rural

in the southernmost of Thailand.

Keywords : Alternative Energy, Hydropower, Hydroturbine, Suk-kaew Kaewdang Foundation

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

2

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

บทนำ กังหันน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋วแบบคอยาว (Ka-

plan hydroturbine) สามารถใช้กับลำน้ำที่มีความสูงของ

หัวน้ำต่ำ กล่าวคือ สามารถเริ่มทำงานได้ที่ระดับหัวน้ำ

ประมาณ 1 m จึงสามารถประยุกต์ใช้ได้กับลำน้ำจาก

ลำธาร ลำห้วย และคลองส่งน้ำ แต่ต้องสร้างทางหรือ

รางรับนํ้า หลักการทำงานจะอาศัยน้ำหนักของน้ำเป็น

ตัวขับกังหันที่ต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งทำให้ได้

ไฟฟ้าออกมา [1] กังหันน้ำแบบคอยาวมีขนาดกำลังผลิต

ไฟฟ้าตั้งแต่ 200 W จนถึง 3,000 W [2] กังหันน้ำแบบ

คอยาวมีการพัฒนาและติดตั้ งสำหรับครัวเรือนและ

ชุมชนเล็ก ๆ ในประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย เช่น

ประเทศลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และจีน ทวีปยุโรป

เช่น อังกฤษ โปแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ และทวีปอเมริกา

เช่น ประเทศเอกวาดอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่อยู่

ห่างไกลจากเมืองหลวงแต่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา เช่น

ในหุบเขา บริเวณที่ราบเชิงเขา หรือในทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่

ไพศาลแต่เต็มไปด้วยแหล่งน้ำ ดังรูปที่ 1 และ 2

จากรายงานการวิจัยที่ผ่านมา พบว่า การผลิต

ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็กและขนาดจิ๋วมีการศึกษา

วิจัยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในทวีปเอเซียและทวีป

ยุโรป ดังรายงานของ [3-9] ขณะเดียวกันประเทศไทย

ก็ได้มีการวิจัยและสร้างระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ขนาดจิ๋วเช่นเดียวกันแต่ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร อาทิเช่น

ในงานวิจัยของ ชาติชาย [10] ที่ได้พัฒนาอุปกรณ์ผลิต

ไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบทุ่นลอยตามแนวพระราชดำริ

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่า อุปกรณ์ที่พัฒนา

ขึ้นเสียค่าบำรุงรักษาน้อย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 15 A

ความต่างศักย์ 13 V และสามารถให้แสงสว่างแก่หน่วยงาน

ของชลประทานเขตสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ในตอน

กลางคืนได้ ในขณะที่ Laodee et al. [11] ได้ศึกษาการ

ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วจำนวน 19 เครื่อง

ของประชาชนในหมู่บ้านท่าแปน เมืองหลวงพระบาง

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 50

ครัวเรือน พบว่า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถให้พลังงาน

รวมทั้งสิ้น 22 kW ส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าในช่วง 18.00-07.00 น.

ภาระทางไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นหลอดไฟฟ้าขนาด 5-100 W

วิทยุ และโทรทัศน์ เมื่อคิดค่าการลงทุน พบว่า มีค่า

ประมาณ 5-10 Baht/W ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับเซลล์

แสงอาทิตย์ที่ต้องลงทุนประมาณ 150-200 Baht/W

ทำนองเดียวกัน Laodee et al. [12] ยังได้สาธิต

การใช้งานระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำที่แตกต่างกัน 3

รูปแบบ ได้แก่ ระบบแบบอิสระที่ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

1 เครื่อง ระบบแบบผสมผสานที่ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ขนาด 300 W ร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 120 W

และระบบแบบเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่าย ณ หน่วยพิทักษ์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว. 4 (แม่ราว) อ.แม่ เร่

จ.นครสวรรค์ พบว่า ระบบแบบอิสระสามารถจ่ายไฟ

ให้กับระบบแสงสว่างบริเวณสำนักงานหน่วยพิทักษ์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ได้ ในขณะที่ระบบแบบผสมผสาน

สามารถจ่ายกระไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

เช่น คอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ในสำนักงานหน่วยพิทักษ์

อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบ

แบบอิสระ ส่วนระบบแบบเชื่อมต่อเข้าระบบจำหน่าย

สามารถเชื่อมต่อได้กับระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่

มีอุปกรณ์หลัก คือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาด

1,000 W และเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าขนาด 2,500

W โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกปรับให้มีแรงดันไฟฟ้าที่

สม่ำเสมอขนาด 220 ± 33 V สอดคล้องกับความถี่ของ

สายส่ง 50 ± 3 Hz

ดังนั้น พลังงานน้ำเป็นพลังงานทางเลือกหนึ่ง

ที่ เป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน

เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการใช้งานในระดับ

ครัวเรือนและชุมชนขนาดเล็กที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ลำธาร

หรือสายน้ำ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้วิจัยจึง

ออกแบบ สร้าง และทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ขนาดจิ๋ว ณ มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง ต.ลำพะยา อ.เมือง

จ.ยะลา

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

3 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีดำเนินการ การออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงาน

น้ำขนาดจิ๋ว ณ มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง ทำได้โดยทำ

รางไม้ขนาดความกว้าง 30.00 cm ยาว 12.0 m ลอดผ่าน

อุโมงค์ระบายน้ำที่อยู่ใต้ถนนลูกรังซึ่งตัดผ่านบริเวณกลาง

พื้นที่มูลนิธิ แล้วนำท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

25.40 cm มาวางบนรางไม้ให้ลอดผ่านอุโมงค์ระบายน้ำ

ดังกล่าว จากนั้นนำชุดกังหันน้ำแบบคอยาวที่มีใบพัด

จำนวน 8 ใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15.24 cm รองรับ

อัตราการไหลของน้ำสูงสุด 120 l/s โดยประมาณ ที่

เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับจากแม่เหล็ก

ถาวรขนาด 220 V ความถี่ 50 Hz น้ำหนัก 55 kg ให้กำลัง

ไฟฟ้าสูงสุดเท่ากับ 1,000 W มาประกอบเข้ากับปลายท่อ

ซึ่งอยู่สูงกว่าพื้นระดับประมาณ 1.5 m จากนั้นทำการสร้าง

รูปที่ 1 กังหันน้ำแบบคอยาวขนาด 200 W ที่ติดตั้งในประเทศ (ก) ฟิลิปปินส์

และ (ข) ประเทศเวียดนาม [2]

รูปที่ 2 กังหันน้ำแบบคอยาวขนาด 200 W สำหรับครัวเรือนที่ติดตั้งใน

ประเทศเอกวาดอร์ [2]

(ก) (ข)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

4

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

โรงเรือนครอบชุดระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว

ดังรูปที่ 3

การทดสอบระบบทำได้โดยทดลองผลิตไฟฟ้า

จากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วที่สร้างขึ้น ด้วย

การปล่อยน้ำให้ไหลผ่านท่อพีวีซีที่ต่อเข้ากับชุดกังหันและ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยแบ่งการปล่อยน้ำออกเป็น 3

รูปแบบ คือ ปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร 30% (ประมาณ

หนึ่งในสามของท่อ) 50% (ประมาณหนึ่งในสองของท่อ)

และ 100% (เต็มท่อ) แล้ววัดแรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้า

ด้วยเครื่องมัลติมิเตอร์ดิจิตอล (Digital multimeter) ยี่ห้อ

UNAOHM รุ่น 9400 ความละเอียดทศนิยม 2 ตำแหน่ง

โดยทำการวัดต่อเนื่องเป็นเวลา 5 h ทำการทดสอบซ้ำ 3

ครั้ง แล้วใช้ค่าเฉลี่ย จากนั้นวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วที่ได้ติดตั้งขึ้นในรูป

ของแรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้าตามสมการ (1) และ (2)

ดังนี้

เมื่อ คือ ประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้า

พลังงานน้ำขนาดจิ๋วในรูปของแรงเคลื่อนไฟฟ้า (%)

คือ ประสิทธิภาพของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว

ในรูปของความถี่ไฟฟ้า (%) คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้า

ที่วัดได้ (V) คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

สามารถผลิตได้ (V) คือ ความถี่ไฟฟ้าที่วัดได้ (Hz)

และ คือ ความถี่ไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถ

ผลิตได้ (Hz)

ผลการวิจัยและการอภิปรายผล การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบคอ

ยาวขนาด 1 kW ณ มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง โดยการทำ

รางไม้แล้ววางท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 m

ยาว 12 m ลอดผ่านอุโมงค์ระบายน้ำช่องที่ 2 (ช่องกลาง)

ใต้ถนนลูกรังที่กว้าง 5.00 m สูง 1.4 m แสดงได้ดังรูปที่ 4

จากการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว

โดยการวัดแรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้าขณะไม่มีภาระ

ทางไฟฟ้ายกเว้นหลอดไส้ขนาด 40 W จำนวน 1 หลอด

พบว่า เมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร 30% (ประมาณ

หนึ่งในสามของท่อ) จะไม่สามารถวัดแรงเคลื่อนและ

รูปที่ 3 ภาพจำลองระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว ณ มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

5 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ความถี่ไฟฟ้าได้ เนื่องจากแรงดันน้ำมีไม่เพียงพอต่อการ

ทำงานของระบบ แต่เมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร 50%

(ประมาณหนึ่งในสองของท่อ) สามารถวัดแรงเคลื่อน

และความถี่ไฟฟ้าได้ โดยแรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้าที่วัด

ได้มีค่าอยู่ในช่วง 116.80-131.00 V และ 16.0-29.0 Hz

ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่าเฉลี่ย พบว่า มี

ค่าเท่ากับ 125.18 ± 2.33 V และ 25.93 ± 1.98 Hz

ตามลำดับ ในขณะที่การปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร 100%

(เต็มท่อ) แรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้าที่วัดได้มีค่าอยู่ใน

ช่วง 210.00-218.90 V และ 42.0-57.0 Hz ตามลำดับ

ดังรูปที่ 5 เมื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ย พบว่า มีค่าเท่ากับ

217.43 ± 2.70 V และ 47.52 ± 2.12 Hz ตามลำดับ

จากผลการทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ขนาดจิ๋วข้างต้น สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วที่ได้สร้างขึ้นในรูป

ของแรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้า โดยอาศัยสมการ (1)

และ (2) เมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร 50% (ประมาณ

หนึ่งในสองของท่อ) สามารถหาประสิทธิภาพการเปลี่ยน

รูปที่ 4 การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว (ก) การปิดอุโมงค์ระบายน้ำ

(ข) การทำรางไม้ (ค) การวางท่อพีวีซี และ (ง) การสร้างหลังคา

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

6

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

รูปที่ 5 (ก) แรงเคลื่อนไฟฟ้า และ (ข) ความถี่ไฟฟ้า เมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อปริมาตร 100% (เต็มท่อ)

พลังงานน้ำเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้า

พลังงานน้ำขนาดจิ๋วได้ร้อยละ 56.90 ในขณะเดียวกัน

สามารถหาประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็น

ความถี่ไฟฟ้าของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว

ได้ร้อยละ 51.86 ทำนองเดียวกันเมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อใน

ปริมาตร 100% (เต็มท่อ) จะสามารถหาประสิทธิภาพ

การเปลี่ยนพลังงานน้ำเป็นแรงเคลื่อนและความถี่ไฟฟ้า

ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วได้ร้อยละ

98.83 และ 95.04 ตามลำดับ

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

7 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

จากผลการวิจัยข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ระบบผลิตไฟฟ้า

พลังงานน้ำขนาดจิ๋วที่ ได้ออกแบบ สร้าง และติดตั้ง

ขึ้น ณ มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง ต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา

สามารถใช้เป็นชุดทดลองการจัดการเรียนการสอนที่

เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ

ระดับอุดมศึกษา เป็นระบบต้นแบบในการถ่ายทอด

เทคโนโลยีพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว ให้กับองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน

ภาคใต้ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูงห่างไกลจากเมือง

อาทิเช่น พื้นที่บางส่วนของ อ.ธารโต อ.บันนังสตา และ

อ.เบตง จ.ยะลา อ.ศรีสาคร อ.จะแนะ อ.แว้ง อ.สุไหง-โกลก

และอ.สุไหง-ปาดี จ.นราธิวาส ซึ่งอาจประยุกต์ใช้ไม้ไผ่

เศษไม้ หรือก้อนหิน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น

เพื่อสร้างระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กๆ ดัง

รูปที่ 6 ที่สามารถใช้งานได้จริงกับครัวเรือนหรือชุมชน

ซึ่งสอดคล้องกับรายงานเรื่อง ระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

ระดับหมู่บ้านเพื่อชุมชนพึ่งตนเองของ กองบรรณาธิการ

[13] เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กแบบไทย ๆ ของ

คมสัน [14] และรายงานเรื่อง ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว

จากไดชาร์ทซึ่งเป็นกังหันน้ำที่สร้างได้ง่ายและต้นทุนต่ำ

ของ ณัฐภูมิ [15]

รูปที่ 6 ผลการติดตั้งและทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋ว ณ มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

8

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

สรุป บริเวณลำธารสายที่หนึ่งสามารถติดตั้งระบบผลิต

ไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วแบบคอยาวขนาด 1 kW ด้วย

การทำรางไม้แล้ววางท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

0.25 m ยาว 12 m ลอดผ่านอุโมงค์ระบายน้ำใต้ถนนลูกรัง

โดยระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดจิ๋วที่ติดตั้งขึ้น ณ

มูลนิธิ สุข-แก้ว แก้วแดง เมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร

50% (ประมาณหนึ่งในสองของท่อ) สามารถวัดแรงเคลื่อน

และความถี่ไฟฟ้าค่าเฉลี่ยเท่ากับ 125.18 ± 2.33 V และ

25.93 ± 1.98 Hz ตามลำดับ เมื่อปล่อยน้ำผ่านท่อในปริมาตร

100% (เต็มท่อ) สามารถให้แรงเคลื่อนและความถี่

ไฟฟ้าเฉลี่ยเท่ากับ 217.43 ± 2.70 V และ 47.52 ± 2.12 Hz

ตามลำดับ และสามารถใช้งานได้จริงกับครัวเรือนหรือ

ชุมชนในท้องถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

กิตติกรรมประกาศ การวิจัยนี้ได้รับสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัย

จากงบประมาณเงินบำรุงการศึกษา (บก.ศ.) ประจำปี

งบประมาณ พ.ศ. 2552 จากสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดน

ภาคใต้ (Southernmost Research and Development

Institute, S.R.D.I.) มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอขอบคุณ

ท่าน ดร.รุ่ง แก้วแดง ประธานมูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง ที่

ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่

ขอบคุณ ผศ.มะรูดิง กาซา ที่แนะนำเทคนิค และวิธีการ

ออกแบบการทดลอง ขอบคุณเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ และ

นักศึกษาสาขาวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ที่ให้ความ

ช่วยเหลือในการลงพื้นที่ เก็บข้อมูล จนการวิจัยสำเร็จ

ลุล่วงได้ด้วยดี

เอกสารอ้างอิง[1] เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบคอยาว สืบค้นเมื่อ

12 เมษายน 2552 จาก http://engineo.co.th/.

[2] John, G., Manuel, F., Kavita, R. and Simon, T. (2005).

Stimulating the picohydropower market

for lowincome households in Ecuador .

Energy sector management assistance program.

1-8.

[3] Alexander, K.V. and Giddens, E.P. (2008). Microhydro :

Cost-effective, modular systems for low heads.

Renewable Energy. 33, 1379-1391.

[4] Baidya, G. (2006). Deverlopment of small hydro.

Himalayan small hydropower summit.

12-13 October, India. 34-43.

[5] Balat, H. (2007). A renewable perspective for

sustainable energy development in Turkey :

The case of small hydropower plants. Renewable

and Sustainable Energy Reviews. 11, 2152-

2165.

[6] Date, A. and Akbarzadeh, A. (2009). Design and

cost analysis of low head simple reaction

hydro turbine for remote area power supply.

Renewable Energy. 34(2), 409-415.

[7] Kaldellis, J.K. (2007). The contribution of small

hydro power stations to the electricity generation

in Greece : Technical and economic con-

siderations. Energy Policy. 35, 2187-2196.

[8] Ogayar, B. and Vidal, P.G. (2009). Cost determination

of the electro-mechanical equipment of a small

hydro-power plant. Renewable Energy. 34,

6-13.

[9] Ponta, F.L. and Jacovkis, P.M. (2008). Marine-current

power generation by diffuser-augmented floating

hydro-turbines. Renewable Energy. 33 ,

665-673.

[10] ชาติชาย ยมะคุปต์. (2549). กังหันน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า

เพื่อใช้ในระบบแสงสว่าง. วิศวกรรมสาร มก. 58

(19), 34-39.

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว อีลีหย๊ะ สนิโซ

9 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

[11] Laodee, P., Ketjoy, N., Rakwichian, W., Engelke,

W.R. and Suponthan, W. (2005). Pico hydro

power generation : Case study of Ban Thapan,

Luang Pha Bang, LAO PDR. The 1st Conference

on Energy Network of Thailand. 11-13 May

2005. Cholburi.

[12] Laodee, P., Ketjoy, N., Rakwichian, W. (2006).

Pico hydro power generation demonstration :

Case study of the Maewong National Park

Sub Station Maerewa, Nakhonsawan Province.

The 2nd Conference on Energy Network of

Thailand. 22-29 July 2006. Nakorn Rajsima.

[13] กองบรรณาธิการ. (2551). ระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

ระดับหมู่บ้านพลังงานทดแทนเพื่อชุมชนพึ่ง

ตนเอง. เกษตรกรรมธรรมชาติ. 11(9), 22-25.

[14] คมสัน หุตะแพทย์. (2551). เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

ขนาดเล็กแบบไทย ๆ. เกษตรกรรมธรรมชาติ.

11(9), 11-13.

[15] ณัฐภูมิ สุดแก้ว. (2551). ไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว

จากไดชาร์ท: กังหันน้ำสร้างได้ง่ายต้นทุนต่ำ.

เกษตรกรรมธรรมชาติ. 11(9), 14-21.

บทความวิจัย

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงที่มีจำหน่ายในร้านขายยาสมุนไพร

ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

สันติ แซ่เต็ง1 ภัสสร ศิริมหาชัย1 ภิมลมาส รัตนบุรี1 เสาวนีย์ เจ๊งเหยง1

กมลวรรณ สุกแดง1 เฉลิมขวัญ ฤทธิ์ทอง1 บัวขวัญ อุ่นเสียม1 พัชรา เจริญวิลาศพงษ์1

อรพรรณ สกุลแก้ว1 และ สนั่น ศุภธีรสกุล1*

Santi Saeteng1, Phatsorn Sirimahachai1, Pimolmart Rattanaburee1, Saowanee Jaeyeng1,

Kamolwan Sukdang1, Chalermkhwan Ritthong1, Baukwan Unsiam1, Patchara Jarenvilapong1,

Oraphan Sakulkeo1 and Sanan Subhadhirasakul1*

1 คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา 90112* Corresponding author : โทรศัพท์ 074-2822700 [email protected]

บทคัดย่อ จากการตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงที่จำหน่ายในร้านขายยาสมุนไพร 3 ร้าน ในอำเภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา พบว่า พริกไทยล่อนที่จำหน่ายไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจาก พริกไทยล่อนจากร้านที่ 1, 2, 3 มีปริมาณ

สิ่งปนเปื้อนเป็น 7.20%, 2.63% และ 5.93% ตามลำดับ ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน (≤ 2.0% w/w) และมีปริมาณไพเพอรีนเป็น

2.98%, 2.36% และ 2.99% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (≥ 5.0% w/w) พริกไทยล่อนจากร้านที่ 1, 3 มีปริมาณ

เถ้าทั้งหมดเป็น 3.89%, 1.58% ตามลำดับ และร้านที่ 2 มีปริมาณเถ้าทั้งหมดเป็น 4.33% ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน

(≤ 4.0% w/w) การตรวจสอบมาตรฐานขิง พบว่า ขิงที่จำหน่ายผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยการหาปริมาณความชื้นในผงขิง

จากร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 9.68%, 9.40% และ10.35% ตามลำดับ (≤ 14.0% w/w) ปริมาณเถ้าทั้งหมด มีค่า 5.53%, 6.01% และ

8.74% ตามลำดับ (≤ 14.0% w/w) ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดมีค่า 0.76%, 0.65% และ 0.97% ตามลำดับ (≤ 5.0% w/w)

และการสกัดด้วยตัวทำละลายต่างๆ พบว่า จากร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 16.10%, 17.64% และ 19.42% ตามลำดับ

(≥ 16.0% w/w) ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ มีค่า 16.15%, 16.52% และ 19.51% ตามลำดับ (≥ 14.0% w/w) และ

ปริมาณสารสกัดด้วยอีเทอร์ มีค่า 3.31%, 3.09% และ 3.35% ตามลำดับ (≥ 3.0% w/w)

คำสำคัญ : พริกไทยล่อน ขิง การตรวจสอบมาตรฐาน

Standardization of Piper nigrum and Zingiber officinale from

Traditional Thai Drug Store in Hatyai, Songkhla

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

11 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

Abstract The standardization results of Piper nigrum L. and Zingiber officinale Roscoe. from the three traditional Thai

drug stores in Hat-Yai district, Songkhla province showed that P. nigrum L. was under the official standard. The

percentage of contamination in P. nigrum L. from store No.1, No.2 and No.3 were 7.20%, 2.63% and 5.93%,

respectively, which were above the official standard value (≤ 2.0% w/w). The percentage of piperine contents were

2.98%, 2.36% and 2.99%, respectively, which were under the official standard value (≥ 5.0% w/w). The percentage

of total ash content of P. nigrum L. from store No.1, No.3 were 3.89%, 1.58%, respectively, No.2 was 4.33% which

was above the official standard value (≤ 4.0% w/w). However, the standardization results of Z. officinale Roscoe.

from the three stores were above the official standard. The loss on drying of Z. officinale Roscoe. from store No.1,

No.2 and No.3 were 9.68%, 9.40% and 16.35% (≤ 14.0% w/w), the total ash contents were 5.53%, 6.01% and 8.74%

(≤ 14.0% w/w) and the acid-insoluble ash contents were 0.76%, 0.65% and 0.97%, respectively (≤ 5.0% w/w). The

alcohol soluble extractive values of Z. officinale Roscoe. from store No.1, No.2 and No.3 were 16.10%, 17.64% and

19.42% (≤ 16.0% w/w), the water soluble extractive values were 16.15%, 16.52% and 19.51% (≥ 14.0% w/w) and the

ether soluble extractive values were 3.31%, 3.09% and 3.35% (≥ 3.0% w/w), respectively.

Keywords : Piper nigrum, Zingiber officinale, Standardization

บทนำ (Introduction) พริกไทยล่อนและขิงเป็นพืชสมุนไพรที่ใช้กันอย่าง

กว้างขวาง นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร เนื่องจากหาได้ง่าย

และมีสรรพคุณที่หลากหลาย พริกไทยล่อนมีรสเผ็ดร้อน

ช่วยในการกระตุ้นปุ่มรับรสที่ลิ้นให้กระเพาะอาหารหลั่ง

น้ำย่อยมากขึ้น ย่อยไขมัน ช่วยขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ

และขับปัสสาวะ [1] ส่วนขิงในตำราแพทย์แผนโบราณ

ทั่วไป สาขาเภสัชกรรม [2] ได้กล่าวถึงสรรพคุณของขิง

ว่ามีรสหวานเผ็ดร้อน ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด

เจริญอากาศธาตุ จากสรรพคุณข้างต้นจึงทำให้สมุนไพรทั้ง

สองชนิดถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของตำรับยาแผน

ไทยเป็นจำนวนมาก ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

พ.ศ. 2542 เรื่องยาสามัญประจำบ้านทั้ง 28 ขนาน [3]

มีพริกไทยล่อนเป็นส่วนประกอบถึง 6 ตำรับ คือ ยา

มันทธาตุ ยาประสะเจตพังคี ยาธรณีสัณฑะฆาต ยาไฟ

ประลัยกัลป์ ยาไฟห้ากองและยาเนาวหอย ส่วนยาสามัญ

ประจำบ้านที่มีขิงเป็นส่วนประกอบมีทั้งหมด 10 ตำรับ

คือ ยาประสะกะเพรา ประสะกานพลู วิสัมพยาใหญ่

ยาธาตุบรรจบ ยาธรณีสัณฑฆาต ยาหอมอินทรจักร

ยาหอมเนาวโกฐ ยาประสะไพล ยาไฟประลัยกัลป์ และ

ยาไฟห้ากอง

นอกจากนี้ในตำรับยาของหมอพื้นบ้านส่วนใหญ่ก็

จะมีพริกไทยล่อนและขิงเป็นส่วนประกอบ ซึ่งพริกไทย

ล่อนและขิงที่หมอพื้นบ้านนำมาใช้นั้นก็นำมาจากร้าน

ขายยาสมุนไพร ซึ่งยังไม่พบรายงานคุณภาพของพริกไทย

ล่อนและขิงที่จำหน่ายในร้านขายยาสมุนไพรในอำเภอ

หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา หากสมุนไพรที่จำหน่ายไม่มี

คุณภาพจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของตำรับยาที่ปรุงขึ้น

ในการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการตรวจสอบมาตรฐาน

พริกไทยล่อนตามข้อกำหนดใน Thai Herbal Pharmaco-

poeia Volume 1 และการตรวจสอบมาตรฐานขิงตามข้อ

กำหนดใน Specification of Thai Medicinal Plants

Volume 1 โดยใช้ตัวอย่างจากร้านขายยาสมุนไพรในอำเภอ

หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 3 ร้าน ซึ่งทั้ง 3 ร้านเป็น

ร้านขายส่งสมุนไพรขนาดใหญ่ที่หมอชาวบ้านนิยม

เลือกซื้อ

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

12

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ (Material and Methods)

การเก็บตัวอย่างสมุนไพร

พริกไทยล่อนและขิงที่มีจำหน่ายในร้านขายยา

สมุนไพรใน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 3

ร้าน ในช่วงเดือนมิถุนายน 2551 โดยซื้อพริกไทยล่อน

และขิงแห้งอย่างละ 1 กิโลกรัมจากร้านขายยาสมุนไพร

แต่ละร้าน

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิง [4-5]

1. การหาปริมาณสิ่งปนเปื้อนในพริกไทยล่อน (Determi-

nation of foreign matter)

นำพริกไทยล่อน 100 กรัม เกลี่ยเป็นแผ่นบางๆ

เอาสิ่งปนเปื้อนออก โดยดูด้วยตาเปล่าหรือแว่นขยายกำลัง

ขยาย 6 เท่า หลังจากนั้นนำสิ่งปนเปื้อนมาชั่งน้ำหนัก แล้ว

คำนวณหาร้อยละของปริมาณสิ่งปนเปื้อนในพริกไทยล่อน

หลังจากที่หาปริมาณสิ่งปนเปื้อนเรียบร้อยแล้ว ให้นำพริก

ไทยล่อนมาบดให้เป็นผงร่อนผ่านแร่งเบอร์ 100 จะได้

ตัวอย่างที่จะทำการทดลองต่อไป ส่วนขิงจะไม่มีการ

ทดลองในส่วนการหาปริมาณสิ่งปนเปื้อน จึงนำมาบดผง

เช่นเดียวกับพริกไทยล่อน

2. การศึกษาลักษณะทางจุลทรรศน์ (Microscopical)

นำผงพริกไทยล่อนที่บดแล้วมาศึกษาดูลักษณะ

เซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็น stone cell, grains

มีขนาดไม่เกิน 7 µm, large oil cells มีขนาด 50-60 µm,

starch, piperine, brown pigment of testa, beaker cells /

horse shoes shapes cell ส่วนผงขิง จะเห็น wrinked

walls, cork, fiber, oleoresin cell, parenchymatous cell,

vessels, starch

3. การตรวจหาเอกลักษณ์ (Identification)

3.1 การตรวจหาเอกลักษณ์พริกไทยล่อน

3.1.1 Liebermann - Burchard test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม triterpenoid โดย

การนำผงพริกไทยล่อน 1 กรัม ละลายคลอโรฟอร์ม 20

มิลลิลิตร คนเป็นเวลา 15 นาที แล้วกรอง จะได้สารละลาย

A หยดสารละลาย A 3 – 4 หยดในถาดหลุม หยดกรด

อาเซติกแอนไฮไดร์ด 1 – 2 หยดตามด้วยหยดกรดกำมะถัน

1 – 2 หยด จะได้สีน้ำตาลแดง

3.1.2 Sulfuric acid test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม alkaloid โดยการนำ

สารละลาย A 2 มิลลิลิตร จาก 3.1.1 มาระเหยจนแห้ง

แล้วหยดเอทานอล 1 – 2 หยด ตามด้วยหยดกรดกำมะถัน

1 – 2 หยด จะได้สีน้ำตาลแดง

3.1.3 Dragendorff’s reagent test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม alkaloid โดย

การนำสารละลาย A 5 มิลลิลิตร มาระเหยแห้ง หยด

เอทานอล 1 – 2 หยด ตามด้วยหยดกรดอาเซติกโพเทส-

เซียมไอโอโดบิสมัท 4 - 5 หยด จะมีตะกอนสีส้มเกิดขึ้น

3.1.4 Ninhydrin test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม primary amines

และ secondary amines โดยการต้มผงพริกไทยล่อน 500

มิลลิกรัม กับเอทานอล 5 มิลลิลิตร ใน water bath เป็น

เวลา 10 นาที กรองและระเหยสารละลายจนได้ 1

มิลลิลิตรแล้วหยดนินไฮ- ดริน 1 - 2 หยด จุ่มหลอดทดลอง

ใน water bath 2 - 3 นาที จะได้สีม่วงแดง

3.1.5 Thin – layer chomatography

แช่ผงพริกไทยล่อน 500 มิลลิกรัม ด้วย

คลอโรฟอร์ม 5 มิลลิลิตร 10 นาที เขย่าให้เข้ากันกรองและ

ระเหยแห้งบน water bath หลังจากนั้นเติมคลอโรฟอร์ม

1 มิลลิลิตร จะได้ solution X นำไพเพอริน 1 มิลลิกรัม

มาละลายด้วยคลอโรฟอร์ม 1 มิลลิลิตร จะได้ solution Y

หยด solution X และ Y บนแผ่น TLC (aluminium

sheet coat silica gel GF254) ใช้เฮกเซน : เอทธิลอะซิเตท

ในอัตราส่วน 60 : 40 เป็น mobile phase นำไปใส่

chromatographic chamber ดูการเคลื่อนที่ของ solvent

front จนสูงจากที่หยดสาร 12 เซนติเมตร ทำให้แห้ง

นำไปดูการดูดกลืนแสงยูวีที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร

และนำ spot มา เปรียบเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐาน

พริกไทยล่อน

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

13 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

นำแผ่น TLC แผ่นใหม่มาหยด solution X และ

solution Y นำไปใส่ใน chromatographic chamber แล้ว

สังเกตการเคลื่อนที่ของ solvent front หลังจากนั้นมาสเปย์

ด้วยอาเซติกโพเทสเซียม ไอโอโดบิสมัท นำผลการทดสอบ

มาเปรียบเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐานพริกไทยล่อน จะได้

สีน้ำตาลเหลือง

นำแผ่น TLC แผ่นใหม่มาทำเช่นเดียวกันกับวิธี

ข้างต้น แต่สเปย์ด้วย 50% v/v ของกรดกำมะถันใน

เมทานอลแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นนำมา

ให้ความร้อน แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งโดย

เปรียบเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐานพริกไทยล่อน

รูปที่ 1 แสดงรูปแบบการแยกสารสกัดพริกไทยล่อนภายใต้การดูดกลืนแสง UV ที่ความยาวคลื่น 254 nm

3.2 การตรวจหาเอกลักษณ์ขิง

3.2.1 Liebermann - Burchard test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม triterpenoid โดย

การต้มผงขิง 0.5 กรัม กับกรดอาเซติกแอนไฮไดร์ด บน

water bath 2 นาที เขย่าไปเรื่อยๆ นำไปกรอง นำสาร

ที่กรองได้มาเติมกรดกำมะถัน 1 มิลลิลิตร จะได้สารละลาย

2 ชั้น โดยจะเห็นสีน้ำตาลแดงบริเวณสัมผัส ของสารทั้ง

สองชั้น

3.2.2 Ferric chloride test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม glycoside โดย

การต้มผงขิง 0.5 กรัมกับน้ำ 10 มิลลิลิตร บน water bath

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

14

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

แล้วนำไปกรอง นำตัวอย่างปริมาตร 2 มิลลิลิตร มากรอง

อีกครั้ง หยดสารทดสอบ เฟอริกคลอไรด์ 1 หยด จะได้

ตะกอนสีน้ำตาลแดง

3.2.3 Iodine test

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม polysaccharide

โดยการนำผงขิง 0.5 กรัม มาเติมกรดน้ำส้มเจือจาง 10%

ปริมาตร 10 มิลลิลิตร แล้วนำไปอุ่นบน water bath 3 นาที

เขย่าทุกๆ 1 นาที นำสารที่กรองได้มาหยดสารทดสอบ

ไอโอดีน 3 หยด จะได้ตะกอนสีฟ้า

3.2.4 Fehling’s test solution

เป็นการทดสอบสารในกลุ่ม monosaccharide โดย

การต้มผงขิง 0.5 กรัมกับน้ำ 10 มิลลิลิตร บน water bath

เป็นเวลา 2 นาที กรองและนำสารที่ได้ 3 มิลลิลิตร มาเติม

สารทดสอบ Fehling’s 1 มิลลิลิตร นำมาอุ่น จะได้ตะกอน

สีแดงอิฐ

4. การหาปริมาณเถ้าทั้งหมด (Total ash)

นำ crucible ไปเผาที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียส

และชั่งน้ำหนักจนคงที่ นำผงพริกไทยล่อนและผงขิงมา

อย่างละ 4 กรัม ที่ชั่งน้ำหนักแน่นอนใส่ใน crucible แล้ว

นำไปเผาที่อุณหภูมิ 450 องศาเซลเซียสในเครื่อง muffle

furnance เผาจนกระทั่งไม่มีคาร์บอนเหลืออยู่ นำมาชั่ง

น้ำหนักจนได้น้ำหนักคงที่ ในส่วนของผงขิงสามารถนำไป

คำนวณหาร้อยละของปริมาณเถ้าทั้งหมดได้ แต่ในส่วน

ของผงพริกไทยล่อนนั้นต้องเติมน้ำลงไปเล็กน้อย นำไป

ระเหยบน water bath แล้วเผาต่อจนได้น้ำหนักคงที่

คำนวณร้อยละของปริมาณเถ้าทั้งหมด

5. ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด (Acid - insoluble ash)

นำเถ้า total ash ของผงพริกไทยล่อนและผงขิง

(จากการทดลอง ที่ 4) มาต้มด้วยกรดไฮโดรคลอริกเจือจาง

10% ปริมาตร 25 มิลลิลิตร เป็นเวลา 5 นาที กรองเอา

ส่วนที่ไม่ละลายในกรดด้วยกระดาษ ashless filter paper

ล้างตะกอนด้วยน้ำร้อน จนกระทั่ง filtrate มีคุณสมบัติ

เป็นกลาง นำมาเผาที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส จนได้

น้ำหนักคงที่ คำนวณร้อยละของปริมาณเถ้าที่ไม่ละลาย

ในกรด

6. การหาปริมาณน้ำมันหอมระเหยในผงพริกไทยล่อน

(Determination of volatile oil)

นำผงพริกไทยล่อน 50 กรัม ละลายในน้ำ 250

มิลลิลิตร ใส่ลงใน flask นำไปกลั่นด้วย cleveneaur appa-

ratus ใส่ไซลีน 2 มิลลิลิตร แล้วนำไปกลั่นที่อุณหภูมิ

130 – 150 องศาเซลเซียส ปรับระดับความเร็วของการกลั่น

เป็นระดับ 2 – 3 หยดต่อนาที นาน 5 ชั่วโมง วัดระดับของ

ปริมาณน้ำมันหอมระเหยที่ได้ คำนวณร้อยละของปริมาณ

น้ำมันหอมระเหยในผงพริกไทยล่อน

7. การหาปริมาณน้ำในผงพริกไทยล่อน (Water content)

นำทูโลอีน 200 มิลลิลิตร และน้ำ 2 มิลลิลิตร

ใส่ลงใน flask แล้วนำไปกลั่นด้วย dean – stark apparatus

อ่านระดับน้ำที่ได้ (n) แล้วนำผงพริกไทยล่อน 50 กรัม

ใส่ลงใน flask และใส่ porous material ลงไปแล้วนำไป

กลั่น เมื่อทูโลอีนเดือด ให้ปรับระดับความเร็วของการ

กลั่นเป็น 2 หยดต่อวินาที เมื่อน้ำที่กลั่นมีปริมาณที่มาก

พอแล้วให้ปรับระดับความเร็วไปที่ 4 หยดต่อวินาที เมื่อ

น้ำกลั่นตัวหมดแล้ว ให้ล้าง condenser ด้วยทูโลอีน กลั่น

ต่ออีก 5 นาที ตั้งทิ้งไว้ให้เย็นและรอให้น้ำและทูโลอีนแยก

ชั้นออกจากกัน อ่านระดับของน้ำ (n/) แล้วนำมาคำนวณ

ร้อยละของปริมาณน้ำในผงพริกไทยล่อน

8. การหาปริมาณไพเพอรีนในผงพริกไทยล่อน (Piperine

content)

8.1 สร้าง Standard piperine curve

นำไพเพอรีน 20 มิลลิกรัม ใส่ volumetric flask

ขนาด 100 มิลลิลิตร ปรับปริมาตรด้วยคลอโรฟอร์ม จะได้

standard piperine solution สร้าง standard piperine curve

โดยนำ standard piperine solution ใส่ลง volumetric flask

ขนาด 25 มิลลิลิตร โดยให้ volumetric flask ใบที่ 1, 2, 3

ใส่ standard piperine solution 0.6 มิลลิลิตร 0.8 มิลลิลิตร

และ 1.0 มิลลิลิตร ตามลำดับ เติมคลอโรฟอร์มปริมาตร

0.4 มิลลิลิตร ลงใน volumetric flask ใบที่ 1 และ เติม

คลอโรฟอร์มปริมาตร 0.2 มิลลิลิตร ลงใน volumetric

flask ใบที่ 2 ส่วน volumetric flask ใบที่ 3ไม่ต้องเติม

คลอโรฟอร์ม จากนั้นเติมกรดคลอโมโทรปิก 10 มิลลิลิตร

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

15 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ลงใน volumetric flask ทั้ง 3 ใบ แล้วนำไปวางบน water

bath 30 นาที ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น เติมกรดกำมะถันเจือจาง 10%

ปริมาตร 10 มิลลิลิตร แล้วตั้งให้เย็นอีกครั้ง ปรับปริมาตร

ด้วยกรดกำมะถันเจือจาง 10% ให้ได้ 25 มิลลิลิตร และนำ

ไปวัดการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 570 นาโนเมตร

จากนั้นนำค่าไปสร้างกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง

ค่าความเข้มข้นกับค่าการดูดกลืนแสงยูวี

8.2 การหาปริมาณ ไพเพอรีนในผงพริกไทยล่อน

นำผงพริกไทยล่อนมา 500 มิลลิกรัม ใส่ลงใน

flask ขนาด 25 มิลลิลิตร หลังจากนั้นเติม คลอโรฟอร์ม

10 มิลลิลิตร นำกระดาษฟรอยด์มาหุ้มบริเวณปากแก้วไว้

แล้วนำไปวางบน water bath 6 ชั่วโมง นำสารสกัดผง

พริกไทยล่อนมากรองด้วยกระดาษกรอง ใ ส่ลงใน

volumetric flask ขนาด 250 มิลลิลิตร เมื่อกรองเสร็จแล้ว

ใช้ dropper ดูดคลอโรฟอร์ม ล้างกระดาษกรองอีกครั้ง

เพื่อล้างสารสกัดผงพริกไทยล่อนที่ยั งตกค้างอยู่บน

กระดาษกรอง แล้วนำผงพริกไทยล่อนที่ผ่านการสกัด

ครั้งแรกแล้ว มาทำการสกัดซ้ำ ด้วยวิธีการเดิม ทำซ้ำ

จนกว่าไม่มีไพเพอรีนเหลืออยู่ โดยวิธีการตรวจสอบสาร

สกัดผงพริกไทยล่อนว่า มีไพเพอรีนเหลืออยู่หรือไม่ ให้ตัด

กระดาษกรองขนาด 1x7 เซนติเมตร เอาปลายด้านหนึ่ง

จุ่มลงในสารสกัดผงพริกไทยล่อน สลัดให้แห้ง ทำซ้ำ

อีกครั้ง หยดกรดอาเซติกโพเทสเซียมไอโอโดบิสมัท

ประมาณ 3-4 หยด ถ้าความเข้มของสีระหว่างบริเวณที่จุ่ม

สารสกัดผงพริกไทยล่อนกับบริเวณที่ไม่ได้จุ่ม อยู่ในระดับ

เดียวกัน แสดงว่าสารสกัดผงพริกไทยล่อนที่ได้ ไม่มี

ไพเพอรีนเหลืออยู่ จากนั้นนำสารสกัดผงพริกไทยล่อนที่

กรองได้ มาปรับปริมาตรด้วยคลอโรฟอร์มให้ได้ 250

มิลลิลิตร นำสารสกัดผงพริกไทยล่อนที่ปรับปริมาตรแล้ว

มา 1 มิลลิลิตร ใส่ลงใน volumetric flask ขนาด 25

มิลลิลิตร เติมกรดคลอโมโทรปิก 10 มิลลิลิตร แล้วนำไป

วางบน water bath 30 นาที ตั้งให้เย็น เติมกรดกำมะถัน

เจือจาง 10% ปริมาตร 10 มิลลิลิตรแล้วตั้งให้เย็นอีกครั้ง

ปรับปริมาตรด้วยกรดกำมะถันเจือจาง 10% ให้ได้ 25

มิลลิลิตร และนำไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น

570 นาโนเมตร จากนั้นนำค่าการดูดกลืนแสงที่ได้ไปหา

ปริมาณไพเพอรีนในผงพริกไทยล่อน โดยเปรียบเทียบกับ

standard piperine curve

9. การหาปริมาณความชื้น (Loss on drying)

นำผงขิง 4 กรัมที่ชั่งน้ำหนักแน่นอน มาหาปริมาณ

ความชื้นโดยใช้เครื่อง sartorios moisture analyzor

ภายใต้อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส รอจนกว่าค่าที่ได้คงที่

หลังจากนั้นบันทึกค่าที่อ่านได้

10. การสกัด (Extractive values)

10.1 การสกัดผงขิงด้วยแอลกอฮอล์ (Alcohol -

soluble extractive)

นำผงขิงจากการหาปริมาณความชื้นมา 2 กรัม

ชั่งน้ำหนักที่แน่นอน นำมาสกัดด้วย เอทานอล 50%

ปริมาตร 70 มิลลิลิตร ใส่ใน flask เขย่าสม่ำเสมอเป็นเวลา

8 ชั่วโมง วางทิ้งไว้ 16 ชั่วโมง นำสารสกัดที่ได้ไปกรองใส่

ลงใน volumetric flask ขนาด 100 มิลลิลิตร แล้วนำ

เอทานอลปริมาตรเล็กน้อยไปกลั้ว flask ปรับปริมาตรใน

volumetric flask ให้ได้ 100 มิลลิลิตร แบ่งสารสกัดผงขิง

มา 50 มิลลิลิตรไประเหยแห้งบน water bath ที่อุณหภูมิ

105 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ชั่งน้ำหนักแล้ว

คำนวณหาร้อยละของสารสกัดผงขิงด้วยแอลกอฮอล์

10.2 การสกัดผงขิงด้วยน้ำ (Water - soluble

extractive)

นำผงขิงจากการหาปริมาณความชื้นมา 2 กรัม มา

ชั่งน้ำหนักที่แน่นอน นำมาสกัดด้วยน้ำปริมาตร 70

มิลลิลิตร ใส่ใน flask เขย่าสม่ำเสมอเป็นเวลา 8 ชั่วโมง

วางทิ้งไว้ 16 ชั่วโมง นำสารสกัดที่ได้ไปกรองใส่ลงใน

volumetric flask ขนาด 100 มิลลิลิตร แล้วนำน้ำไปกลั้ว

flask ปรับปริมาตรใน volumetric flask ให้ได้ 100

มิลลิลิตร แบ่งสารสกัดผงขิงมา 50 มิลลิลิตร ไประเหย

แห้งบน water bath ที่อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เป็น

เวลา 6 ชั่วโมง ชั่งน้ำหนักแล้วคำนวณหาร้อยละของสาร

สกัดผงขิงด้วยน้ำ

10.3 การสกัดผงขิงด้วยสารละลายอีเทอร์ (Ether -

soluble extractive)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

16

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

นำผงขิงไปทำให้แห้งใน desiccator เป็นเวลา 48

ชั่วโมง และแบ่งตัวอย่างมา 2 กรัม ไปชั่งน้ำหนักที่แน่นอน

แล้วนำมาใส่ใน flask เติมอีเทอร์ปริมาตร 70 มิลลิลิตร

แล้วนำไป reflux นำสารสกัดที่ได้ไปกรองใส่ลงใน

volumetric flask ขนาด 100 มิลลิลิตร นำอีเทอร์ปริมาตร

เล็กน้อยไปกลั้ว flask และปรับปริมาตรใน volumetric

flask ให้ได้ 100 มิลลิลิตร แบ่งมาสารสกัดผงขิง 50

มิลลิลิตร นำไประเหยแห้งบน water bath นำสิ่งที่ได้ไป

ทำให้แห้งใน desiccator เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ชั่งน้ำหนัก

แล้วคำนวณหาร้อยละของสารสกัดผงขิงด้วยสารละลาย

อีเทอร์

ตารางที่ 1 ผลการตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อน

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

17 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ผลการวิจัยและอภิปรายผล จากตารางที่ 1 การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทย

ล่อน พบว่า การศึกษาลักษณะทางจุลทรรศน์และการ

ตรวจหาเอกลักษณ์ของพริกไทยล่อน มีลักษณะเป็นไป

ตามข้อกำหนดใน Thai herbal pharmacopeia volume 1

ร้อยละของปริมาณสิ่ งปนเปื้อนเทียบกับน้ำหนักผง

พริกไทยล่อนของร้านที่ 1 (7.20% w/w) ร้านที่ 2 (2.63%

w/w) และร้านที่ 3 (5.93% w/w) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

(≥ 2.0% w/w) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากสิ่งปนเปื้อนซึ่งอาจ

ปลอมปนมาจากแหล่งผลิตที่รับมาหรือการเก็บพริกไทย

ล่อนของร้านทั้ง 3 ไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ร้านที่ 1 มี

ปริมาณสิ่งปนเปื้อนมากที่สุด เพราะ เก็บพริกไทยล่อน

ในที่โล่ง ไม่มีฝาปิด อีกทั้งยังเก็บพริกไทยล่อนใกล้กับ

พริกไทยดำ จึงทำให้มีการปนเปื้อนได้ง่ายกว่าอีก 2 ร้าน

สิ่งปนเปื้อนจากร้านที่ 1 และร้านที่ 3 ส่วนมากที่พบจะ

เป็นพริกไทยดำ เศษหญ้า เศษใบไม้ และพบก้อนกรวด

เศษหินเพียงเล็กน้อย ซึ่งแตกต่างกับร้านที่ 2 สิ่งปนเปื้อน

ส่วนมากที่พบจะเป็นก้อนกรวด เศษหินและเศษทราย

การหาปริมาณเถ้าที่เหลืออยู่ทั้งหมดจากการเผา

ผงพริกไทยล่อนในภาวะควบคุม พบว่า ร้อยละของ

ปริมาณเถ้าทั้งหมดเทียบกับน้ำหนักผงพริกไทยล่อนของ

ร้านที่ 1 (3.89% w/w) และร้านที่ 3 (1.58% w/w) ผ่าน

เกณฑ์มาตรฐาน (≤ 4.0% w/w) แต่ร้านที่ 2 (4.33% w/w)

ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้ เนื่องมาจากร้านที่ 2 มี

ปริมาณสิ่ งปนเปื้อนจำพวกก้อนกรวด เศษหินและ

เศษทราย ซึ่งเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ปนเปื้อนมากกว่า

ร้านที่ 1 และร้านที่ 3

การหาปริมาณไพเพอรีนในผงพริกไทยล่อน

พบว่า ร้อยละของปริมาณไพเพอรีนเทียบกับน้ำหนักผง

พริกไทยล่อนของร้านที่ 1 (2.98% w/w) ร้านที่ 2 (2.36%

w/w) และร้านที่ 3 (2.99% w/w) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

(≥5.0% w/w) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากพริกไทยล่อนที่มี

จำหน่ายในร้านขายยาสมุนไพรทั้ง 3 ร้านถูกเก็บพักไว้ที่

ร้านเป็นระยะเวลานานเกินไป จึงทำให้การหาปริมาณ

ไพเพอรีนในผงพริกไทยล่อนไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

ตารางที่ 1 (ต่อ)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

18

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

จากตารางที่ 2 การตรวจสอบมาตรฐานขิง พบว่า

การศึกษาลักษณะทางจุลทรรศน์และการตรวจหา

เอกลักษณ์ของขิง มีลักษณะเป็นไปตามข้อกำหนดใน

Specification of Thai Medicinal Plants Volume 1

ตารางที่ 2 ผลการตรวจสอบมาตรฐานขิง

ร้อยละของปริมาณเถ้าทั้งหมดเทียบกับน้ำหนักผงขิง

ของร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 5.53%, 6.01% และ 8.74% ตาม

ลำดับ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (≤ 14.0% w/w) ร้อยละของ

ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดเทียบกับน้ำหนักผงขิงของ

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงสันติ แซ่เต็ง และคณะ

19 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 0.76%, 0.65% และ 0.97% ตามลำดับ

ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (≤ 5.0% w/w) ร้อยละของปริมาณ

ความชื้นในผงขิงเทียบกับน้ำหนักผงขิงของร้านที่ 1, 2, 3

มีค่า 9.68%, 9.40% และ10.35% ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์

มาตรฐาน (≤ 14.0% w/w) และการสกัดด้วยตัวทำละลาย

ต่างๆ พบว่า ร้อยละของปริมาณสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์

เทียบกับน้ำหนักผงขิงของร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 16.10%,

17.64% และ 19.42% ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

(≥ 16.0% w/w) ร้อยละของปริมาณสารสกัดด้วยน้ำเทียบ

กับน้ำหนักผงขิงของร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 16.15%, 16.52%

และ 19.51% ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (≥ 14.0%

w/w) และร้อยละของปริมาณสารสกัดด้วยอีเทอร์เทียบ

กับน้ำหนักผงขิงของร้านที่ 1, 2, 3 มีค่า 3.31%, 3.09%

และ 3.35% ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (≥ 3.0% w/w)

ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ขิงที่มีจำหน่ายในร้านขายยา

สมุนไพรทั้ง 3 ร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องมาจากการ

เก็บรักษาขิงของร้านขายยาสมุนไพรทั้ง 3 ร้าน เก็บในที่

มิดชิดกว่าการเก็บรักษาพริกไทยล่อน และขิงเป็นพืช

สมุนไพรที่นิยมใช้มากกว่าพริกไทยล่อน จึงทำให้ขิงถูก

จำหน่ายได้เร็ว มีการหมุนเวียนของวัตถุดิบอยู่บ่อยๆ ไม่

ถูกเก็บพักไว้ที่ร้านเป็นระยะเวลานานๆ จึงทำให้ขิงที่

จำหน่ายมีคุณภาพ

สรุปผลการวิจัย (Conclusion) จากการตรวจสอบมาตรฐานของพริกไทยล่อน

และขิงจากร้านขายยาสมุนไพรทั้ง 3 ร้าน พบว่าพริกไทย

ล่อนไม่ผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดมาตรฐานพริกไทยล่อน

ใน Thai Herbal Pharmacopoeia Volume 1 เพราะมี

ปริมาณสิ่งปนเปื้อนในปริมาณมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

นอกจากนี้ปริมาณสารแอลคาลอยด์ มีค่าน้อยกว่าเกณฑ์

มาตรฐาน และมีพริกไทยล่อนจาก 1 ร้าน ที่มีปริมาณเถ้า

ทั้งหมดมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากมีสารประกอบ

อนินทรีย์ปะปนอยู่มาก ส่วนขิงผ่านเกณฑ์มาตรฐานตาม

ข้อกำหนดใน Specification of Thai Medicinal Plants

Volume 1 ทำให้ขิงที่มีจำหน่ายในร้านขายยาสมุนไพรมี

คุณภาพและเหมาะสำหรับนำในใช้ในการปรุงยาที่มี

ประสิทธิภาพต่อไป

เอกสารอ้างอิง (References)[1] สมพร ภูติยานันต์.(2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการ

แพทย์แผนไทย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ตุลย์การพิมพ์

[2] กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข.(มปป).

หนังสือแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเภสัชกรรม.

กรุงเทพฯ

[3] ประกาศกระทรวงสาธารสุข. เรื่องยาสามัญประจำบ้าน

แผนโบราณ. เข้าเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551

สืบค้นจาก http://www.appl.fda.moph.go.th/drug/

zone_law/law002.asp

[4] Anon.(1998). Prik Thai Lon. Thai Herbal Pharmaco-

poeia volume 1: Department of Medical

sciences, 64

[5] Anon. (1986).Khing. Specification of Thai Medicinal

Plants Volume 1 : Faculty of Pharmacy, Mahidol

University, 113 - 121

บทความวิจัย

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ เพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซนในยาแผนโบราณ

ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ดวงทิพย์ อรัญดร สรียา แซ่ลิ่ม1 สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์1 อภิณัฐ คล้ายสถิต1 และสุกัญญา เดชอดิศัย2

Doungthip Arandorn1, Sareeya Saelim1, Sirinthip Vitchayavoranan1, Apinat Klaysatit1and Sukanya Dej-adisai2

1 คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 901122 อาจารย์ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 90112

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์เพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซน

ในยาแผนโบราณ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยได้ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม

พ.ศ. 2551 รวมทั้งสิ้น 200 ตัวอย่าง จากแหล่งจำหน่าย จำนวน 54 ร้าน จากนั้นนำตัวอย่างที่ได้มาตรวจสอบหาการ

ปนปลอมสารเพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซน ด้วยเทคนิค Thin-layer chromatography (TLC) ซึ่งจะต้องทำการ

เปรียบเทียบระหว่างตัวยาแผนโบราณและสารอ้างอิงมาตรฐานเพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซนทุกครั้ง

ผลการทดลองพบว่า 4 ตัวอย่าง ตรวจพบการปนปลอมของสเตียรอยด์ คิดเป็น 2% ของตัวอย่างทั้งหมด โดยตรวจพบ

สารเพรดนิโซโลนจำนวน 1 ตัวอย่าง และสารเด็กซ่าเมทธาโซนจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.5 และ 1.5 ตามลำดับ

ซึ่งกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงในการตรวจพบการปนปลอมด้วยสารสเตียรอยด์ คือ กลุ่มยาที่มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยและ

แก้อักเสบ ทั้งนี้ตัวอย่างที่ตรวจพบการปนปลอมเป็นตัวอย่างที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนยาทั้งหมด และแหล่งที่มาของตัวอย่างคือ

ร้านค้าแผงลอยในตลาดสด ซึ่งมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะได้ยาที่มีการปนปลอมสเตียรอยด์ คือร้อยละ 5.56 ของแหล่ง

จำหน่ายทั้งหมด

คำสำคัญ: สเตียรอยด์ เพรดนิโซโลน เด็กซ่าเมทธาโซน ยาแผนโบราณ เทคนิคธินเลเยอร์ โครมาโทรกราฟี

Study on Adulteration of Steroids, Prednisolone and Dexamethasone in Traditional Thai

Medicines in Hat-Yai, Songkhla

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

21 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

บทนำ ในปัจจุบันนี้การใช้ยาแผนโบราณในประชาชน

ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากราคาถูก

หาซื้อได้ง่าย รักษาแล้วได้ผลดี หรือแม้กระทั่งการรักษา

ด้วยแพทย์แผนปัจจุบันไม่ประสบผลสำเร็จ [1] และจาก

ค ว า ม เ ชื่ อ ที่ ว่ า ก า ร ใ ช้ ย า แ ผ น โ บ ร า ณ นั้ น ป ล อ ด ภั ย

จากสารเคมีมากกว่ายาแผนปัจจุบัน เพราะมีส่วนประกอบ

ของสมุนไพรในปริมาณที่สูง ซึ่งจากข้อดีหลายประการ

ดังกล่าว ทำให้ยาแผนโบราณได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

แต่ในปัจจุบันพบว่าการผลิตยาแผนโบราณของผู้ผลิต

บางรายอาจมีการปนปลอมสารเคมีหรือตัวยาแผนปัจจุบัน

บางอย่างเพื่อให้ยานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น

ทำให้มีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบ แก้อาการปวดข้อ

ปวดกระดูก หรือการเพิ่มฤทธิ์ในการ metabolize ของสาร

อาหารในร่างกาย เพื่อใช้ในการเป็นยาลดความอ้วน

เป็นต้น [2] ซึ่งสารดังกล่าว คือ สเตียรอยด์ (steroids)

หากใช้ เป็นเวลานานและในขนาดยาที่สูง อาจทำให้

เกิดผลข้างเคียงที่ เป็นอันตราย เช่น ทำให้ภูมิคุ้มกัน

ร่ า ง ก า ย ล ด ล ง เ กิ ด ก า ร ติ ด เ ชื้ อ แ บ ค ที เ รี ย เ ชื้ อ ร า

และเชื้อไวรัสได้ง่าย ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง

เสี่ยงต่อภาวะโรคกระดูกพรุน [3] มีการสะสมของไขมัน

ผิดปกติ ทำให้ร่างกายมีขนาดใหญ่ขึ้น (central obesity)

ใบหน้ากลมเหมือนพระจันทร์ (moon face) ไขมันสะสม

เป็นโหนกที่ด้านหลัง (buffalo hump) และผิวหนังแตก

เป็นรอยสีม่วง (striae) ที่บริเวณท้องน้อย ในผู้หญิงจะ

ทำให้ประจำเดือนมาน้อย หรือไม่มีเลย เป็นต้น ซึ่งการ

หยุดยาทันทีจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน และทำให้

เกิดการขาดสารพวกฮอร์โมน [4] รวมทั้งอาจทำให้

ผู้ ใช้ เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ ซึ่ งอาการเหล่านี้

จะยั งคงอยู่ ต่อไปในร่ างกายของผู้ ใช้ เป็น เวลานาน

หลายปีแม้ว่าจะหยุดการใช้สเตียรอยด์ไปแล้วก็ตาม

โดยพบว่าสเตียรอยด์ที่นิยมใช้ปนปลอมกันมากในตำรับยา

แผนโบราณมี 2 ชนิดคือ เพรดนิโซโลน (prednisolone)

และเด็กซ่าเมทธาโซน (dexamethasone) [1,5]

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการ

ปนปลอมสารเพรดนิโซโลน (prednisolone) และ

เด็กซ่าเมทธาโซน (dexamethasone) ในยาแผนโบราณที่ได้

จากแหล่งจำหน่ายต่างๆ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

โดยจำแนกตามการขึ้นทะเบียนตำรับยา แหล่งจำหน่าย

กลุ่มโรค และรูปแบบของยาแผนโบราณ เพื่อใช้เป็นข้อมูล

ในการเฝ้าระวังการใช้ยาแผนโบราณต่อไป

Abstract The objective of this research is to study on adulteration of steroids, prednisolone and dexamethasone in

Traditional Thai medicines (TTM) in Hat-Yai, Songkhla. Two hundred samples were collected randomly from 54 stores

during August to December 2008. Common adulterants, prednisolone and dexamethasone were examined in the samples

by using thin-layer chromatography (TLC) technique, and compared with prednisolone and dexamethasone standards.

The results showed that 4 samples were adulterated with steroid, calculated as 2%, 1 sample was adulterated with

prednisolone and 3 samples were adulterated with dexamethasone, calculated as 0.5 and 1.5%, respectively. The risk

group of TTM, which contained steroid adulterants was usually using for analgesic and anti-inflammation.

These adulterant samples were not registered and the booth in market fair was, which high risk to find

adulterant samples as 5.56% from all sources of TTM.

Keywords : Steroid, Prednisolone, Dexamethasone, Traditional Thai Medicines, Thin-layer Chromatography

(TLC) Technique

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

22

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

วิธีการเก็บข้อมูลการสร้างบทจำลอง

ผู้วิจัยแต่งบทจำลองขึ้น โดยให้เหมือนเหตุการณ์

จริงมากที่สุด บทเป็นสถานการณ์จำลองที่ลูกค้าต้องการ

ซื้อยาแผนโบราณไปฝากคุณยายซึ่งชอบทานยาสมุนไพร

และสอบถามจากผู้ขายว่ายาตัวไหนที่ขายดีที่สุด เพราะ

เหตุใดจึงขายดี

การเก็บตัวอย่างโดยการใช้ลูกค้าจำลอง

ผู้วิจัยปลอมตัวเป็นลูกค้าจำลอง (Simulated client)

เข้ า ไปรับบริการจากแหล่งจำหน่ ายยาแผนโบราณ

และดำเนินการตามบทบาทที่ฝึกมาจากสถานการณ์จำลอง

จ า ก นั้ น จึ ง ก ลั บ ม า จ ด บั น ทึ ก ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ า ก แ ห ล่ ง

จำหน่ายต่างๆ ทันที โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างในช่วง

เดือนสิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 รวมทั้งสิ้น

200 ตัวอย่าง

การสกัดสารจากตัวอย่างยาแผนโบราณ

นำยาแผนโบราณที่ได้จากการสุ่มมาระเหยจนแห้ง

ในกรณีที่เป็นยาน้ำ โดยใช้ตัวอย่างยาประมาณ 10 มิลลิลิตร

หรือนำมาบดให้ละเอียดในกรณีที่ เป็นยาเม็ดลูกกลอน

และยาตอกเม็ด หากอยู่ ในรูปยาแคปซูลจะแกะตัว

แคปซูลออก เพื่อเอาเฉพาะผงยาภายใน โดยจะใช้ตัวอย่าง

ยาประมาณ 1-2 เม็ด/แคปซูล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของยา

แต่ละชนิด หลังจากเตรียมตัวอย่างยาแล้วให้นำมาละลาย

ในสารละลาย methanol 2-3 มิลลิลิตร หลังจากนั้น

กรองเอาเฉพาะส่วนที่ใสมาทำการทดลอง

กระบวนการตรวจสอบหาสาร prednisolone และ

dexamethasone ในยาแผนโบราณ

การพิสูจน์ เอกลักษณ์ของเพรดนิโซโลนและ

เด็กซ่าเมทธาโซนในครั้งนี้ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Thin-layer

chromatography (TLC)ซึ่งจะต้องทำการเปรียบเทียบ

ระหว่างตัวอย่างยาแผนโบราณและสารอ้างอิงทุกครั้ง

และต้องให้ผลการตรวจพบอย่างน้อย 3 ระบบ จากทั้งหมด

5 ระบบ จึงจะระบุได้ว่ามีการปนปลอมสารสเตียรอยด์

โดยเทคนิคดังกล่าวมีรายละเอียดแบ่งย่อยดังนี้

(1) ตัวดูดซับ (adsorbent or stationary phase)

ที่ใช้คือ Silica gel GF254 (Merck, Darmstadt, Germany)

(2) ระบบตัวทำละลาย (Solvent system or mobile

phase) ที่เหมาะสม (มีค่า Rf อยู่ระหว่าง 0.3-0.7) ที่ใช้ในการ

ตรวจสอบครั้งนี้มี 5 ระบบ โดยมีอัตราส่วนของตัวทำละลาย

อินทรีย์ที่เหมาะสมดังต่อไปนี้ [1]

1. Ethyl acetate : Cyclohexane = 2 : 1

2. Ethyl acetate : Chloroform = 2 : 1

3. Ethyl acetate : Benzene = 3 : 1

4. Ethyl acetate : Carbontetrachloride = 3 : 1

5. Ethyl acetate : Petroleum ether = 3 : 1

(3) วิธีการตรวจสอบ ที่ใช้มี 3 วิธี ดังนี้

1. การตรวจดูการเรืองแสงภายใต้รังสีเหนือม่วง

(Ultraviolet light) ซึ่งสเตียรอยด์ทั้งสองชนิด จะทึบแสง

ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนแผ่น TLC ที่ความยาว

คลื่น 254 nm

2. ตรวจสอบด้วยสารละลายที่ใช้ตรวจสอบทั่วไป

(general spraying reagent) เช่น anisaldehyde reagent

โดยสารละลายที่ใช้ คือ 0.5% ของ anisaldehyde ใน alcohol

พ่นลงไปในครั้งแรก แล้วพ่นทับตามด้วย 50% ของ

sulphuric acid ใน alcohol จากนั้นนำไปวางบนแผ่น

ให้ความร้อน 110oC เป็นเวลา 10 นาที ซึ่งผลการตรวจสอบ

จะให้สเตียรอยด์ทั้งสองชนิด เป็นจุดสีม่วง

3. ตรวจสอบด้วยสารละลายที่ใช้ตรวจเฉพาะ

(specific spraying reagent) สารละลายที่ใช้คือ 15%

phosphoric acid ใน alcohol พ่นลงไปบนแผ่น TLC แล้วนำ

ไปวางบนแผ่นให้ความร้อน 120oC เป็นเวลา 10 นาที โดย

เพรดนิโซโลนจะให้เป็นจุดสีดำและเด็กซ่าเมทธาโซน

จะให้เป็นจุดสีม่วง

(4) สารมาตรฐานหรือสารอ้างอิง ที่ใช้เปรียบเทียบ

ได้แก่ สารอ้างอิงมาตรฐานเพรดนิโซโลน (Prednisolone

minimum 99%, P6004-1G, Sigma-Aldrich, China) และ

เด็กซ่าเมทธาโซน (Dexamethasone, Vetranal analytical

standard, 46165, Germany)

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

23 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ผลการวิจัยและอภิปราย ผู้วิจัยได้นำยาแผนโบราณทั้งหมดที่ล่อซื้อจาก

แหล่งจำหน่ายต่างๆ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

มาตรวจสอบหาการปนปลอมสารสเตียรอยด์พบว่าใน

จำนวนยาทั้งหมด 200 ตัวอย่าง ตรวจพบว่ามีการปนปลอม

สารสเตียรอยด์ จำนวน 4 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2 ของ

ยาทั้งหมด เมื่อนำมาตรวจดูการเรืองแสงภายใต้รังสี

เหนือม่วง ที่ความยาวคลื่น(λ) 254 nm จะพบการเรืองแสง

ของเพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมธาโซนในตำแหน่งที่

แตกต่างกันดังตัวอย่างในรูปที่ 1 และรูปที่ 2 ตามลำดับ

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

24

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

และเมื่อนำมาตรวจสอบด้วยสารละลายที่ ใช้

ตรวจสอบทั่วไป เช่น anisaldehyde reagent โดยใช้ 0.5%

ของ anisaldehyde ใน alcohol พ่นลงไปในครั้งแรก

แล้วพ่นทับด้วย 50% ของ sulphuric acid ใน alcohol

แล้วนำไปให้ความร้อน 110oC เป็นเวลา 10 นาที ซึ่งให้ผล

การตรวจพบสารเพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมธาโซน

ดังตัวอย่างในรูปที่ 3 และรูปที่ 4 ตามลำดับ

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

25 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

26

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

จากผลการตรวจพบการปนปลอมสารสเตียรอยด์

ทั้ง 4 ตัวอย่าง สามารถนำมาจำแนกตามรายละเอียด

ต่างๆ ได้ ดังนี้

เมื่อนำยาดังกล่าวมาจำแนกตามการขึ้นทะเบียน

ตำรับยาแผนโบราณพบว่า จากจำนวนยาที่ได้ขึ้นทะเบียน

ตำรับยาทั้งหมด 36 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบว่ามีการปนปลอม

สารสเตียรอยด์ ส่วนยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาจำนวน

164 ตัวอย่าง ตรวจพบว่ามีการปนปลอมสารสเตียรอยด์

จำนวน 4 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 2.44 ของจำนวน

ยาแผนโบราณที่ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา แสดงใน

ตารางที่ 1

เ มื่ อ น ำ ผ ล ก า ร ต ร ว จ พ บ ส า ร เ ส ตี ย ร อ ย ด์ ทั้ ง

4 ตัวอย่าง มาจำแนกตามอนุพันธ์ พบว่าตัวอย่างที่ตรวจพบ

การปนปลอมเพรดนิโซโลน มีจำนวน 1 ตัวอย่าง และ

ตัวอย่างที่ตรวจพบการปนปลอมเด็กซ่า เมทธาโซน

มีจำนวน 3 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25 และ 75 จาก

จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบตามลำดับ และเมื่อเทียบ

การพบเพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซน กับจำนวน

ตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 0.5

และ 1.5 ตามลำดับ แสดงในตารางที่ 2

เมื่อนำผลการตรวจสอบสารสเตียรอยด์ในยา

แผนโบราณมาจำแนกตามประเภทของแหล่งที่จำหน่าย

ต่างๆ พบว่า ร้านที่ได้ทำการสุ่มตรวจทั้งหมดมีจำนวน

54 ร้าน ซึ่งตรวจพบว่ามีการปนปลอมสารสเตียรอยด์

จำนวน 3 ร้ าน คิด เป็นร้อยละ 5 .56 และจากการ

ตรวจสอบพบว่ า ร้ านแผงลอยในตลาดเป็นแหล่ ง

จำหน่ าย เดี ยว ที่ มี การตรวจพบการปนปลอมสาร

สเตียรอยด์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17.65 ของจำนวนร้าน

ยาที่สุ่มตรวจ จำนวนตัวอย่างที่สุ่มตรวจ จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบ ร้อยละ

สารสเตียรอยด์

ขึ้นทะเบียนตำรับยา 36 0 0.00

ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา 164 4 2.44

รวม 200 4 2.00

ตารางที่ 1 ผลการตรวจสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ โดยจำแนกตามการขึ้นทะเบียนตำรับยา

ตารางที่ 2 แสดงตัวอย่างที่ตรวจพบสารสเตียรอยด์โดยจำแนกตามอนุพันธ์

S6A2T1 - ✓

S8A3B1 - ✓

S9A3B2 - ✓

S69A11B2 ✓ -

รวม 1 3

ร้อยละ(จากตัวอย่างที่ตรวจพบ) 25.00 75.00

ร้อยละ(จากทั้งหมด) 0.5 1.5

ตัวอย่างที่ตรวจพบสารสเตียรอยด์อนุพันธ์ของสารสเตียรอยด์

เพรดนิโซโลน เด็กซ่าเมทธาโซน

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

27 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

แผงลอยในตลาดทั้งหมด ส่วนยาที่ได้จากร้านขายยา

แผนปัจจุบัน ร้านขายยาแผนโบราณ ร้านขายของชำ

ร้านขายยาดอง และแหล่งจำหน่ายอื่นๆ พบว่า ตรวจไม่พบ

การปนปลอมสารดังกล่าว แสดงในตารางที่ 3

เมื่อนำยาแผนโบราณที่ผ่านการตรวจสอบการ

ปนปลอมสารสเตียรอยด์มาจำแนกตามรูปแบบต่างๆ

พบว่าในรูปแบบยาเม็ดจำนวน 14 ตัวอย่าง ตรวจพบ

การปนปลอมสารสเตียรอยด์จำนวน 1 ตัวอย่าง ซึ่งคิด

เป็นร้อยละ 7.14 และในรูปแบบยาลูกกลอนจำนวน 73

ตัวอย่าง ตรวจพบการปนปลอมสารสเตียรอยด์จำนวน

3 ตัวอย่าง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.11 ส่วนในรูปแบบยาน้ำ

ยาแคปซูล ยาผง และยาดอง ตรวจไม่พบการปนปลอม

สารดังกล่าว แสดงในตารางที่ 4

และเมื่อนำยาแผนโบราณที่ผ่านการตรวจสอบ

การปนปลอมสารสเตียรอยด์มาจำแนกตามสรรพคุณ

พบว่า กลุ่มยาที่มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อยและแก้อักเสบ

เป็นกลุ่มที่พบการปนปลอมสารสเตียรอยด์ โดยกลุ่ม

ยาแก้ปวดเมื่อยตรวจพบการปนปลอมสารสเตียรอยด์

จำนวน 2 ตัวอย่าง จากจำนวนยาแก้ปวดเมื่อยทั้งหมด

35 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.71 และกลุ่มยาแก้อักเสบ

ตรวจพบสเตียรอยด์จำนวน 2 ตัวอย่าง จากจำนวนยาแก้

อักเสบทั้งหมด 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 66.67 แสดง

ในตารางที่ 5

ตารางที่ 3 ผลการตรวจสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ โดยจำแนกตามแหล่งที่จำหน่าย

แหล่งที่จำหน่ายของ จำนวนแหล่งที่จำหน่าย จำนวนแหล่งจำหน่ายที่ตรวจพบ ร้อยละ

ยาแผนโบราณ สารสเตียรอยด์

ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 15 0 0.00

ร้านขายยาแผนโบราณ 4 0 0.00

ร้านขายของชำ 4 0 0.00

ร้านแผงลอยในตลาด 17 3 17.65

ร้านขายยาดอง 11 0 0.00

แหล่งที่จำหน่ายอื่นๆ 3 0 0.00

รวม 54 3 5.56

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

28

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

ตารางที่ 4 แสดงผลการตรวจสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ โดยจำแนกตามรูปแบบของยา

รูปแบบของยาแผนโบราณ จำนวนตัวอย่างที่สุ่มตรวจ จำนวนตัวอย่าง ร้อยละ

ที่ตรวจพบสารสเตียรอยด์

ยาน้ำ 16 0 0.00

ยาเม็ด 14 1 7.14

ยาลูกกลอน 73 3 4.11

ยาแคปซูล 9 0 0.00

ยาผง 43 0 0.00

ยาดอง 45 0 0.00

รวม 200 4 2.00

ร้อยละ

(จากกลุ่มโรค)กลุ่มโรค

จำนวนตัวอย่าง

ที่สุ่มตรวจ

จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ

พบสารสเตียรอยด์

ร้อยละ

(จากทั้งหมด)

ระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ

- กลุ่มยาแก้ปวดเมื่อย 35 17.50 2 5.71

ระบบทางเดินอาหาร

- กลุ่มยาแก้ริดสีดวงทวารและยาระบาย 18 9.00 - 0.00

- กลุ่มยาแก้ท้องเสีย 3 1.50 - 0.00

ระบบทางเดินหายใจ

- กลุ่มยาแก้ไอ 4 2.00 - 0.00

- กลุ่มยาแก้หวัด 1 0.50 - 0.00

- กลุ่มยาแก้หอบ 2 1.00 - 0.00

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

- กลุ่มยาแก้โรคไต 2 1.00 - 0.00

ระบบสืบพันธุ์

- กลุ่มยาแก้โรคสตรี 19 9.50 - 0.00

ระบบไหลเวียนโลหิต

- กลุ่มยาบำรุงกำลังและบำรุงร่างกาย 68 34.00 - 0.00

- กลุ่มยาแก้โรคความดัน 1 0.50 - 0.00

ตารางที่ 5 แสดงผลการตรวจสอบเตียรอยด์ในยาแผนโบราณโดยจำแนกตามสรรพคุณ

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

29 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง จากการศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์

ทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำให้ทราบว่ามียาแผนโบราณ ในอำเภอ

หาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมาก ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา

ตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของยาลูกกลอน

เนื่องจากสามารถรับประทานได้ง่ายและเก็บไว้ได้เป็น

เวลานาน จากผลการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงในการใช้ยา

แผนโบราณ ที่มีการปนปลอมสารเพรดนิโซโลน และ

เด็กซ่าเมทธาโซน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลายังคง

มีอยู่ ซึ่งกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวดเมื่อย

และแก้อักเสบ ทั้งนี้เป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา

ทั้งสิ้น และพบว่าการซื้อยาแผนโบราณ จากแหล่งจำหน่าย

ที่ เป็นร้านแผงลอยในตลาด มีความเสี่ยงสูงสุดในการ

ตรวจพบสารดังกล่าว ข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถใช้

เป็นข้อมูลแก่ประชาชน ในการเฝ้าระวังการใช้ยาแผน

โบราณให้มากยิ่งขึ้น

ร้อยละ

(จากกลุ่มโรค)กลุ่มโรค

จำนวนตัวอย่าง

ที่สุ่มตรวจ

จำนวนตัวอย่างที่ตรวจ

พบสารสเตียรอยด์

ร้อยละ

(จากทั้งหมด)

ระบบต่อมไร้ท่อ

- กลุ่มโรคเบาหวาน 1 0.50 - 0.00

กลุ่มโรคอื่นๆ

- กลุ่มยาแก้ลม 25 12.50 - 0.00

- กลุ่มยาแก้อักเสบ 3 1.50 2 66.67

- กลุ่มยาแก้ปวดฟัน 2 1.00 - 0.00

- กลุ่มยาแก้โรคความดัน 1 0.50 - 0.00

- กลุ่มยาแก้ไข้ 14 7.00 - 0.00

- กลุ่มยาแก้โรคผิวหนัง 1 0.50 - 0.00

รวม 200 100 4 2.00

ตารางที่ 5 (ต่อ)

กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณภาควิชาเภสัชเวทและพฤกษศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่อำนวย

ความสะดวกในด้านสถานที่ เครื่องมือรวมถึงอุปกรณ์

ต่างๆที่ใช้ในการทำวิจัย และขอขอบคุณสถาบันวิจัยและ

พัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) ที่สนับสนุนทุนวิจัยเพื่อ

พัฒนาศักยภาพของอาจารย์รุ่นใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา

ภายใต้กรอบสุขภาวะของประชาชนในภาคใต้ และคณะ

การแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่สนับ

สนุนทุนอุดหนุนการทำวิจัย ประเภทโครงงานนักศึกษา

ประจำปี 2551

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

30

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ดวงทิพย์ อรัญดร และคณะ

เอกสารอ้างอิง[1] ศุภลักษณ์ พริ้งเพราะและคณะ. (2546). การปนปลอม

ยาแผนปัจจุบันในยาแผนโบราณ. การประชุม

วิชาการร่วมระหว่างหน่วยงานภายใต้กลุ่มภารกิจ

ด้ านสนับสนุนงานบริการสุขภาพ ครั้ งที่ 1 .

ศู น ย์ วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ ก า ร แ พ ท ย์ ข อ น แ ก่ น

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.

[2] จินดาพร ภูริพัฒนาวงษ์. (2538). การตรวจสอบ

เพรดนิโซโลนและเด็กซ์ซ่าเมทธาโซนในยาแผน

โบราณ. วารสารสงขลานครินทร์. 17(2), 187-193.

[3] บรรณาธิการ. (2549). อย.เตือนอย่าซื้อยาแผนโบราณ

ก ร ะ ดู ก เ สื อ . ข่ า ว ส ด . ฉ บั บ วั น พุ ธ ที่ 2 5

ตุลาคม 2549, 26.

[4] ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศิลปากร. (2548). ครบรอบ 20 ปี เภสัชศาสตร์

ศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2551 จาก

http://www.pharm.su.ac.th/Thai/Public_relations/

20year/Steroid.pdf

[5] วนิดา เนตรศิริ. (2549). อันตรายจากยาแผนโบราณที่

ไม่ได้ขึ้นทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2551

จาก www.fda.moph.go.th/prac/document/

factsheet/drug_boran.pdf

บทความวิจัย

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียว

ในอาหารกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii)

หับเส๊าะ หมัดเหม1 ธัญญา ดวงจินดา1,2* และ สุภฎา คีรีรัฐนิคม1,2

Habsoh Madhem1, Thanya Duangchinda1,2* and Suphada Kiriratnikom1,2

1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 931102 หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 93110* Corresponding author: โทรศัพท์/โทรสาร 074-693992 [email protected]

บทคัดย่อ ศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการแลกเนื้อ อัตรารอด และองค์ประกอบทางเคมีของกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหาร

5 สูตร ได้แก่อาหารที่ไม่มีส่วนผสมของสาหร่ายผมนาง (สูตรควบคุม) และอาหารทดลองที่มีส่วนผสมของสาหร่ายผมนาง

เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียวในปริมาณ 5, 10, 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้เวลา 8 สัปดาห์ พบว่าเมื่อสิ้นสุด

การทดลองกุ้งก้ามกรามชุดควบคุมและชุดที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนาง 5 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำหนักเฉลี่ยไม่แตกต่าง

กัน แต่มีค่าสูงกว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนาง 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ส่วนกุ้ง

ก้ามกรามที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนาง 10 เปอร์เซ็นต์มีแนวโน้มเป็นไปได้ทั้งสองทางกล่าวคือไม่มีความแตกต่าง

จากกุ้งชุดควบคุมและกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนางทุกสูตร ผลการทดลองในทำนองเดียวกันนี้ยังปรากฏในแง่

ของอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และ อัตราการแลกเนื้อของกุ้งมี ส่วนอัตรารอดของ

กุ้งก้ามกรามทุกชุดการทดลองอยู่ในช่วง 50 – 76 เปอร์เซ็นต์ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สำหรับองค์ประกอบทาง

เคมีของกุ้งก้ามกรามเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ปริมาณคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนของกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงด้วยอาหาร

ทดลองชุดควบคุมและอาหารที่ผสมสาหร่ายผมนาง 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ มีค่าไม่แตกต่างกัน ส่วนไขมันของกุ้งชุด

ควบคุมมีค่าสูงที่สุดแต่มีค่าใกล้เคียงกันกับกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนาง จากการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า

สามารถใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียวในอาหารกุ้งก้ามกรามได้ 0 – 15 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มี

ผลต่อการเจริญเติบโต อัตราการแลกเนื้อ อัตรารอด รวมทั้งองค์ประกอบทางเคมีของกุ้งก้ามกราม

คำสำคัญ: กุ้งก้ามกราม สาหร่ายผมนาง สารเหนียว อาหารสัตว์น้ำ

Use of Gracilaria fisheri as Carbohydrate Source and Binder in the Diet for Giant

Freshwater Prawn (Macrobrachium rosenbergii)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

32

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

Abstract The aim of this study was to determine about growth, food conversion ratio, survival and chemical composition

of the giant freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii) fed with 5 diets. These were the control diet that Gracilaria

fisheri (red algae) was not added and the diets that carbohydrate and binder were replaced by G. fisheri by 5, 10, 15 and 20

percent. The experimental period was 8 weeks. At the end of the experiment, there was no significant difference between

the average body weight of the giant freshwater prawn fed the control diet and the diet that 5 percent of G. fisheri was

added. However, these were higher than the prawn fed the diets that 15 and 20 percent of G. fisheri were added (p < 0.05).

In addition, there was no significant difference between the prawn fed the diet that 10 percent of G. fisheri was added,

and the prawn from other trails. The similar results were also happened in terms of specific growth rate, daily weight gain

and food conversion ratio. However there was 50 to 76 % survival rates were found in all trials without any differences

(P > 0.05). According to proximate analysis, it was found that carbohydrate and Protein of the prawn fed the control diet

and the diet that 5, 10 and 15 percent of G. fieheri was added were also not significantly difference. However, the lipid

concentration of the prawn without the additional of G. fieheri was highest, but adjacent to the lipid concentrations of the

prawn from other trials. In conclusions, 0-15 % of red algae (Gracilaria fisheri) could replace carbohydrate and binder in

the diet for giant freshwater prawn (Macrobrachium rosenbergii) without any impact on growth, food conversion ratio,

survival as well as chemical composition of the prawn.

Keywords: Giant Freshwater Prawn, Gracilaria fisheri, Binder, Aquaculture Feed

บทนำ (Introduction)

กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) เป็น

กุ้งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่อาศัยในน้ำกร่อยในช่วงเจริญพันธุ์

และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด ในธรรมชาติทาง

ภาคใต้พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี โดยเฉพาะใน

ทะเลสาบสงขลา นครศรีธรรมราช และพัทลุงมีชุกชุมมาก

[1] กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

เนื้อมีรสชาติดี ได้รับความนิยมในการบริโภคทั้งภายใน

ประเทศและเป็นสินค้าส่งออก ปัจจุบันพบว่าในแหล่งน้ำ

ธรรมชาติมีจำนวนลดลง เนื่องจากสาเหตุหลายประการ

เช่น การทำประมงมากเกินควร ปัญหาจากมลภาวะต่างๆ

ดังนั้น การเพาะเลี้ยง จึงเป็นทางออกของการแก้ปัญหา

และได้พัฒนาการขึ้นมาตามลำดับทำให้เป็นอาชีพหนึ่ง

ซึ่งทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการอย่างมาก โดยประเทศ

ไทยมีการเลี้ยงกันแพร่หลายในหลายจังหวัด โดยเฉพาะ

ในจังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี นครปฐม ฉะเชิงเทรา สงขลา

และพัทลุง

คาร์โบไฮเดรตในอาหารสัตว์น้ำทำหน้าที่สำคัญใน

การเป็นแหล่งพลังงานที่มีราคาถูกกว่าแหล่งพลังงานจาก

โปรตีนและไขมัน สารเหนียวหรือสารประสานอาหาร

(Binder) เป็นสารที่ช่วยทำให้อาหารสัตว์น้ำมีความคงทน

อยู่ ในน้ำได้นาน และทำให้น้ำตาลที่ ได้จากการย่อย

คาร์โบไฮเดรตเคลื่อนที่ในทางเดินอาหารช้าลง จึงทำให้

สัตว์น้ำมีอัตราการเจริญเติบโตดีขึ้น [2] การใช้สารเหนียว

จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำ

ที่กินอาหารช้า เช่น กุ้ง โดยสารเหนียวมีอยู่ในพืชทั่วไป

เช่น สาหร่าย กล้วย ข้าวสาลี และแป้งข้าวเจ้า และใน

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

33 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สาหร่ายหลายชนิด เช่น Ulva, Sargassum, Polycavernosa

และ Gracilaria มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้และพบว่า

สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารเหนียวในการผลิตอาหาร

สัตว์น้ำได้หลายชนิด [3,4,5,6]

ปัจจุบันผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบางส่วน

หันมาผลิตอาหารใช้เองกันมากขึ้น เพราะอาหารสัตว์น้ำ

มีราคาสูงขึ้นเนื่องจากราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต

เพิ่มขึ้น ดังนั้น การหาวัตถุดิบโดยเฉพาะสาหร่ายชนิดอื่น

ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นสารเหนียวที่ดีโดยยังทำให้

อาหารคงสภาพได้ดีในน้ำจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และที่

สำคัญควรมีราคาถูกและเป็นวัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น

เพื่อช่วยเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิตอาหาร สาหร่าย

ผมนางจึงเป็นวัตถุดิบอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีความเป็น

ไปได้ที่จะใช้เป็นทดแทนคาร์โบไฮเดรตและเป็นสารเหนียว

ในอาหารกุ้งได้ เพราะมีราคาถูกและหาได้ง่ายโดยเฉพาะ

ในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาและภาคใต้ตอนล่าง

วัสดุ อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ (Materials and Methods)

อาหารและการวางแผนการทดลอง

ใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely

randomized design, CRD) ประกอบด้วยอาหารทดลอง 5

สูตร แต่ละสูตรมีการทดลอง 3 ซ้ำ โดยอาหารชุดควบคุม

(สูตรที่1) ไม่ผสมสาหร่ายผมนาง อาหารสูตรที่ 2, 3, 4 และ

5 ใช้สาหร่ายผมนางทดแทนคาร์โบไฮเดรตที่ 5, 10, 15 และ

20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับสาหร่ายผมนางนำมา

จาก อ.สิงหนคร จ.สงขลา ล้างให้สะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง

เป็นเวลา 1 วัน นำไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส

เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นำมาบดและสับให้ละเอียด ร่อนด้วย

ตะแกรงเบอร์ 40 mesh (ขนาดตา 0.793 มิลลิเมตร) แล้ว

ใช้ทดแทนคาร์โบไฮเดรตซึ่งก็คือแป้งสาลี (ตารางที่ 1)

หลังจากชั่งวัตถุดิบทั้งหมดตามสัดส่วน นำมาผสมให้เป็น

เนื้อเดียวกันด้วยเครื่องผสมอาหาร หลังจากนั้นนำไปเข้า

เครื่องอัดเม็ดและอบที่อุณหภูมิ 60-80 องศาเซลเซียส

เป็นเวลา 6 ชั่วโมง บรรจุอาหารเม็ดที่ได้ในถุงพลาสติก

และเก็บในตู้ เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส เพื่อใช้

ตลอดการทดลอง และนำอาหารอีกส่วนมาตรวจสอบ

ปริมาณ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเถ้า [7]

สัตว์และวิธีการทดลอง

นำกุ้งก้ามกรามวัยอ่อนจากศูนย์วิจัยและพัฒนา

ประมงน้ำจืดตรังมาปรับสภาพเป็นระยะเวลา 2 เดือน

สูตรที่ 1 สูตรที่ 2 สูตรที่ 3 สูตรที่ 4 สูตรที่ 5

ปลาป่น 455 455 455 455 455

หัวกุ้งป่น 100 100 100 100 100

กากถั่วเหลือง 100 100 100 100 100

แป้งสาลี 200 150 100 50 0

สาหร่ายผมนาง 0 50 100 150 200

รำละเอียด 100 100 100 100 100

แร่ธาตุรวม 20 20 20 20 20

น้ำมันพืช 25 25 25 25 25

ตารางที่ 1 ส่วนผสมชนิดต่างๆ และปริมาณที่ใช้ในการผลิตอาหารทดลองเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

ส่วนประกอบปริมาณ (กรัม/กิโลกรัม)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

34

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

จนเป็นกุ้งระยะวัยรุ่น สุ่มกุ้งที่สมบูรณ์มาชั่งน้ำหนัก และ

เลี้ยงในตู้ทดลองขนาด 40×60×40 ซม จำนวน 15 ตู้

โดยใช้กุ้งก้ามกรามตู้ละ 10 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารทดลอง

เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยให้อาหารปริมาณ 5

เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน วันละ 4 ครั้ง เวลา

08.00 12.00 16.00 และ 20.00 น. ชั่งน้ำหนักรวมของ

อาหารกุ้งก้ามกรามที่ใช้ไปแต่ละตู้ทุก 2 สัปดาห์ และ

เปลี่ยนถ่ายน้ำในตู้ทุกสัปดาห์

การเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ทางเคมี

ชั่งน้ำหนักกุ้งก้ามกรามทุก 2 สัปดาห์ (งดให้อาหาร

1 มื้อในวันที่ชั่งน้ำหนัก) นับจำนวนกุ้งที่เหลืออยู่แล้วนำ

ข้อมูลมาคำนวณ เปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น (Percent-

age Weight Gain: PWG), อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ

(Specific Growth Rate: SGR), อัตราการเจริญเติบโต

ต่อวัน (Daily Weight Gain: DWG), อัตราการแลกเนื้อ

(Food Conversion Ratio, FCR) และ อัตรารอด โดย

ใช้สมการดังนี้

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

35 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

หลังสิ้นสุดการทดลอง สุ่มตัวอย่างกุ้งก้ามกราม

จากแต่ละตู้ทดลอง ตู้ละประมาณ 3 กรัม (น้ำหนักเปียก)

เพื่อนำไปวิเคราะห์หาความชื้น ตัวอย่างกุ้งที่เหลือนำไปบด

ให้ละเอียด อบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เพื่อวิเคราะห์

หาองค์ประกอบทางเคมี (Proximate analysis) ได้แก่

โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเถ้า

การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

วิ เ ค ร า ะ ห์ ข้ อ มู ล โ ด ย ใ ช้ ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ค ว า ม

แปรปรวนโดย One-way ANOVA และทดสอบความ

แตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยด้วย Duncan’s New multiple

range test (DMRT) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

(Version 11.5)

ผลการวิจัยและอภิปรายผล(Results and Discussion)

จากการทดลองเพื่อศึกษาการใช้สาหร่ายผมนาง

เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียวที่ระดับต่างๆ

สำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยเปรียบเทียบอัตราการรอด

อัตราการเจริญเติบโต อัตราการแลกเนื้อ และองค์ประกอบ

ทางเคมีของกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารผสมสาหร่าย

ผมนางต่างกัน 5 ระดับ ได้แก่อาหารชุดควบคุม (ไม่ผสม

สาหร่ายผมนาง) และอาหารที่ผสมสาหร่ายผมนาง 5, 10,

15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เป็นระยะเวลา 8

สัปดาห์พบว่า องค์ประกอบทางเคมีของอาหารทดลอง

อาหารทดลองทั้ง 5 สูตรมีปริมาณโปรตีนประมาณ 34 –

37 % ไขมัน 15 – 22 % เถ้า 18 – 20 % และคาร์โบไฮเดรต

ประมาณ 22 – 30 % โดยมีความชื้นใกล้เคียงกันคือ 6-7 %

ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 2

น้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวของกุ้งก้ามกราม

กุ้งก้ามกรามมีน้ำหนักเริ่มต้น 0.37 – 0.44 กรัม เมื่อ

สิ้นสุดการทดลองพบว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารชุดควบคุม

(สูตรที่ 1) และอาหารผสมสาหร่ายผมนาง 5 เปอร์เซ็นต์

(สูตรที่ 2) มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อตัวไม่แตกต่าง แต่มีค่าแตกต่าง

จากกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนาง 15 (สูตรที่ 4)

และ 20 เปอร์เซ็นต์ (สูตรที่ 5) (P < 0.05) ส่วนกุ้งก้ามกราม

ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมสาหร่ายผมนาง 10 เปอร์เซ็นต์

(สูตรที่ 3) พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับกุ้งที่เลี้ยง

ด้วยอาหารสูตรที่ 1, 4 และ 5 (P > 0.05) (ตารางที่ 3) น้ำหนัก

เฉลี่ยของกุ้งที่น้อยลงเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมสาหร่าย

ผมนาง 15 และ 20 เปอร์เซ็นต์นี้อาจจะเกิดจากอาหารคงตัว

อยู่ในน้ำได้ไม่นานทำให้กุ้งไม่ได้กินอาหารซึ่ง Briggs and

Funge-Smith [8] พบว่าการผสมสาหร่ายผมนางเกินกว่า

15 เปอร์เซ็นต์ทำให้อาหารคงตัวในน้ำได้น้อยลง

ตารางที่ 2 องค์ประกอบทางเคมีของอาหารทดลองที่ใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียว

สูตรที่ 1 7.18±0.0 33.90±0.8 16.60±0.4 18.71±0.1 30.79±1.1

สูตรที่ 2 6.03±0.1 37.83±2.0 18.82±1.6 19.06±0.1 24.29±0.8

สูตรที่ 3 5.51±0.0 36.63±1.8 16.38±2.1 19.65±0.1 27.34±3.8

สูตรที่ 4 5.05±0.0 35.11±0.3 15.53±2.0 19.55±0.2 29.80±2.3

สูตรที่ 5 5.93±0.2 34.72±0.4 22.48±2.0 20.25±0.1 22.55±1.5

สูตรอาหารส่วนประกอบ (%)

ความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า คาร์โบไฮเดรต

หมายเหตุ ตัวเลขที่นำเสนอเป็นค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง 3 ซ้ำ)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

36

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

เปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ

และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน

เมื่ อสิ้นสุดการทดลองพบว่าน้ ำหนักของกุ้ ง

ก้ามกรามที่เพิ่มขึ้นเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารสูตรต่างๆ คิดเป็น

เปอร์เซ็นต์มีค่าระหว่าง 272.14 % - 537.57 % สำหรับ อัตรา

การเจริญเติบโตจำเพาะไม่มีความแตกต่างทางสถิติระหว่าง

กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม และด้วยอาหารสูตรที่ 2 และ

3 ซึ่งมีค่า 3.05 3.30 และ 3.04 % ต่อวัน ตามลำดับ โดย

พบว่า มีค่าใกล้เคียงกับการทดลองของ Peñaflorida and

Golez [6] ซึ่งทดลองใช้สาหร่ายผมนางและสาหร่าย

ฟิลิปปินส์ (Kappaphycus alvarezii) เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ส่วน

กุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 4 และ 5 มีอัตราการเจริญ

เติบโตจำเพาะน้อยกว่า ส่วนอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน

พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราการเจริญเติบโต

จำเพาะ (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 4)

อัตราการแลกเนื้อ

อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ของกุ้งก้ามกรามมีค่า

สูงขึ้น เมื่อกุ้งได้รับอาหารที่ผสมสาหร่ายผมนางในปริมาณ

ตารางที่ 3 น้ำหนักเฉลี่ยต่อตัว (กรัม) ของกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารทดลองที่ใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต

และสารเหนียวในอาหารแต่ละสูตรตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์

สูตรที่ 1 0.43±0.03ns 0.76±0.08bc 1.29±0.07b 1.80±0.16bc 2.40±0.31bc

สูตรที่ 2 0.44±0.03ns 0.77±0.07c 1.65±0.19c 2.12±0.24c 2.81±0.35c

สูตรที่ 3 0.39±0.05ns 0.68±0.03abc 1.16±0.11ab 1.52±0.28abc 2.15±0.18ab

สูตรที่ 4 0.37±0.03ns 0.60±0.0a 0.89±0.05a 1.17±0.14a 1.71±0.18a

สูตรที่ 5 0.44±0.02ns 0.64±0.04ab 0.91±0.25a 1.28±0.39ab 1.66±0.22a

สูตรอาหารระยะเวลา (สัปดาห์)

0 2 4 6 8

หมายเหตุ 1) ตัวเลขที่นำเสนอเป็นค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง 3 ซ้ำ)

2) ค่าเฉลี่ยในสดมภ์ที่มีตัวอักษรเหมือนกันกำกับแสดงว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05)

3) ns = not - significant

มากขึ้นแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างกุ้งที่เลี้ยง

ด้วยอาหารชุดที่ 1, 2, 3 และ 4 ส่วนกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหาร

สูตรที่ 5 ไม่แตกต่างกับกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 3 และ 4

(P > 0.05) ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเมื่อผสมสาหร่ายในปริมาณ

ที่สูงขึ้นทำให้อาหารมีกากใยมากและทำให้ประสิทธิภาพ

การย่อยลดลงซึ่ง Cheng and Hardy [9] รายงานว่าปลา

เรนโบว์เทร้าต์มีอัตราการแลกเนื้อสูงขึ้น เมื่อได้รับอาหาร

ที่เสริมด้วยเมล็ดฝ้ายป่นมากขึ้นเนื่องจากประสิทธิภาพ

การย่อยที่น้อยลง

อัตรารอด

อัตราการรอดของกุ้งก้ามกรามตลอดระยะเวลา

8 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05)

โดยกุ้งมีอัตรารอด 96 – 100 % ในสองสัปดาห์แรก

หลังจากนั้นจึงลดลงมาอยู่ระหว่าง 66 – 90 % ในสัปดาห์

ที่ 4, และลดลงมาอยู่ในช่วง 60 – 80 % ในสัปดาห์ที่ 6 และ

เมื่อสิ้นสุดการทดลองกุ้งก้ามกรามมีอัตรารอดอยู่ในช่วง

56 – 76 %

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

37 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สูตรที่ 1 451.0±54.2bc 3.1±0.2bc 35.0±5.2bc 3.5±0.2a

สูตรที่ 2 537.6±84.3c 3.3±0.2c 42.2±6.2c 3.5±0.6a

สูตรที่ 3 451.3±63.8bc 3.0±0.2bc 31.3±3.0ab 4.6±0.5ab

สูตรที่ 4 357.9±18.0ab 2.7±0.1ab 23.8±2.7a 5.3±0.7ab

สูตรที่ 5 272.1±35.7a 2.3±0.2a 21.7±3.7a 6.5±2.4b

สูตรอาหาร

หมายเหตุ 1) ตัวเลขที่นำเสนอเป็นค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง 3 ซ้ำ)

2) ค่าเฉลี่ยในสดมภ์ที่มีตัวอักษรเหมือนกันกำกับแสดงว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05)

ตารางที่ 4 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตราการแลกเนื้อ

ของกุ้งก้ามกรามตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

(%)

อัตราการเจริญเติบโต

จำเพาะ (% ต่อวัน)

อัตราการเจริญเติบโต

(มิลลิกรัมต่อวัน)อัตราการแลกเนื้อ

รูปที่ 1 อัตรารอดของกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารทดลองที่ใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียว

ตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

38

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

องค์ประกอบทางเคมี ของเนื้อกุ้งก้ามกราม

เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าปริมาณคาร์โบไฮเดรต

โปรตีน และเถ้าของเนื้อกุ้งก้ามกรามชุดควบคุม และชุด

ที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 2, 3 และ 4 ไม่มีความแตกต่าง

กันทางสถิติ แต่อาหารสูตรที่ 5 ทำให้โปรตีนของกุ้งมีค่า

น้อยกว่ากุ้งที่ได้รับอาหารที่ไม่มีส่วนผสมของสาหร่าย

ผมนาง แต่พบว่ากุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสม

สาหร่ายผมนางมีปริมาณไขมันน้อยกว่ากุ้งที่ เลี้ยงด้วย

อาหารควบคุม (ตารางที่ 5)

สรุปผลการวิจัย (Conclusions) การใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต

และสารเหนียวในอาหารทดลองสำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกราม

โดยใช้สาหร่ายผมนางทดแทนแป้งสาลีที่ระดับ 0, 5, 10,

ตารางที่ 5 องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อกุ้งก้ามกรามหลังจากเลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่ใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่ง

คาร์โบไฮเดรตและสารเหนียว เป็นเวลา 8 สัปดาห์

15 และ 20 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผลการ

ทดลองครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า การผลิตอาหารสำหรับ

เลี้ยงกุ้งก้ามกรามสามารถใช้สาหร่ายผมนางเป็นแหล่ง

คาร์โบไฮเดรตและสารเหนียวได้ 0-15 เปอร์เซ็นต์ โดย

ไม่มีความแตกต่างทางสถิติด้าน น้ำหนักเฉลี่ยต่อตัว

น้ำหนักที่ เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน อัตรา

การแลกเนื้อ อัตรารอดของกุ้งก้ามกราม และปริมาณ

โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเถ้า ของกุ้งก้ามกราม อย่างไร

ก็ตามปริมาณไขมันของกุ้งก้ามกรามที่ได้รับอาหารผสม

สาหร่ายผมนางมีค่าลดลงเล็กน้อยแต่มีค่าใกล้เคียงกัน

แสดงว่าสามารถใช้สาหร่ายผมนางทดแทนในอาหาร

สำหรับเลี้ยงกุ้งก้ามกรามได้ โดยไม่ทำให้คุณค่าทาง

โภชนาการของกุ้งก้ามกรามลดลง

สูตรอาหารส่วนประกอบ (%)

ความชื้น โปรตีน ไขมัน เถ้า คาร์โบไฮเดรต

สูตรที่ 1 76.2±0.4b 68.8±0.9b 0.5±0.1c 15.0±1.1a 15.8±0.9ns

สูตรที่ 2 75.0±0.6a 65.4±3.6ab 0.4±0.0b 18.9±1.9ab 15.3±4.8ns

สูตรที่ 3 78.1±0.3c 65.0±4.1ab 0.3±0.0a 18.9±3.4ab 15.8±6.8ns

สูตรที่ 4 78.4±0.2c 66.4±1.8ab 0.4±0.0b 15.6±1.1a 17.6±2.6ns

สูตรที่ 5 74.9±0.5a 60.8±2.8a 0.4±0.0b 21.7±1.1b 17.1±3.2ns

หมายเหตุ 1) ตัวเลขที่นำเสนอเป็นค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง 3 ซ้ำ) และอยู่บนพื้นฐาน

น้ำหนักแห้ง

2) ค่าเฉลี่ยในสดมภ์ที่มีตัวอักษรเหมือนกันกำกับ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น

95 เปอร์เซ็นต์ (P>0.05)

3) ns = non – significant

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria Fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตหับเส๊าะ หมัดเหม และคณะ

39 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เอกสารอ้างอิง (References)[1] บรรจง เทียนส่งรัศมี . (2535). หลักการเลี้ยงกุ้ง

ก้ามกราม. กรุงเทพฯ:ที.พี.พริ้นท์ จำกัด

[2] วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย. (2536). อาหารปลา. กรุงเทพฯ:

โอเดียนสโตร์

[3] Capinpin, Jr.E. and Corre, K.G. (1996). Growth

rate of the Philippine abalone, Haliotis asinine

fed artificial diet and macroalgae. Aquaculture.

144, 81-89

[4] Hashim, R. and Mat Saat, N.A. (1992). The

ut i l izat ion of seaweed meals as binding

agents in pe l le ted feeds for snakehead

(Channa striatus) fry and their effects on

growth. Aquaculture.108, 299-308

[5] Peñaflorida, V.Dy and Golez, N.V. (1996). Use of

seaweed meals from Kappaphycus alvarezii

and Gracilaria heteroclada as binders in diets

fo r juveni le shr imp Penaeus monodon .

Aquaculture.143, 393-401

[6] Valente, L.M.P., Gouveia, A., Rema, P., Matos,

J . , Gomes, E.F. and Pinto , I .S . (2006) .

Evaluation of three seaweeds Gracilaria bursa-

pastoris, Ulva rigida and Gracilaria cornea

as dietary ingradients in European sea bass

( D i c e n t r a c h u s l a b r a x ) j u v e n i l e s .

Aquaculture.252, 85-91

[7] A.O.A.C. (2002). Official methods of analysis.

T h e a s s o c i a t i o n o f o f f i c i a l a n a l y t i c a l

chemistries. Inc. Washington, D.C.

[8] Briggs M.R.P. and Funge-Smith S.J. (1996).

The potential use of Gracilaria spp. meal

for diets for juvenile Penaeus monodon

Fabricius. Aquaculture Research.27, 345-354.

[9] Cheng, Z.J. and Hardy, R.W. (2002). Apparent

digestibil i ty coefficients and nutri t ional

value of cottonseed meal for rainbow trout

(Oncorhynchus mykiss). Aquaculture.212,

361-372

บทความวิจัย

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง

Farming of Red Palm Weevil, Rhynchophorus ferrugineus Olivier,

in Songkhla and Phatthalung Provinces

สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ1 และสมชาย เลี้ยงพรพรรณ 2

Supanee Liengpornpan1 and Somchai Liengpornpan2

คำสำคัญ : ด้วงงวงมะพร้าว Rhynchophorus ferrugineus Olivier การเลี้ยง จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง

1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Assistant Professor, Department of Biology, Faculty of Sciences, Thaksin University2 อาจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ Lecturer, Department of Geography, Faculty of Humanities and Social Sciences, Thaksin University

บทคัดย่อ ด้วงงวงมะพร้าว (Rhynchophorus ferrugineus Olivier) เป็นแมลงศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่พบในต้นมะพร้าว ต้นลาน

และต้นสาคู ในอดีตเกษตรกรกำจัดด้วงโดยนำมาเป็นอาหาร ปัจจุบันสามารถเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในเชิงการค้าได้ การ

ศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง ในเดือนตุลาคม

พ.ศ. 2550-เมษายน พ.ศ. 2551 พบว่ามีแหล่งเลี้ยงในจังหวัดสงขลา 31 แหล่ง อยู่ใน 4 อำเภอ และในจังหวัดพัทลุงมี

20 แหล่งใน 3 อำเภอ ในจังหวัดสงขลาเลี้ยงในโรงเลี้ยงที่ส่วนใหญ่มีขนาด 50-59 ตารางเมตร มุงหลังคาและกั้นฝาด้วย

ตาข่ายพรางแสง ใช้ท่อนไม้ลานเป็นวัสดุเลี้ยง 100-350 ท่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 36-55 เซนติเมตร ยาว 41-50 เซนติเมตร

เลี้ยงได้นาน 6-8 เดือน ในจังหวัดพัทลุงส่วนใหญ่จะวางวัสดุเลี้ยงในที่โล่งขนาดน้อยกว่า 50 ตารางเมตร ใช้ท่อนสาคูเป็น

วัสดุเลี้ยงใช้ได้นาน 2-3 เดือน มีจำนวนน้อยกว่า 50 ท่อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 36-45 เซนติเมตร ความยาวท่อน

46-60 เซนติเมตร หนอนด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงราคากิโลกรัมละ 170 บาทและ 200 บาท

ตามลำดับ อย่างไรก็ตามทั้งสองจังหวัดประสบภาวะขาดแคลนท่อนไม้ที่ใช้เป็นวัสดุเลี้ยงด้วงเหมือนกัน

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงสุปาณี เลี้ยงพรพรรณ และคณะ

41 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

คำนำ ปัจจุบันแมลงเป็นอาหารที่ผู้บริโภคนิยม เนื่องจาก

มีโปรตีนค่อนข้างสูง [1,2,3] การบริโภคแมลงนอกจาก

จะได้รับโปรตีนแล้ว ยังช่วยลดการใช้สารเคมีปราบ

ศัตรูพืชได้ด้วย และยังเป็นการส่งเสริมการเลี้ยงแมลงเป็น

อาชีพ [4] แมลงที่เป็นที่ต้องการของตลาดคือ ด้วงงวง

มะพร้าว

ในประเทศไทยสามารถพบด้วงงวงมะพร้าวได้ใน

บริเวณที่มีต้นมะพร้าว ต้นลาน ต้นตาล หรือต้นสาคู โดย

ตัวเต็มวัยมักวางไข่ตามรอยแผลที่เกิดขึ้นบนลำต้น หรือ

จากรอยเจาะที่ เกิดจากด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes

rhinoceros Linn.) หรืออาจจะอาศัยและกินต้นที่ล้มตาย

แล้ว [5,6,7] ดังนั้นการนำหนอนด้วงงวงมะพร้าวมาบริโภค

นับเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนไทย โดยใช้

ประโยชน์ทดแทนจากสิ่งที่ต้องทำลาย และปัญหาจาก

ด้วงงวงมะพร้าวพบได้ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย

สาธารณรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ซาอุดีอาระเบีย โอมาน อียิปต์

จอร์แดน อิสราเอล เป็นต้น ในต่างประเทศวิธีการกำจัด

แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ค่อนข้างยุ่งยาก เช่น การสังเคราะห์

ฟีโรโมนเลียนแบบชนิดที่มีอยู่ในด้วงตัวผู้ เพื่อใช้ล่อให้

ด้วงตัวเมียมารวมกลุ่มกัน เพื่อง่ายในการกำจัด [8]

นอกจากนี้ยังได้ศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์ที่ด้วงสร้างขึ้น

เพื่อนำไปสังเคราะห์สารเพื่อใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของ

ตัวด้วงเอง [9] ซึ่งการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันการระบาด

ของด้วงชนิดนี้ต้องใช้ในความเข้มข้นและในช่วงเวลาที่

เหมาะสม [10] อีกทั้งต้องใช้ทั้งในและรอบ ๆ บริเวณ

ที่ด้วงงวงมะพร้าวเข้าทำลาย [11] นอกจากนี้การขนส่งพืช

เหล่านี้ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวแพร่กระจายไปได้ทั่วโลก [7]

นักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลจึงคิดประดิษฐ์เครื่องมือ

สำหรับทดสอบการเข้าอาศัยอยู่ภายในต้นพืช โดยการ

ตรวจหาคลื่นเสียงที่ตัวหนอนสร้างขึ้นมา ก่อนที่จะ

เคลื่อนย้ายต้นอ่อนต้นนั้น [12] ซึ่งช่วยชะลอการระบาด

ของด้วงงวงมะพร้าว และอยู่ในวงจำกัดได้ อย่างไรก็ตาม

การกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่กล่าวมาล้วนเกิดต้นทุน และ

ยุ่งยากในการปฏิบัติ ขณะที่การกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่

ภาคใต้ของประเทศไทยกลับเป็นลักษณะที่สร้างมูลค่า

ทางเศรษฐกิจด้วยการนำมาบริโภคโดยตรง

Abstract Red palm weevil, Rhynchophorus ferrugineus Olivier, is a pest of coconut, Gebang and Sago. In the past

agriculturists destroyed this pest by cooking as food. At present, they can cultivate red palm weevil in commercial.

This study aims to investigate the farming of red palm weevil in Songkhla and Phatthalung Provinces from October

2007 to April 2008. There were 31 farms in Songkhla province in 4 districts and 20 farms in Phatthalung province in

3 districts. The size of most red palm weevil breeding shed in Songkhla province was 50-59 m2. The tops and the lateral

sides of these sheds were made of shading nets. 100-350 Gebang blocks, each with 36-55 cm in diameter and 41-50 cm

long were used for food of weevil in 6-8 months. In Phatthalung province almost of farms were open space with less

than 50 m2 and Sago palm blocks were used for weevil food in 2-3 months. There were fewer than 50 Sago palm

blocks, each with 36-45 cm in diameter and 46-60 cm long. The prices of red palm worm in Songkhla province and

Phatthalung province were 170 baht and 200 baht per kilogram respectively. However, both provinces were facing the

shortage of food blocks.

Keywords : Red Palm weevil, Rhynchophorus ferrugineus Olivier, Farming, Songkhla Province, Phatthalung Province

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

42

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงสุปาณี เลี้ยงพรพรรณ และคณะ

การศึกษาการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในเชิงเศรษฐกิจ

บริเวณจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงในครั้งนี้ เพื่อ

สำรวจแหล่งเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว และศึกษาเปรียบเทียบ

วิธีการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว รวมทั้งเสนอแนะแนวทาง

การพัฒนาการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่ง

นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากยังไม่มี

รายงานการวิจัยชิ้นใดเลยที่ได้รวบรวมความรู้พื้นฐาน

เกี่ยวกับการเลี้ยงด้วงชนิดนี้ โดยที่แต่ละแหล่งก็มีวิธีการ

เลี้ยงที่แตกต่างกัน ผ่านการลองผิดลองถูกผสมผสานกับ

ภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น เช่น บางพื้นที่นิยมเลี้ยงด้วย

ต้นลานในขณะที่บางพื้นที่นิยมเลี้ยงด้วยต้นสาคู เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อที่จะพัฒนาการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวต่อไป จึงมี

ความจำเป็นและสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องรวบรวมองค์

ความรู้นี้ไว้อย่างเป็นระบบ ก่อนที่จะถูกลืมเลือนไป และ

ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้วางแผนเพื่อการ

พัฒนาการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว เพื่อจัดส่งเสริมให้เป็น

สัตว์เศรษฐกิจระดับประเทศในอนาคตต่อไป กล่าวโดย

สรุปได้ว่า ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้

สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาด้วงงวงมะพร้าวใน

ระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น ทั้งในด้านชีววิทยา พฤติกรรม

การปรับปรุงสายพันธุ์ การขยายพันธุ์ การแปรรูปอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนการคิดค้นหาสูตรอาหาร

ที่จะใช้เลี้ยง เพื่อทดแทนการเลี้ยงด้วยต้นลานหรือต้นสาคู

ที่นับวันจะหาได้ยากขึ้น

วิธีการศึกษา เดินทางไปสำรวจแหล่งเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวที่อยู่

ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง และเก็บข้อมูลตาม

แบบสำรวจแหล่งเลี้ยงด้วง และแบบสัมภาษณ์วิธีการ

เลี้ยงด้วงที่ได้สร้างขึ้น บันทึกพิกัดที่ตั้ง ภาพถ่าย และ

วิธีการเลี้ยงอย่างละเอียด นำข้อมูลพิกัดที่ตั้งเข้าสู่ระบบ

สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และทำแผนที่แสดงที่ตั้ ง

วิ เคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ โดยใช้พรรณนา

วิเคราะห์

ผลการวิจัยและอภิปรายผล แหล่งเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว

มีแหล่งเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลา

31 แหล่ง อยู่ในอำเภอสทิงพระ 22 แหล่ง อำเภอระโนด 6

แหล่ง อำเภอสิงหนคร 2 แหล่ง และอำเภอรัตภูมิ 1 แหล่ง

ในจังหวัดพัทลุงพบ 20 แหล่ง อยู่ในอำเภอควนขนุน

12 แหล่ง อำเภอเมือง 7 แหล่ง และอำเภอบางแก้ว 1 แหล่ง

ทั้งนี้ได้รวมแหล่งที่เลิกเลี้ยงแล้ว หรือหยุดเลี้ยงชั่วคราว

ไว้ด้วย เนื่องจากยังสามารถสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับการ

เลี้ยงด้วงชนิดนี้จากผู้เลี้ยงเหล่านี้ได้

ในจังหวัดสงขลามีจำนวนแหล่งเลี้ยงด้วงมากกว่า

ในจังหวัดพัทลุง และมีการกระจายในลักษณะเกาะ

กลุ่มกัน โดยเฉพาะในตำบลสนามชัยและตำบลกระดังงา

อำเภอสทิงพระ เนื่องจากมีพื้นที่ติดกัน จึงชักชวนหรือ

เลียนแบบกันได้ง่าย และพ่อค้าสามารถเดินทางมาซื้อได้

สะดวก โดยในจังหวัดสงขลาส่วนใหญ่เลี้ยงด้วงด้วย

ต้นลาน เนื่องจากพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระของจังหวัด

สงขลาติดต่อกับพื้นที่อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรี-

ธรรมราช ซึ่งมีต้นลานขึ้นกระจายอยู่มากกว่าในจังหวัด

พัทลุง นอกจากนี้ต้นลานยังมีความเหมาะสมในการนำ

มาเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในเชิงเศรษฐกิจมากกว่าต้นสาคู

เนื่องจากมีอายุการใช้งาน และให้ผลผลิตโดยรวมมากกว่า

แต่ในจังหวัดพัทลุงส่วนใหญ่เลี้ยงด้วยต้นสาคูมากกว่า

เนื่องจากพื้นที่ เป็นที่ราบลุ่มน้ำจืด และมีต้นสาคูขึ้น

กระจายอยู่มากกว่า ประกอบกับคนในจังหวัดพัทลุงนิยม

บริโภคหนอนด้วงที่ เลี้ยงด้วยต้นสาคูมากกว่าที่ เลี้ยง

ด้วยต้นลาน

ในจังหวัดสงขลา โรงเลี้ยงด้วงส่วนใหญ่มีพื้นที่

50-59 ตารางเมตร เป็นเสาไม้ หลังคาและฝากั้นทำด้วย

ตาข่ายพรางแสง พื้นเป็นดินหรือทราย ส่วนใหญ่เลี้ยง

ด้วยท่อนลาน 100-350 ท่อน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

36-55 เซนติเมตร ความยาวท่อน 41-50 เซนติเมตร

วางในแนวตั้ง ส่วนในจังหวัดพัทลุง โรงเลี้ยงด้วงส่วนใหญ่

ไม่มี เสา ไม่มีหลังคา ไม่มีฝากั้น มีพื้นที่น้อยกว่า 50

ตารางเมตร พื้นเป็นดินชื้นแฉะ ส่วนใหญ่เลี้ยงด้วยท่อน

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงสุปาณี เลี้ยงพรพรรณ และคณะ

43 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สาคูจำนวนน้อยกว่า 50 ท่อนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง

36-45 เซนติเมตร ความยาวท่อน 46-60 เซนติเมตร

วางในแนวตั้ง

วิธีเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว

ในจังหวัดสงขลาผู้เลี้ยงนำท่อนลานตั้งเรียงเป็น

แถวคู่ในโรงเลี้ยง ปิดทับด้านบนด้วยกาบมะพร้าวที่แช่

น้ำแล้ว 1 วัน ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไป 2-5 ตัวต่อท่อน

ปิดด้วยแผ่นปูนหรือแผ่นไม้บนกาบมะพร้าว รดด้วยน้ำบ่อ

หรือน้ำบาดาลวันละครั้งในเดือนแรก ต่อมารดน้ำ 3-4

วันครั้ง จนประมาณ 25-30 วันจึงเริ่มเก็บหนอนด้วงได้

และใส่ในภาชนะที่มีกาบมะพร้าว หรือใส่ถุงแช่ในตู้เย็น

ส่วนในจังหวัดพัทลุง ผู้ เลี้ยงนำท่อนสาคูตั้งเรียงเป็น

แถวคู่ในที่โล่ง ปิดทับด้านบนด้วยกาบมะพร้าวที่แช่น้ำ

แล้ว ปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไป 2-5 ตัวต่อท่อน ปิดด้วย

แผ่นปูน กาบหมาก ใบสาคู เปลือกท่อนอาหารเก่า หรือ

แผ่นไม้บนกาบมะพร้าว รดด้วยน้ำบ่อหรือน้ำบาดาลวันละ

ครั้งใน 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นรดน้ำ 4-5 วันครั้ง

จนระยะเวลาประมาณ 20-25 วันจึงเริ่มเก็บหนอนด้วงได้

และใส่ในภาชนะที่มีกาบมะพร้าว หรือใส่ถุงแช่ในตู้เย็น

(ภาพ 1, (1-12))

การเลี้ ยงด้วงงวงมะพร้ าวในจังหวัดสงขลา

ส่วนใหญ่ใช้ต้นลานเป็นวัสดุอาหารหลักในการเลี้ยง

ที่ ต้ อ ง ห า ซื้ อ จ า ก ใ น พื้ น ที่ แ ล ะ น อ ก พื้ น ที่ ผู้ เ ลี้ ย ง ไ ด้

พยายามหาความรู้ พัฒนาการเลี้ยงอย่างเป็นระบบและ

จริงจัง ผู้เลี้ยงแต่ละแหล่งต้องลงทุนสร้างโรงเลี้ยง และ

ซื้อพ่อแม่พันธุ์ในราคาตัวละ 1-5 บาท ผู้เลี้ยงในจังหวัด

พัทลุง ส่วนใหญ่ใช้ต้นสาคูที่หาได้จากพื้นที่ใกล้เคียง

แหล่งที่อยู่อาศัย และสามารถเลี้ยงด้วงในบริเวณนั้นได้เลย

การเลี้ยงด้วงใช้พื้นที่ไม่มาก และไม่มีการสร้างโรงเลี้ยง

ที่ชัดเจน และนิยมใช้พ่อแม่พันธุ์ที่ได้จากในธรรมชาติ

จะเห็นได้ว่าแหล่งเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลา

มีการพัฒนาวิธีการเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจมากกว่าในจังหวัด

พัทลุงซึ่งยังคงมีวิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิมปะปนอยู่บ้าง

จึงทำให้ปริมาณผลผลิตหนอนด้วงงวงมะพร้าวของ

จังหวัดสงขลาสูงกว่าของจังหวัดพัทลุง ด้วงงวงมะพร้าว

ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงราคากิโลกรัมละ

170 บาทและ 200 บาทตามลำดับ

สรุปผลการวิจัย จังหวัดสงขลาเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในเชิงการค้า

มากกว่าในจังหวัดพัทลุง เพราะมีการลงทุนสร้างโรงเลี้ยง

ซื้อพ่อแม่พันธุ์และวัสดุเลี้ยง แต่ทั้งสองจังหวัดประสบ

ปัญหาเหมือนกันคือ ขาดแคลนท่อนวัสดุอาหาร ดังนั้น

ผู้เลี้ยงควรปลูกต้นลานและต้นสาคูทดแทน

ภาพ 1 (1-3) ขั้นตอนการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว และการจำหน่ายในจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

44

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงสุปาณี เลี้ยงพรพรรณ และคณะ

ภาพ 1 (4-12) ขั้นตอนการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว และการจำหน่ายในจังหวัดสงขลา และจังหวัดพัทลุง

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุงสุปาณี เลี้ยงพรพรรณ และคณะ

45 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

คำขอบคุณ งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินรายได้

ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีงบประมาณ 2550 ผู้วิจัยจึง

ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้

เอกสารอ้างอิง[1] กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์. (2542). แมลง: อาหาร

มนุษย์ในอนาคต. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์

ทหารผ่านศึก.

[2] ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, สุภาพ ณ นคร, พินิจ หวังสมนึก,

ไพรัช ทาบสีแพร และญาดา พลแสน. (2544).

ความหลากหลายของแมลงที่ใช้เป็นอาหารในเขต

จังหวัดขอนแก่น. แก่นเกษตร. 29, 1-9.

[3] เยาวดี คุปตะพันธ์. (2545). แมลง: อาหารที่ให้คุณและ

โทษสำหรับมนุษย์. อาหาร. 32, 258-262.

[4] สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ. (2550). การบริโภคแมลงส่งผล

ต่อมนุษย์อย่างไร. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ.

10(2), 1-11.

[5] สิริวัฒน์ วงษ์ศิริ. (2526). แมลงศัตรูพืชทางการเกษตร

ข อ ง ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย . ก รุ ง เ ท พ ฯ : ส ำ นั ก พิ ม พ์

โอเดียนสโตร์

[6] อินทวัฒน์ บุรีคำ. (2537). บทปฏิบัติการกีฏวิทยาการ

เกษตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.

[7] Ferry M. and Gómez S. (2002). The red palm weevil in

the Mediteranean area. Palms. 46(4), 172-178

[8] Faleiro J.R., Rangnekar P.A. and Satarkar V.R.

(2003). Age and fecundity of female red palm

weevils Rhynchophorus ferrugineus (Olivier)

(Coleoptera: Curculionidae) captured by

pheromone traps in coconut plantations of

India. Crop Protection. 22, 999-1002.

[9] Alarcón F.J., Martínez T.F., Barranco P., Cabello

T., Díaz M. and Moyano F.J. (2002). Digestive

proteases during development of larvae of red

palm weevil, Rhynchophorus ferrugineus

(Olivier, 1790) (Coleoptera: Curculionidae).

I n s e c t B i o c h e m i s t r y a n d M o e c u l a r

Biology. 32, 265-274.

[10] Kaakeh W. (2006). Toxicity of imidacloprid to

developmental stages of Rhynchophorus

ferrugineus (Coleoptera: Curculionidae):

Laboratory and field tests. Crop Protection.

25, 432-439.

[11] Faleiro J.R., Kumar J.A. and Rangnekar P.A.

(2002). Spatial distribution of red palm weevil

Rhynchophorus ferrugineus Oliv. (Coleoptera:

Curculionidae) in coconut plantations. Crop

Protection. 21, 171-176.

[12] Pinhas J., Soroker V., Hetzroni A., Mizrach A.,

Teicher M. and Goldberger J. (2008). Automatic

acoustic detection of the red palm weevil.

Computers and Electronics in Agricuture.

63(2), 131-139.

บทความวิชาการ

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยม

Heron-type Formula for Triangle

สมใจ จิตพิทักษ์ 1 และ เสกสรรค์ ดำกระบี่ 2

1. บทนำ สำหรับรูปสามเหลี่ยม ABC ในระนาบ เรามีสูตรพื้นฐานในการคำนวณพื้นที่ คือ

(1)

โดยที่ “ฐาน” คือ ความยาวฐาน และ “สูง” คือ ความยาวส่วนสูง ถ้า a, b และ c เป็นความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยม

ABC แล้ว เฮรอนแห่งอเล็กซานเดรีย (Heron (หรือ Hero) of Alexandria ค.ศ. 10 – 70) ได้พบสูตรในการหาพื้นที่

ซึ่งรู้จักในชื่อ สูตรของเฮรอน (Heron’s formula) คือ

(2)

เมื่อ ซึ่งพิสูจน์ได้หลายวิธี

ถ้า ma, mb และ mc เป็นความยาวของเส้นมัธยฐาน (median) ของรูปสามเหลี่ยม นั่นคือ ความยาวของส่วนของ

เส้นตรงที่ลากจากจุดยอด A, B และ C ไปยังจุดกึ่งกลางของด้าน และ แล้ว จะได้สูตรแบบเฮรอน

(Heron-type formula) สำหรับพื้นที่รูปสามเหลี่ยม คือ

(3)

เมื่อ

ถ้า ha, hb และ hc เป็นความยาวของส่วนสูง (height) ของรูปสามเหลี่ยม นั่นคือ ความยาวของส่วนของเส้นตรง

ที่ลากจากจุดยอด A, B และ C ไปตั้งฉากกับ และ แล้ว จะได้สูตรส่วนกลับของพื้นที่ (reciprocal area

formula) แบบเฮรอน คือ

1 รองศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

47 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

(4)

โดยที่

การพิสูจน์ (3) และ (4) จะนำเสนอในตอนที่สามและตอนที่สี่ตามลำดับ

สูตรการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยมเมื่อทราบความยาวของเส้นแบ่งครึ่งมุมสูตรหนึ่ง คือ

(5)

เมื่อ lA, lB และ lC คือ ความยาวของเส้นแบ่งครึ่งมุม A, B และ C จากจุด A, B และ C ไปยังด้าน และ

การพิสูจน์ ดู [3]

2. พื้นฐานเบื้องต้น พื้นฐานความรู้สำหรับผู้อ่าน คือ เรขาคณิตยุคลิด (Euclid’s Elements) ทฤษฎีบทพีทาโกรัส และ

สูตรของเฮรอน

ในการศึกษาและการพิสูจน์ต่อไป เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะต้องกล่าวซ้ำซาก เราให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมใดๆ ที่มี

ความยาวด้านตรงข้ามมุม A, B และ C เป็น a, b และ c ให้ ma, mb และ mc และ เป็นความยาวของเส้นมัธยฐานที่ลาก

จากจุด A, B และ C ไปยังจุดกึ่งกลางด้าน และ (รูป 1(ก)) ให้ ha, hb และ hc เป็นความยาวของ

ส่วนสูงที่ลากจากจุด A, B และ C ไปตั้งฉากกับด้าน และ (รูป 1(ข))

รูป 1 (ก) รูป 1 (ข)

ให้ XY แทนความยาว (length) ส่วนของเส้นตรง (segment)

ทฤษฎีบท 2.1 (ทฤษฎีบทพีทาโกรัส: Pythagoras’ theorem) ผลรวมของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้าน

ประกอบมุมฉากของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากเท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉาก นั่นคือ

(2.1)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

48

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

เมื่อ a และ b คือความยาวของด้านประกอบมุมฉาก และ c คือความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก

การพิสูจน์ (โดยรูป)

(i)

(ii)

ทฤษฎีบท 2.2 (สูตรของเฮรอน: Heron’s formula) รูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเป็น a, b และ c จะมีพื้นที่

(2)

เมื่อ

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

49 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การพิสูจน์ (โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส)

ให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมใดๆในระนาบ ที่มีด้านตรงข้ามมุม A, B และ C มีความยาวเป็น a, b และ c

สมมติ b + c > a จะได้รูปสามเหลี่ยม ABC ดังรูป 3 (ก)

รูป 3 (ก) รูป 3 (ข)

จากมุม A ลากเส้นตั้งฉากพบ ที่ D ให้ ยาว h หน่วย และ ยาว x หน่วย ดังนั้น

ยาว a - x หน่วย ดังรูป 3(ข)

พิจารณารูป 3(ข) รูปสามเหลี่ยม ABD มีมุมฉากที่ D โดยทฤษฎีบทพีทาโกรัสจะได้

(2.2)

รูปสามเหลี่ยม ACD มีมุมฉากที่ D โดยทฤษฎีบทพีทาโกรัส จะได้

(2.3)

จาก (2.2) และ (2.3) ได้

(2.4)

จาก (2.4) จะได้

หรือ

(2.5)

แทน (2.5) ใน (2.2) จะได้

(2.6)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

50

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

แต่

(2.7)

และ

(2.8)

เมื่อ แทน (2.7) และ (2.8) ใน (2.6) จะได้

ดังนั้น

จากสูตรพื้นฐานของการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม จะได้

นั่นคือจะได้

3. สูตรแบบเฮรอนในรูปของความยาวของเส้นมัธยฐาน ในตอนนี้เราจะพิสูจน์ (3) นั่นคือสูตรการหาพื้นที่ของ

รูปสามเหลี่ยมเมื่อทราบความยาวของเส้นมัธยฐาน แนวคิดหลักในส่วนนี้ได้จาก [1]

บทตั้ง 3.1 ให้ ma, mb และ mc เป็นความยาวของเส้นมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม ABC ที่มีด้านตรงข้ามมุม A, B และ C

ยาว a, b, และ c ตามลำดับ จะได้

และ

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

51 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

การพิสูจน์ พิจารณารูป 4 ให้ DN = d, ha = AN

รูป 4

จาก จะได้

(3.1)

และจาก จะได้

(3.2)

บวก (3.1) และ (3.2) เข้าด้วยกันจะได้ ดังนั้น

(3.3)

ในทำนองเดียวกัน จะได้

(3.4)

และ

(3.5)

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

52

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

ทฤษฎีบท 3.2 ให้ ma, mb และ mc เป็นความยาวของเส้นมัธยฐานของรูปสามเหลี่ยม ABC ที่มีด้านตรงข้ามมุม A, B

และ C ยาว a, b, และ c ตามลำดับ จะได้

(3)

เมื่อ

การพิสูจน์ จากการนิยาม จะได้

และ

พิจารณา

(3.6)

จะได้

(3.7)

แทน ma, mb และ mc จาก (3.3), (3.4) และ (3.5) ได้

(3.8)

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

53 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

และ

ดังนั้น

(3.9)

แทน (3.8)และ (3.9) ใน (3.7) ได้

เมื่อ ดังนั้น

เพราะฉะนั้นแทนค่า K จาก (3.6) ได้

4. สูตรแบบเฮรอนสำหรับส่วนกลับของพื้นที่รูปสามเหลี่ยม ในตอนที่สี่เราพิสูจน์ (4) นั่นคือสูตรแบบเฮรอน สำหรับ

ส่วนกลับของพื้นที่รูปสามเหลี่ยม แนวคิดหลักในส่วนนี้ได้จาก [2]

ทฤษฎีบท 4.1 ให้ ha, hb และ hc เป็นความยาวของส่วนสูงของรูปสามเหลี่ยม ABC ที่มีด้านตรงข้ามมุม A, B และ C

ยาว a, b, และ c ตามลำดับ จะได้

(4)

เมื่อ

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

54

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยมสมใจ จิตพิทักษ์ และคณะ

การพิสูจน์ จากสูตรพื้นฐานของการหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม นั่นคือ

(1)

จะได้

ดังนั้น

ให้ จะได้

เมื่อ ดังนั้น

โดยสูตรของเฮรอน จะได้

ดังนั้น

5. คำขอบคุณ ขอขอบคุณ คุณวิสิทธกร ชฎารัตน์ คุณอัจฉรา วิไลรักษ์ และคุณรัตติกานต์ เหล่ทองคำ ที่เป็นต้นเรื่องหา

บทความมานำเสนอในการสัมมนาคณิตศาสตร์ อันเป็นที่มาของบทความนี้ และพิเศษสำหรับคุณอัจฉรา วิไลรักษ์ ที่ช่วย

พิมพ์ต้นฉบับบทความให้ด้วยความรวดเร็ว เรียบร้อย และสวยงาม

6. บรรณานุกรม

[1] Benyi, A. [2003]. “A Heron – type formula for the triangle,” The Mathematical Gazette. 87: 324 – 326

[2] Mitchell, D.W.[2005] “A Heron – type formula for the reciprocal area of a triangle,” The Mathematical

Gazette. 89:494.

[3] Simons, Stuart. [2009]. “Some results concerning angle bisectors,” The Mathematical Gazette. 93: 115 – 116.

บทความวิชาการ

ข้อควรระวังในการใช้ Chi-square Test ในงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ 1*

1 คณะวิทยาการสุขภาพและการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110* Corresponding author : Email address: [email protected]

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ทางสถิติเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการสรุปผลงานวิจัยขั้นพื้นฐานในศาสตร์การวิจัยทางด้าน

วิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์แขนงอื่นๆ การวิเคราะห์ทางสถิติที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การสรุปผลที่น่า

เชื่อถือและการอ้างอิงสู่กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา ปัจจุบันในงานวิจัยต่างๆ พบว่ายังมีบางส่วนที่มีการใช้สถิติในการ

วิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งส่งผลต่อการนำเสนอผลและการอภิปรายผลในการวิจัยนั้น และเป็นการลดความน่าเชื่อถือของ

งานวิจัยชิ้นนั้นลงได้ การใช้ Chi-square test มักนิยมใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรชนิดแจงนับ และ

มักนิยมใช้ไม่ถูกต้อง ในบทความนี้เป็นการกล่าวถึงการใช้ Chi-square test ในการทดสอบ และการเลือกใช้ที่เหมาะสม

เพื่อนำไปสู่ความถูกต้องของการนำเสนอผลและการอภิปรายต่อไป

คำสำคัญ : การใช้สถิติ Chi-square

Notice of Using Chi-square Test in Health Science Researches

Abstract Well known that statistical analysis is very important to summarize the result of research in both health science

and others. The correct choice of statistical analysis leads to a correct conclusion and inference about the population

under study. At the present, it is found that there are some mistakes on statistical methods that lead to misinterpretation

and wrong conclusion. Chi-square test is often used to test the association between two categorical variables. Hence, the

appropriate statistical methods are performed for the accuracy of interpretation and conclusion.

Keywords: Statistics, Chi-square

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

56

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ข้อควรระวังในการใช้ Chi-spuare Testปุญญพัฒน์ ไชยเมล์

บทนำ ปัจจุบันได้มีนโยบายให้ทำงานวิจัยมากขึ้นในแต่

ละองค์กร รวมทั้งการแพทย์และสาธารณสุข การทดสอบ

ทางสถิติมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน บางครั้งอาจทำให้

ผู้วิจัยไม่สามารถทำงานหรือบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งเอา

ไว้ได้ การทดสอบความสัมพันธ์ที่ ใช้ในการทดสอบ

สามารถใช้ได้หลายชนิดขึ้นอยู่กับชนิดของตัวแปรตาม

(Dependent Variable) เป็นหลัก เช่นในกรณีที่ตัวแปรตาม

ที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นตัวแปรชนิดต่อเนื่อง (Continuous

variable) สถิติที่ ใช้ เรียกว่าการทดสอบสหสัมพันธ์

(Correlation) ในกรณีที่ตัวแปรตามเป็นประเภทแจงนับ

(Categorical Variable) ควรใช้ Chi-square Test ซึ่งเป็น

สถิติที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล อย่างไรก็ตามมัก

พบว่า ยังมีการใช้สถิติ Chi-square test ในการวิเคราะห์ที่

ไม่ถูกต้องหรือละเมิดข้อตกลงเบื้องต้น ในบทความนี้จะ

กล่าวถึงวิธีการทดสอบความสัมพันธ์โดยการใช้ Chi-

square test ในเบื้องต้น

การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-square test

เป็นการทดสอบโดยใช้สถิติไม่อ้างอิงพารามิเตอร์ (Non-

parametric Statistics) มีประโยชน์ 3 ประการด้วยกันคือ

1.) เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ (Test of association)

2.) การทดสอบความเหมาะสมของ Model ทางสถิติใน

การวิเคราะห์ (Test of goodness of fit) และ 3.) การ

ทดสอบความแตกต่างหรือความเป็นอิสระ (Test of

independence) ตัวแปรที่จะนำมาทดสอบนั้นต้องเป็น

ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบนามบัญญัติ (nominal scale)

คือ ตัวแปรกลุ่มชนิดไม่ต่อเนื่อง (discrete) การทดสอบ

Chi-square หลักการของการทดสอบมีว่า ผลรวมกำลัง

สองของค่าความแตกต่างระหว่างค่าสังเกต (Observed

value) กับค่าคาดหวัง (Expected value) หารด้วยค่า

คาดหวัง (Summation of (O-E)^2/E) ตามสูตรดังกล่าว

สามารถทำการทดสอบกับข้อมูลชนิดตารางสองทาง

(Contingency table หรือ 2 x 2 table) หรือตารางหลาย

ทาง (r x c table) โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นในการทดสอบ

เบื้องต้นดังนี้ ข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบเป็นข้อมูลที่ได้

จากการสุ่ม ข้อมูลจะถูกแจกแจงในกรณีต่างๆ ได้เพียง

กรณีเดียวทั้งแถวและสดมภ์ ต้องมีค่าคาดหวังมากกว่า

หรือเท่ากับ 5 ในกรณีที่ค่าคาดหวังน้อยกว่า 5 จะใช้ได้

เมื่อค่าคาดหวังมีค่ามากกว่า 1 และน้อยกว่า 5 แต่ไม่เกิน

ร้อยละ 20 ของ จำนวนแถวและสดมภ์ และในกรณีที่ค่า

คาดหวังเกินมากกว่า 1 และน้อยกว่า 5 มากกว่าร้อยละ 20

ให้ทำการรวมกลุ่มย่อยของตัวแปรที่มีลักษณะใกล้เคียง

เข้าด้วยกัน ซึ่งในบทความนี้ยกตัวอย่างการคำนวณค่า

คาดหวังจากตารางชนิดตารางสองทาง ดังนี้

ข้อควรระวังในการใช้ Chi-spuare Testปุญญพัฒน์ ไชยเมล์

57 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ถ้านำเอาตารางสองทาง ซึ่งมี 4 เซลล์ แต่ละเซลล์

แทนค่าสังเกต (Observed value) ที่ศึกษา แทนลงใน

ตารางด้วย a, b, c และ d ตามลำดับ ส่วนค่าคาดหวัง

(Expected value) โดยการคำนวณค่าคาดหวังจากการใช้

สูตร row total x column total/grand total ดังแสดงใน

ตัวอย่างที่ 1

การคำนวณค่าคาดหวังมีค่าเป็นเท่าไร และมีค่า

สังเกตใดที่ น้อยกว่า 5 หรือเท่ากับศูนย์ กี่ค่า คิดเป็นร้อยละ

เท่าใดของค่าคาดหวังทั้งหมด ในที่นี้ ค่าคาดหวังทั้งหมดมี

4 ค่า ถ้าค่าคาดหวังเพียงค่าใดค่าหนึ่งใน 4 ค่า มีค่าน้อยกว่า

5 หรือเท่ากับศูนย์ นั่นแสดงว่า มีค่าคาดหวัง ที่น้อยกว่า 5

หรือเท่ากับศูนย์ คิดเป็นร้อยละ 25 ของค่าคาดหวังทั้งหมด

ซึ่งเกินกว่าข้อกำหนดของการทดสอบข้างต้นว่าต้อง

ไม่เกินร้อยละ 20 เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่สามารถที่จะแปลผลที่

ได้จากการคำนวณ Chi-squared test ได้ จำเป็นต้องมีการ

ปรับค่าโดยการแก้ความต่อเนื่อง (Continuity correction)

ซึ่งใช้ในกรณีที่มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก และใน

กรณีที่มีค่าคาดหวังน้อยกว่า 5 ควรเลือกใช้การทดสอบ

Fisher's exact test แทนค่าจากการทดสอบ Chi-squared

Test ในกรณีที่เป็นตารางชนิดตารางหลายทาง (r x c table)

ให้ทำ ในกรณีของการยุบรวมตารางแล้ว ความหมายของ

ข้อมูลต้องไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก ถ้าเปลี่ยนไปจาก

ความหมายเดิมอาจทำให้ผิดวัตถุประสงค์และไม่เป็นไป

ตามเกณฑ์ของการใช้ Chi-squared test ดังกรณีตัวอย่าง

ที่ 2 จากการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่รอดชีพจาก

โรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศเนเธอแลนด์ จำนวน 291

คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 151 คน โดยทำการศึกษาความ

สัมพันธ์ของของการกระจายของโรคและการป่วยด้วยโรค

มะเร็งปากมดลูก ณ วันติดตาม

จากตัวอย่างที่ 2 ผลการศึกษาพบว่า การกระจาย

ของโรคมะเร็งปากมดลูก ณ วันติดตามมีความอิสระต่อกัน

ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มเปรียบเทียบ (p-value = 0.07)

อย่างไรก็ตาม การทดสอบด้วยสถิติ Chi-square test

ดังกล่าวอาจมีความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากไม่เป็นไปตาม

ข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้ Chi-square test สำหรับ

ตารางดังกล่าวมีเซลล์ที่มีค่าคาดหวังต่ำกว่า 5 อยู่จำนวน

2 เซลล์ คือ เซลล์ (1, 1) และเซลล์ (1, 2) ซึ่งมีค่าคาดหวัง

เป็น 3.9 และ 2.0 ตามลำดับ ซึ่งถ้าคิดร้อยละจำนวนเซลล์

ที่มีค่าคาดหวังต่ำกว่า 5 จากทั้งหมด 6 เซลล์ คิดเป็น

ร้อยละ 33 ซึ่งเกินร้อยละ 20 นั้น สำหรับตัวอย่างดังกล่าว

นี้ ไม่สามารถรวมตารางได้เนื่องจากทำให้ผิดความหมาย

ดังนั้นแนะนำให้ใช้การวิเคราะห์ด้วย Fisher’s exact test

แทน ซึ่งพบว่าให้ค่า p-value ใกล้เคียงกัน

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

58

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ข้อควรระวังในการใช้ Chi-spuare Testปุญญพัฒน์ ไชยเมล์

บทสรุป การศึกษาที่มีการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square

test จำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูลเสมอโดยสิ่งสำคัญ

ในการทดสอบสมมติฐานขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลจะต้อง

เก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างเสมอและข้อมูลที่เก็บมา

ได้ในแต่ละเซลล์ควรมีค่ามากกว่า 5 ถ้ามีค่าน้อยกว่า 5

ไม่ควรเกินร้อยละ 20 นั้น และที่สำคัญค่าคาดหวังในแต่ละ

เซลล์ไม่ควรน้อยกว่า 5 ถ้าหากละเมิดการใช้ข้อมูลดังกล่าว

ในการวิเคราะห์ ผลสรุปก็จะนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดพลาด ซึ่ง

ขอบเขตของตัวอย่างขึ้นอยู่กับขอบเขตการทำการวิจัย

ไม่ใช่การสรุปผลการทดสอบความสัมพันธ์ให้ได้ข้อสรุป

เพียงแค่ว่าปัจจัย ก ขึ้นอยู่กับอีกปัจจัย ข หรือไม่ หรือปัจจัย

ก มีความสัมพันธ์กับปัจจัย ข เพียงเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง[1] อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2547). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทาง

วิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์

คลังนานาวิทยา.

[2] Ida J. Korfage, et al. (2009). Health-related Quality

o f L i f e i n C e r v i c a l C a n c e r S u r v i v o r :

A Population Based Survey. I. J. Radiation

Oncology, Biology and Physics. 73(5). 1501-

1509.

[3] Wayne W. Daniel. (1995). Biostatistics a foundation

for analysis in the health sciences. USA:

Malloy Lithographing, Inc.

[4] Douglas G. Altman. (1991). Practical statistics for

medical research. Great Britain: T.J.Press

(Padstow) Ltd.

บทความวิชาการ

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

ทวีสิน นาวารัตน์ 1*

1 โปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา* Corresponding author: [email protected]

การค้นพบเบนซีนBenzene (C6H6)

เบนซีน เป็นสารประกอบแอโรมาติกตัวแรกที่ถูกค้นพบ แอโรมาติกมาจากคำว่าแอโรมา (Aroma) ในภาษากรีก

แปลว่ า กลิ่นหอม เพราะเบนซีนมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจึ ง เรียกสารประกอบนี้ ว่ าสารประกอบแอโรมาติก

ปัจจุบันนักเคมีรู้จักโมเลกุลนี้ เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามเบนซีนมีประวัติศาสตร์ที่ยาวไกลและน่าสนใจยิ่ง

โดยเฉพาะความพยายามในการอธิบายโครงสร้างของโมเลกุลนี้ นับจากครั้งแรกที่เบนซีนถูกค้นพบ ในปี ค.ศ. 1825

โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ Michael Faraday [1,2] เขาได้ทำการแยกสารประกอบบริสุทธิ์ชนิดหนึ่งจากแก๊ส

ที่ใช้จุดให้ความสว่างที่ได้จากไขของวาฬ พบว่าสารประกอบนี้มีจุดเดือด 80°C ซึ่งเมื่อนำไปวิเคราะห์หาธาตุที่เป็น

องค์ประกอบพบว่าประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและธาตุไฮโดรเจนในอัตราส่วน 1:1 ซึ่งมีสูตรอย่างง่ายคือ CH

เขาจึงตั้ งชื่อสารประกอบนี้ว่ า Carbureted hydrogen ต่อมาในปี ค.ศ. 1834 เก้ าปีหลังจากสารประกอบ

ชนิดนี้ถูกค้นพบ มีนักเคมีชาวเยอรมันชื่อ Eilhard Mitscherlich [3,4,5] ได้ทำการสังเคราะห์สารประกอบชนิด

เดียวกันนี้ขึ้นจากการให้ความร้อนกรดเบนโซอิกกับปูนขาว และพบว่าสูตรอย่างง่ายคือ CH เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ เขายังสามารถหามวลโมเลกุลของสารประกอบนี้ได้เท่ากับ 78 ดังนั้นสูตรโมเลกุลของสารประกอบ

ชนิดนี้ก็คือ C6H6 ขณะเดียวกันก็ยังสามารถแยกสารประกอบนี้ได้จากกำยาน (Gum benzoin) ดังนั้น Mitscherlich

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

60

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

จึงให้ชื่อสารประกอบนี้ว่า เบนซิน (Benzin) และส่งต้นฉบับเพื่อลงตีพิมพ์เรื่องที่ค้นพบนี้ในวารสาร Annalen der

Pharmacie แต่ชื่อเบนซินไม่ได้รับการยอมรับจากนักเคมีท่านอื่นมากนัก เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับชื่อของ

สารประกอบประเภทแอลคาลอยด์ ในส่วนของคำลงท้ าย เช่น ควินิน (Quin ine) อาจทำให้ เข้ า ใจผิดได้

Liebigs บรรณาธิการของวารสารเสนอให้ใช้ชื่อ เบนซอล (Benzol) แทน ซึ่งคำว่า -Öl มาจากภาษาเยอรมัน

หมายความว่า น้ำมัน อย่างไรก็ตามนักเคมีชาวฝรั่ ง เศสและอังกฤษเปลี่ยนมาใช้คำว่า เบนซีน (Benzene)

แทนเพื่ อ ไม่ ให้สับสนกับสารประกอบประเภทแอลกอฮอล์ที่ ลงท้ ายด้วย -o l และประกอบกับคำลงท้ าย

- e n e ใ ช้ ส ำ ห รั บ ส า ร ป ร ะ ก อ บ ที่ มี พั น ธ ะ คู่ ต่ อ ม า ใ น ปี ค . ศ . 1 8 3 7 มี นั ก เ ค มี ช า ว ฝ รั่ ง เ ศ ส อี ก ท่ า น ห นึ่ ง ชื่ อ

Auguste Laurent ได้เสนอชื่อของสารประกอบนี้ว่า pheno ซึ่งมาจากภาษากรีกคือ phainen แปลว่า ส่องสว่าง

โดยให้เหตุผลว่าสารประกอบดังกล่าวถูกค้นพบจากแก๊สที่ใช้จุดให้ความสว่าง ถึงแม้ชื่อนี้ไม่ เป็นที่ยอมรับกัน

มากนัก แต่ปัจจุบันก็ยังคงใช้ชื่อ phenyl ในการเรียกหมู่ C6H5- (เบนซีนที่มีไฮโดรเจนถูกแทนที่หนึ่งอะตอม)

ปัจจุบันเรารู้จักสารประกอบชนิดนี้กันในชื่อ เบนซีน

ถึงแม้นักเคมีจะรู้จักสารประกอบเบนซีนกันอย่างกว้างขวาง แต่อย่างไรก็ตามโครงสร้างโมเลกุลนี้ก็ยังคง

เป็นความลับอยู่จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1866 นักเคมีชาวเยอรมันชื่อ Friedrich August Kekulé [6,7] ได้เสนอ

โครงสร้างของเบนซีนว่ามี โครงสร้าง เป็นวงที่ประกอบด้วยพันธะเดี่ ยวสลับกับพันธะคู่ Kekulé กล่าวว่ า

โครงสร้างนี้ ได้จากความฝันครึ่งหลับครึ่งตื่นของเขา โดยเขาฝันว่าอะตอมจำนวนมากกำลังกระโดดโลดเต้น

ไปมาแล้วเริ่มจับกลุ่มเรียงตัวเป็นเส้นยาวเหมือนงู แต่มีงูตัวหนึ่งกำลังกินหางตัวเองทำให้เห็นเป็นวงกลม เมื่อเขา

ตกใจตื่นเขาจึงสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคาร์บอนหกอะตอมจับตัวกันในลักษณะวงแหวนของเบนซีนโดยมีพันธะคู่

สลับกับพันธะเดี่ยว

จากสมมติฐานของ Kekulé ทำให้ทำนายได้ว่าสาร 1,2-dichlorobenzene มีโครงสร้างแบบ 1 และ 2 ที่

แตกต่างกัน ดังภาพ

แต่จากการทดลองพบว่ามีเพียงโครงสร้างเดียว [8] ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าภาพโครงสร้างที่แสดงการเรโซแนนซ์ของ

เบนซีน (3) ของ Kekulé ได้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ

2

phenyl C6H5- ( )

. . 1866 Friedrich August Kekulé [6,7]

Kekulé

Kekulé 1,2-dichlorobenzene 1 2

ClCl

ClCl

1 2

[8] (3) Kekulé

3 Kekulé

Kekulé 1. (X-ray diffraction) -

2. 3. Heat of hydrogenation

1,3- 1,3,5- Kekulé

[9] [10,11] Jan Josef

Loschmidt Chemische Studien . . 1861 [12]

2

phenyl C6H5- ( )

. . 1866 Friedrich August Kekulé [6,7]

Kekulé

Kekulé 1,2-dichlorobenzene 1 2

ClCl

ClCl

1 2

[8] (3) Kekulé

3 Kekulé

Kekulé 1. (X-ray diffraction) -

2. 3. Heat of hydrogenation

1,3- 1,3,5- Kekulé

[9] [10,11] Jan Josef

Loschmidt Chemische Studien . . 1861 [12]

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

61 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

3

368

4 (5) (6) (7)

Loschmidt

4 5 6 7

[13]

(Benzene)

(Gasoline) (Gas) [14] (Petrol Pretoleum spirit)

(Bezin, Bensin)

( ) ( )

( ) 1 5

[15] [16]

(

)

ต่อมาได้มีการทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานของ Kekulé ด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่

1. การวัดค่าการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray diffraction) เพื่อหาความยาวพันธะระหว่างคาร์บอน-

คาร์บอนทั้งหมดของวง

2. การวัดค่ามุมระหว่างพันธะของคาร์บอนแต่ละอะตอม

3. เปรียบเทียบค่า Heat of hydrogenation โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างเบนซีนกับสารประกอบพวก

ไซโคลเฮกซีน ได้แก่ สารไซโคลเฮกซีน สาร1,3-ไซโคลเฮกซาไดอีน และ 1,3,5-ไซโคลเฮกซาไตรอีน

จากการทดลองทำให้เกิดข้อสรุปว่าโครงสร้างของเบนซีนเป็นไปตามสมมติฐานของ Kekulé

ความจริงอีกด้านหนึ่งที่ยังไม่ถูกกล่าวถึงกันมากนัก จากบทความเรื่องฝันที่ เป็นจริง [9] และข้อมูลจาก

เอกสารอ้างอิง [10,11] ทำให้สรุปได้ว่าแท้จริงแล้วผู้ที่เสนอสูตรโครงสร้างของเบนซีนเป็นคนแรกคือ Jan Josef

Loschmidt นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรีย ซึ่งได้ตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Chemische Studien ในปี ค.ศ. 1861 [12]

โดยเสนอสูตรเคมี 368 สูตร ที่มีทั้งโครงสร้างและองค์ประกอบ ในจำนวนสูตรโครงสร้างทั้งหมดที่ เขาเสนอ

มีสูตรของเบนซีนรวมอยู่ด้วย เขาแทนอะตอมด้วยวงกลม โดยให้วงกลมใหญ่แทนอะตอมของคาร์บอนและวงกลม

เล็กแทนอะตอมของไฮโดรเจน ดังแสดงในโครงสร้างที่ 4 นอกจากนี้เขายังได้เสนอโครงสร้างของสารประกอบ

แอโรมาติกตัวอื่นๆ อีกได้แก่ ฟีนอล (5) อะนิซอล (6) และ โทลูอีน (7) ถึงแม้ว่าโครงสร้างที่เขาเสนอไม่ได้แสดงให้เห็นว่า

พันธะคู่ในวงอยู่กันอย่างไรและไฮโดรเจนต่อกับคาร์บอนอย่างไร แต่ก็ต้องนับว่า Loschmidt เป็นคนแรกที่เสนอ

ว่าเบนซีนมีโครงสร้างเป็นวง

สมบัติของเบนซีน เบนซีน [13] เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง ใส ไม่มีสี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ละลายน้ำได้เล็กน้อย ระเหยและ

ติดไฟง่าย เกิดได้ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ และกระบวนการผลิตหรือการสังเคราะห์ เนื่องจากมีสมบัติ

เป็นตัวทำละลายที่ดีมากจึงมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมผลิตสี หมึกพิมพ์ สารเคมีกำจัดแมลง

และการผลิตสารเคมีอื่นๆ

เบนซีนกับน้ำมันเบนซิน เบนซีน (Benzene) ไม่ใช่ น้ำมันเบนซินเพียงแค่มีชื่อพ้องกันเท่านั้น น้ำมันเบนซินแท้จริงแล้วคือ แก๊สโซลีน

(Gasoline) หรือเรียกย่อๆว่า แก๊ส (Gas) [14] ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเรียกว่า แก๊สโซลีน ขณะที่

ประเทศอังกฤษเรียกว่าเพทรอล (Petrol ย่อมาจาก Pretoleum spirit) เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องยนต์

สันดาปภายในชนิดเบนซิน สำหรับประเทศไทยเรียกน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดนี้ว่าเบนซิน (Bezin, Bensin) เช่นเดียวกับ

ประเทศเยอรมัน และสแกนดิเนเวีย ส่วนเบนซีนนั้นเป็นเพียงสารแอโรมาติกไฮโดรคาร์บอนตัวหนึ่งจากสารที่มี

เป็นร้อยๆ ตัวในน้ำมันดิบที่ถูกขุดเจาะแล้วสูบขึ้นมากลั่นลำดับส่วนเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสารประกอบ

ที่มีจุดเดือดสูง (หนัก) ไปจนถึงจุดเดือดต่ำ (เบา) สำหรับแก๊สโซลีนจัดอยู่ในพวกที่ไม่หนักมากนัก

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

62

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

เบนซีนมลพิษทางอากาศ เนื่องจากในธรรมชาติเบนซีนเป็นองค์ประกอบของสารปิโตรเลียม จึงทำให้เบนซีนมีโอกาสปนเปื้อนใน

น้ำมันเบนซิน (แก๊สโซลีน) ได้ ทั้งนี้มีข้อมูลว่าในน้ำมันเบนซินมีเบนซีนปนเปื้อนอยู่น้อยกว่า 1 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์

โดยปริมาตร [15] จึงเป็นไปได้อย่างมากที่จะพบเบนซีนจากไอเสียของเครื่องยนต์และสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

จากผลการวิจัย [16] การตรวจหาสารมลพิษ เบนซีน โทลูอีน และไซลีน ในไอเสียจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ทั้งใน

กลุ่มรถยนต์เก่าและใหม่ทั้งที่มีการติดตั้งและไม่ติดตั้งแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ (เป็นอุปกรณ์หนึ่งในระบบ

ระบายไอเสียของเครื่องยนต์หัวฉีดยุคใหม่ มีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยลดมลพิษในไอเสียก่อนไหลเข้าสู่หม้อพัก

ใบแรก เมื่อไอเสียไหลผ่านรังผึ้งที่ เคลือบสารพิเศษไว้ จะเปลี่ยนไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนออกไซด์ และ

ไนโตรเจนออกไซด์ที่ เป็นพิษให้กลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ไนโตรเจนและไอน้ำที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม)

พบว่าค่าความเข้มข้นของเบนซีน โทลูอีน และไซลีน จะมากที่สุดในรถยนต์เก่าที่ไม่มีการติดตั้งแคตตาไลติกคอน

เวอร์เตอร์คือ มีค่าเท่ากับ 12.11 ส่วนในล้านส่วน อย่างไรก็ตามจากรายงานวิจัยนี้ยังพบอีกว่าการติดตั้งแคตตาไล

ติกคอนเวอร์เตอร์ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับระดับความเข้มข้นของสารมลพิษที่ออกมาจากไอเสียของเครื่องยนต์

ที่ระดับนัยสำคัญ (α) 0.05 นอกจากนี้ Appel และคณะ [17] รายงานว่าทั้งในบุหรี่มวนเองและบุหรี่ก้นกรอง

มีระดับเบนซีนไม่ต่างกัน คือมีค่าเฉลี่ย 68 ± 11 ไมโครกรัมต่อกรัมของบุหรี่หนึ่งมวน

เมื่อไม่นานมานี้มีรายงานผลการวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ

วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นหนึ่งในคณะผู้วิจัย [18] ระบุว่าคนงานจากการปฏิบัติงานในวัดที่ได้รับควันธูป

ซึ่งมีสารก่อมะเร็ง อย่างน้อย 3 ชนิด ได้แก่ สารเบนซีน สาร 1,3-บิวทาไดอีน และสารพอลิไซคลิกแอโรมาติก

ไฮโดรคาร์บอน (PAH) เมื่อทำการตรวจวัดความผิดปกติของสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ พบว่า ระดับการแตกหักของ

ดีเอ็นเอ และ 8-OHdG ในเม็ดเลือดขาวของคนงานที่ได้รับควันธูปจากการปฏิบัติงานในวัดสูงกว่าคนงานใน

หน่วยงานที่ ไม่มีการจุดธูปประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้ความสามารถในการซ่อมแซมความผิดปกติของสาร

พันธุกรรมดีเอ็นเอของคนงานที่ได้รับควันธูปในวัดยังลดลง และจากการวิจัยยังพบว่าความผิดปกติของสาร

พันธุกรรม มีความสัมพันธ์กับระดับการได้รับสารเบนซีน สาร 1,3-บิวทาไดอีน และสารพีเอเอชจากควันธูป

ผลการวิจัยดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าควันธูปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นการสูดดมควันธูปเป็นระยะเวลานานทำให้มี

ความเสี่ยงต่อการได้รับสารก่อมะเร็งที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ของสารพันธุกรรม และศักยภาพในการ

ซ่อมแซมความผิดปกติของดีเอ็นเอลดลง ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้ เป็นกลไกส่วนหนึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็ง ทั้งนี้

ระดับปริมาณสูงสุดของเบนซีนที่กระจายตัวอยู่ในอากาศบริเวณที่ทำงานโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต้องไม่เกิน

1 ส่วนในล้านส่วน [13]

ผลงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า ควันธูปเป็นอันตราย ซึ่งเป็นทำนองเดียวกันกับความรู้เดิมที่ว่าควันบุหรี่ทำให้เป็น

โรคมะเร็ง และถึงแม้ขณะนี้ยังไม่มีงานวิจัยระบุถึงธูปไร้ควันแต่ในอนาคตอันใกล้นี้คงมีงานวิจัยติดตามมา ซึ่ง

อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

เบนซีนในเครื่องดื่ม การเกิดเบนซีนในเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ หรือ Soft drink และน้ำผลไม้ เกิดจากปฏิกิริยาการ

สูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarboxylation) ของกรดเบนโซอิกซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมเบนโซเอท

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

63 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ที่อาจจะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติหรือมาจากสารกันบูด กับ วิตามินซี (Ascorbic acid) โดยมีโลหะแทรนซิชัน เช่น เหล็ก

และทองแดง (มักพบในน้ำ) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ

มีรายงานวิจัยเกี่ยวกับการเกิดเบนซีนในเครื่องดื่มชนิดไม่มีแอลกอฮอล์จำนวนหนึ่ง [19,20] ผลจากการ

วิจัยสรุปได้ว่า วิตามินซีจะทำหน้าที่ เป็น Reducing agent ในการรีดิวซ์โลหะแทรนซิชัน เช่น เหล็ก (Fe3+) ให้

กลายเป็น Fe2+ จากนั้น Fe2+ จะเข้าทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้เป็นซุปเปอร์ออกไซด์แอนไอออนแรดิกัล (O2 )

ซึ่งจะรวมตัวกับโปรตอนเกิดเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ดังสมการ I-III

ปฏิกิริยาเกิดต่อโดย Fe2+ ถูกออกซิไดซ์ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจากสมการที่ I-III ได้เป็น Fe3+

นอกจากนี้ยังเกิด ไฮดรอกซิล แรดิกัล และไฮดรอกซิล แอนไอออน ดังสมการที่ IV จากนั้น Fe3+ ที่เกิดขึ้นจะถูก

รีดิวซ์กลับไปเป็น Fe2+ พร้อมกับได้ เปอร์ออกไซด์ แรดิกัล กับ โปรตอน ซึ่งก็คือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ปฏิกิริยานี้เรียกว่า ปฏิกิริยาเฟนตอน (Fenton reaction) [21,22] ดังสมการ

4

12.11

( ) 0.05 Appel (1990) [17] 68 ± 11

[18]

3 1,3- (PAH)

8-OHdG 2

1,3-

1

[13]

Soft drink (Decarboxylation)

(Ascorbic acid) ( )

Ascorbic acid (H2Asc) Sodium benzoate Benzoic acid Benzene

OHOHO

HO OH

O+

NaO O HO OdecarboxylationFe2+

Cu2+

5

.

[19,20] Reducing agent (Fe3+)

Fe2+ Fe2+ (O2 ) I-III

Fe3+ + H2Asc Fe2+ HAsc+ I

Fe2+ + O2 Fe3+ + O2 II

2O2 + 2H+ O2+ H2O2 III

hydrogen peroxide

Fe2+ I-III Fe3+ IV Fe3+ Fe2+ (Fenton reaction) [21,22]

Fe2+ + H2O2 Fe3+ HO OH++

Fe3+ + H2O2 Fe2+ HOO ++ H

hydroxy radical hydroxy anion

peroxide radical protonV

IV

pH 2 pH

pH 3 pH 5 pH 7 (Citric acid)

(Antimicrobial agent)

[23] 1.

5

.

[19,20] Reducing agent (Fe3+)

Fe2+ Fe2+ (O2 ) I-III

Fe3+ + H2Asc Fe2+ HAsc+ I

Fe2+ + O2 Fe3+ + O2 II

2O2 + 2H+ O2+ H2O2 III

hydrogen peroxide

Fe2+ I-III Fe3+ IV Fe3+ Fe2+ (Fenton reaction) [21,22]

Fe2+ + H2O2 Fe3+ HO OH++

Fe3+ + H2O2 Fe2+ HOO ++ H

hydroxy radical hydroxy anion

peroxide radical protonV

IV

pH 2 pH

pH 3 pH 5 pH 7 (Citric acid)

(Antimicrobial agent)

[23] 1.

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

64

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

ปฏิกิริยาจะเกิดต่อไปเรื่อยๆ จนวิตามินซีถูกใช้หมด ไฮดรอกซิล แรดิกัลที่ เกิดขึ้นจะเข้าทำปฏิกิริยากับ

โซเดียมเบนโซเอทเกิดปฏิกิริยาการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ดังกล่าวข้างต้น นำไปสู่ผลิตภัณฑ์คือเบนซีน และ

จากการทดลองยังพบว่า ปฏิกิริยาการเกิดเบนซีน จะเกิดได้ดีที่สุดที่ pH 2 และจะลดลงอย่างมากเมื่อ pH เพิ่มขึ้นจาก

pH 3 ถึง pH 5 และปฏิกิริยานี้จะไม่เกิดที่ pH 7 นั่นแสดงว่าเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงก็น่าจะมีโอกาสที่จะเกิด

สารเบนซีนได้สูง ขณะเดียวกันก็พบว่า กรดมะนาว (Citric acid) ซึ่งเป็นกรดที่พบได้ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น

ส้ม มะนาว เป็นต้น ก็สามารถเกิดปฏิกิริยาได้เช่นเดียวกันกับวิตามินซีแต่ช้ากว่า

วิตามินซีอาจมาจากเครื่องดื่มที่สกัดจากธรรมชาติหรือเติมเข้าไปเพื่อใช้เป็นสารกันการเกิดออกซิเดชัน

ในเครื่องดื่ม และโซเดียมเบนโซเอทก็อาจจะมีอยู่แล้วในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้วจะนิยมใช้โซเดียม

เบนโซเอทเป็นสารกันบูด (Antimicrobial agent) ในอาหารและเครื่องดื่ม

การเกิดเบนซีนในเครื่องดื่มอาจเกิดจากปัจจัย [23] ดังต่อไปนี้

1. ส่วนผสมที่มีวิตามินซี และโซเดียมเบนโซเอทแสดงให้เห็นว่าสามารถเพิ่มความเข้มข้นของเบนซีนได้

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะในการทำปฏิกิริยาด้วยเช่น ความร้อนหรือแสง

2. สารเคมีอื่นๆ เช่น สารให้ความหวาน กรดอิริทอร์บิค (Erythorbic acid) ซึ่งเป็นอิพิเมอร์ของวิตามินซี

สารเอทิลีนไดอะมีนเตตราอะซีติก แอซิด (Ethylene diamine tetraacetic acid, EDTA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารจับ

โลหะ และออกซิเจน ล้วนมีส่วนในการเกิดเบนซีนทั้งสิ้น ดังนี้

2 . 1 ส า ร ใ ห้ ค ว า ม ห ว า น อ า จ จ ะ ช่ ว ย ยั บ ยั้ ง ป ฏิ กิ ริ ย า ก า ร เ กิ ด เ บ น ซี น ซึ่ ง พ บ ว่ า ไ ม่ พ บ เ บ น ซี น ใ น

เครื่องดื่มลดความอ้วน

2.2 กรดอิริทอร์บิคทำหน้าที่เหมือนวิตามินซีคือ เป็นตัวทำให้เกิดเบนซีน

2.3 สารเอทิลีนไดอะมีนเตตราอะซีติก แอซิด อาจเป็นตัวยับยั้งปฏิกิริยานี้

2 . 4 ก า ร แ ท น ที่ อ อ ก ซิ เ จ น ที่ อ า จ มี อ ยู่ ใ น น้ ำ ห รื อ ใ น บ ร ร จุ ภั ณ ฑ์ ด้ ว ย ค า ร์ บ อ น ไ ด อ อ ก ไ ซ ด์ ห รื อ

ไนโตรเจนอาจช่วยยับยั้งการเกิดเบนซีน

อย่างไรก็ตามระดับปริมาณสูงสุดของเบนซีนในน้ำดื่มที่ไม่เป็นอันตราย คือไม่เกิน 0.005 มิลลิกรัมต่อ

ลิตร [13]

เนื่องจากเครื่องดื่มชนิดที่ไม่มีแอลกอฮอล์นี้ เป็นที่นิยมบริโภคมากในประเทศไทยอีกทั้งยังทำรายได้จาก

การส่งออกได้ปีละหลายล้านบาท ข้อมูลจากเอกสารอ้างอิง [24] ระบุว่า ยังไม่เคยมีรายงานการสำรวจเบนซีนใน

เครื่องดื่มที่จำหน่ายในประเทศ ดังนั้นควรมีการทำการสำรวจและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเกิดเบนซีนใน

เครื่องดื่มที่วางจำหน่ายในประเทศ โดยเฉพาะน้ำผักผลไม้ที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง

ด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค และป้องกันการเกิดปัญหาทางการค้าในอนาคต

เบนซีนเป็นสารก่อมะเร็ง รายงานที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเบนซีนกับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ถูกตีพิมพ์ครั้ง

แรกในปี ค.ศ.1928 โดย Delore และ Borgomano [25,26] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ได้มีการศึกษาวิจัยกันอย่าง

กว้างขวาง [27-31] จนนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าเบนซีนเป็นสารก่อมะเร็งโดยเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมทำให้เกิดมะเร็ง

เม็ดเลือดขาว รายงานจากคณะกรรมการวิชาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา และศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา

[32,33] ระบุว่า เมื่อเบนซีนเข้าสู่ร่างกายจะกระจายตัวในเลือดอย่างรวดเร็วและถูกเมตาโบไลต์ (Metabolized) ที่

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

65 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ตับไปเป็นสารตัวกลาง (Metabolites) เช่น ฟีนอล (8) เบนซีนออกไซด์ (9) และกรดมิวโคนิค (10) เป็นต้น ซึ่งสาร

ตัวกลางบางตัวจะกลายสภาพไปเป็นสารก่อมะเร็งที่มีความไวต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม (Mutation) ผลทาง

พิษวิทยาเมื่อได้รับสารเบนซีนเข้าสู่ร่างกายทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ได้แก่ ทำให้เกิดการระคายเคืองและ

พุพอง พิษต่อระบบประสาท ทำให้ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ชักหมดสติ และเสียชีวิตได้ พิษต่อระบบ

เลือด ทำลายไขกระดูกทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ ก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางแบบ Aplastic anemia

บทสรุป เบนซีนมีประวัติศาสตร์มายาวไกลและน่าสนใจยิ่ง หากแต่มันก็มีความน่าสะพรึงกลัวไม่น้อยไปกว่า

ความงดงามของโมเลกุลของมัน

เราๆ ท่านๆ อาจจะทราบกันมานานแล้วว่าเบนซีนเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งสามารถปนเปื้อนมากับอาหาร

รมควัน อาหารปิ้งย่างที่ไหม้ดำ และจากเขม่าควันรถ จากรายงานการวิจัยยังพบอีกว่าเบนซีนสามารถปนเปื้อนมา

กับการเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีระหว่างวัตถุกันเสียกับวิตามินซี หรือ กรดมะนาว ซึ่งอาจมีการ

ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มที่ เราท่านบริโภคกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นอกจากนี้จากผลการวิจัยยังพบว่าใน

ควันธูปมีสารก่อมะเร็งอย่างน้อย 3 ชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือเบนซีน จะเห็นได้ว่าเบนซีนไม่ได้อยู่ห่างไกลจากตัว

เราเลย ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรมีการสนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับการปนเปื้อนหรือกระบวนการเกิดเบนซีน จาก

เครื่องอุปโภคบริโภคกันอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการลดอัตราการเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษชนิดนี้

เอกสารอ้างอิง[1] Faraday, M. (1825). On New Compounds of Carbon and Hydrogen and on Certain Other Products Obtained

during the Decomposition of Oil by Heat. Philosophical Transactions of the Royal Society of

London. 115, 440-466.

[2] Kaiser, R. (1968). Bicarburet of Hydrogen. Reappraisal of the Discovery of Benzene in 1825 with the

Analytical Methods of 1968. Angewandte Chemie International Edition in English. 7 (5), 345–350.

[3] Partington, J.R. (1964). A History of Chemistry. London: Macmillan&Co.

[4] Mischerlich, E. (1834). Ueber das Benzol und die Sauren der Oel-und Talgarten. Annalen der Pharmacie.

9 (1), 39-48.

[5] Science Encyclopedia. (n.d.). Phenyl group. Retrieved August 24, 2009, from http://science.jrank.org/

pages/5133/Phenyl-Group.html

6

2. (Erythorbic acid) (Ethylene diamine tetraacetic acid, EDTA)

2.1

2.2 2.3 2.4

0.005

[13]

[24]

. .1928 Delore Borgomano [25,26] [27-31]

[32,33] (Metabolized)

(Metabolites) (8) (9) (10) (Mutation)

Aplastic anemia

OH

O HOOH

O

O8 9 10

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

66

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

[6] Kekulé, F.A. (1858). Ueber die Constitution und die Metamorphosen der chemischen Verbindungen und über

die chemische Natur des Kohlenstoffs. Annalen der Chemie und Pharmacie. 106 (2), 129-159.

[7] Kekulé, F.A. (1865). Sur laconstitution des substances aromatiques. Bulletin de la Societe Chimique de

Paris. 3 (2), 98-110.

[8] Wade, L.G, JR. (1991). Organic chemistry (2nd Ed.). Englewood cliffs : N.J. Prentice Hall.

[9] สุทัศน์ ยกส้าน. (2549, 4 กันยายน). ฝันที่ เป็นจริง. มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน, 2552, จาก

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9490000112249

[10] Couper, A.S. (1858). On a New Chemical Theory. Philosophical Magazine. 16, 104-116.

[11] Wiswesser, W.J. (1989). J.J. Loschmidt (1821-1895) : A Forgotten Genius. Aldrichimica Acta. 22, 17-18.

[12] Bader, A. (1992). Josef Loschmidt, the Father of Molecular Modeling. Royal Institution Proceedings. 64,

197-205.

[13] U.S. Department of Health and Human Services. (n.d.). ToxGuideTM for Benzene C6H6. Retrieved

August 25, 2009, from http://www.atsdr.cdc.gov/toxguides/toxguide-3pdf

[14] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.). แก๊สโซลีน. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2552 จาก http://th.wikipedia.

org/wiki/แก๊สโซลีน

[15] International Agency for Research on Cancer (IARC). (1982). Benzene. IARC Sumaries & Evaluations.

29, 93. Retrieved May 25, 2009, from http://www.inchem.org/documents/iarc/vol29/benzene.html

[16] ธีรวัฒน์ ทิตย์สีแสง. (2543). เบนซีน โทลูอีน และไซลีนในไอเสียจากรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน. วิทยานิพนธ์วิทยา-

ศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

[17] Appel, B.R., Guirguis, G., Kim, I.S., Garbin, O., Fracchia, M., Flessel, C.P., Kizer, K.W., Book, S.A. and

Warriner, T.E. (1990). Benzene, benzo(a)pyrene, and lead in smoke from tobacco products other than

cigarettes. Am J Public Health. 80, 560-564.

[18] Navasumri, P., Arayasiri, M., Tin Hiang, O.M., Leechawengwongs, M., Promvijit, J., Choonvisase, S.,

Chantchaemsai, S., Nakngam, N., Mahidol, C. and Ruchirawat, M. (2008). Potential health effects of

exposure to carcinogenic compounds in incense smoke in temple workers. Chemico-Biological

Inteactions, 173, 19-31.

[19] Gardner, L.K. and Lawrence, G.D. (1993). Benzene Production from Decarboxylation of Benzoic Acid in

the Presence of Ascorbic Acid and a Transition-Metal Catalyst. J Agric. Food Chem. 41(5), 693-695.

[20] Bernhardt, R. (2007). The Generation of benzene in Soft Drinks: Sodium Benzoate in the Presence of

Ascorbic Acid. Retrieved May 25, 2009, from Marian College Web site http://www.marian.edu/

chemphys/symposium07/RyanBernhardtBenzeneS07.pdf

[21] Wikipedia, the free encyclopedia. (n.d.). Fenton’s reagent. Retrieved September, 23, 2009, from

http://en.wikipedia.org/wiki/Fenton's_reagent

[22] Kehrer, J.P. (2000). The Haber-Weiss reaction and mechanisms of toxicity. Toxicology. 149 (1), 43-50.

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึงทวีสิน นาวารัตน์

67 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

[23] AIB international. (n.d.). Production of Benzene from ascorbic acid and Sodium Benzoate. Retrieved

June 20, 2009, from https://www.aibonline.org/researchandtechnical/white%20papers/Benzene-

March2006.pdf

[24] สถาบันอาหาร. (ม.ป.ป.). Early Warning Report อเมริกาพบสารก่อมะเร็ง Benzene ในเครื่องดื่ม. สืบค้น

เมื่อ 16 กุมภาพันธ์, 2552, จาก http://www.nfi.or.th

[25] Delore, P. and Borgomano, C. (1928). Luecemie ague au cours de l’intoxication benzenique: sur l’origine

toxique de certaines leucemies aigues et leurs relations avec les anemies graves. J.Med. Lyon. 9, 227-

233.

[26] Austin, H., Delzell E; Cole P. (1988). Benzene and leukemia. Am. J. Epidemiology. 127, 419-439.

[27] Brett, S.M., Rodricks, J.V. and Chinchilli, V.M.(1989). Review and update of leukemia risk potentially

associated with occupational exposure to benzene. Environ Health Perspect. 82, 267-281.

[28] Holmberg, B. and Lundberg, P. (1985). Benzene: Standards, Occurrence, and Exposure. AJIM. 7,

375-383.

[29] Goldstein, B.D. (1977). Hematotoxicity in humans. J. Toxicol Environ Health Suppl. 2, 69-105.

[30] Snyder, R. and Kalf, G.F. (1994). A Perspective on Benzene Leukomogenesis. Critical Reviews in

Toxicology. 24, 177-209.

[31] Swaen, G.M.H. and Meijers, J.M.M. (1989). Risk assessment of Leukemia and Occupational Exposure to

Benzene. BJIM. 46, 826-830.

[32] ประสงค์ คุณานุวัฒน์ชัยเดช และ ไมตรี สุทธจิตต์. (ม.ป.ป.). สารอินทรีย์ไอระเหยและสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 26,

เมษายน, 2552 จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_2_001c.asp?info_id=120

[33] คณะกรรมการวิชาการ, ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา. (2550, มีนาคม). สารเบนซิน ภัยอันตรายใกล้ตัว

สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม, 2552, จาก http://www.konayutthaya.com/jpo/files/disease/benzene.pdf

บทความวิชาการ

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย

วิทวัส แจ้งเอี่ยม1*

Witawat Jangiam1*

1 อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131* Corresponding author : โทรศัพท์/โทรสาร: 0-3810-2222 # 3351 อีเมลล์: [email protected]

บทคัดย่อ ไฮโดรเจนถือว่าเป็นพลังงานที่สะอาดและเหมาะที่จะใช้ในอนาคต เนื่องจากมีการเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง

และไม่ปลดปล่อยแก๊สที่เป็นมลพิษ กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่ายได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

เนื่องจากจุลสาหร่ายมีกระบวนการสังเคราะห์แสงที่สามารถใช้พลังงานจากธรรมชาติที่มีอยู่เช่น แสงอาทิตย์ และน้ำ

ในบทความนี้จะกล่าวถึงกระบวนการสังเคราะห์แสงของจุลสาหร่ายทั้งสองชนิด ได้แก่ สาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค

และสาหร่ายโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค โดยสาหร่ายทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันหลายประการในแง่ของการผลิตแก๊ส

ไฮโดรเจน เช่น เอนไซม์ที่ใช้ในการผลิตแก๊สไฮโดรเจน ความต้องการพลังงาน ปริมาณแก๊สออกซิเจนที่จะเป็นตัวยับยั้ง

สารตั้งต้นที่ใช้ และผลิตภัณฑ์ที่ได้

คำสำคัญ: ไฮโดรเจน จุลสาหร่าย การสังเคราะห์แสง

Abstract Hydrogen is considered as an ideal and clean energy for the future because of its high conversion and

non-polluting nature. Photobiological production of biohydrogen by microalgae is of great interest since it promises

a renewable energy carrier from nature’s most plentiful resources, solar energy and water. This review examines the

mechanisms of algal photosynthesis, photoautotrophic and photoheterotrophic. The different between 2 mechanisms

in term of hydrogen production are enzymes, requirement of energy, oxygen inhibition, substrates and products.

Keywords: Hydrogen, Microalgae, Photosynthesis

Biophotolysis-based Hydrogen Production by Microalgae

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

69 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

บทนำ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาจากระบบเศรษฐกิจที่

ต้องพึ่งพาผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก กลายมา

เป็นการพึ่งพาผลผลิตซึ่งมาจากภาคอุตสาหกรรมเป็น

ส่วนใหญ่ จากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการ

เพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ทำให้ความต้องการทางด้าน

พลังงานในด้านเศรษฐกิจสังคมรวมถึงการใช้พลังงานใน

ชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประเทศ

ไทยต้องพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมมากขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่ง

พลังงาน ซึ่งนับวันราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็ยิ่งเพิ่ม

สูงขึ้น โดยในปี 2551 ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานถึง

890,700 ล้านบาทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี [1] ดังนั้น

ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานภายในประเทศ

มาทดแทน ซึ่งกระทรวงพลังงานนั้นมีเป้าหมายในการลด

การใช้พลังงานดั้งเดิม และหันมาสนับสนุนการใช้พลังงาน

ทดแทนในทุกๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจาก มวล

ชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานขยะ

พลังงานแก๊สไฮโดรเจน อีกทั้งในปัจจุบันคนทั่วโลกก็

ตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

ดังนั้นพลังงานทดแทนที่นำมาใช้จีงควรเป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

พลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen, H2) ได้รับการ

คาดหมายและยอมรับว่าจะเป็นแหล่งพลังงานทดแทน

ที่สําคัญอย่างมากในอนาคต [2] เนื่องจากเป็นพลังงาน

สะอาดเมื่อใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง(Fuel cell) แล้ว จะไม่ปลด

ปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา [3,4,5] ดังนั้นจึงไม่

ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก [6] อีกทั้งการ

เผาไหม้ยังมีประสิทธิภาพสูง [7] ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทาง

อากาศ [8] โดยจะมีเพียงไอน้ำเป็นผลพลอยได้เท่านั้น

ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่ให้แก๊สคาร์บอนไดออก-

ไซด์เป็นผลพลอยได้ จึงสามารถช่วยลดการเกิดสภาวะ

โลกร้อนหรือ ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse

Effect) นอกจากนี้ค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่ได้จากแก๊ส

ไฮโดรเจนจะมากกว่าค่าพลังงานเชื้อเพลิงจากไฮโดร-

คาร์บอน และจากแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอลและ

เอทานอล ถึง 2.5 และ 5 เท่า ตามลำดับ [2] พลังงาน

ไฮโดรเจนสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับพลังงานดั้งเดิมได้

เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงสําหรับครัวเรือน เครื่องยนต์สันดาป

ภายใน เครื่องกังหัน และเครื่องไอพ่น และยังสามารถนํา

แก๊สไฮโดรเจนไปผลิตกระแสไฟฟ้า [9] โดยป้อนเข้าเซลล์

เชื้อเพลิง ซึ่งขณะนี้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่าง

มากในการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงมาประยุกต์ใช้ในด้าน

ต่างๆ เนื่องจากประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงมีค่าสูง

กว่าอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าแบบอื่นๆมาก การใช้มีเทนซึ่งให้

ประสิทธิภาพสูงถึงราว 80% [10] ดังนั้นพลังงาน

ไฮโดรเจนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนํามาใช้

ทดแทนพลังงานดั้งเดิมได้ และอาจกล่าวได้ว่าพลังงาน

ไฮโดรเจนเป็นพลังงานในอนาคตอย่างแท้จริง

บทความนี้เกิดจากการเรียบเรียงและสรุปความรู้

พื้นฐานของกระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุล

สาหร่าย ซึ่งมีประเด็นความสนใจเกี่ยวกับระบบการ

สังเคราะห์แสงของจุลสาหร่าย รวมทั้งแสดงถึงความ

แตกต่างของการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย

สองชนิด

สาหร่าย สาหร่ายเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งมีโครงสร้างอย่าง

ง่าย การจัดเรียงตัวของเซลล์ไม่ซับซ้อน ประกอบด้วย

เซลล์เพียงเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ ไม่มีเนื้อเยื่อที่ทำ

หน้าที่เฉพาะ ไม่มีท่อลำเลียงราก ลำต้น และใบที่แท้จริง

[11] สาหร่ายเซลล์เดียวจัดเป็นแพลงค์ตอนพืชกลุ่มใหญ่

ที่สุดในบรรดาแพลงค์ตอนพืชทั้งหมด [12] สาหร่ายเป็น

สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เองโดยการสังเคราะห์

ด้วยแสงเช่นเดียวกับพืชชั้นสูง ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่

สังเคราะห์ด้วยแสงได้ พบว่าเป็นพวกสาหร่ายประมาณ

50 – 60 เปอร์เซ็นต์ [13]

การจัดจำแนกสาหร่ายเป็นดิวิชันและชั้นต่าง ๆ

มีการใช้สีของสาหร่ายเป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง ดังนี้

1.ไซยาโนไฟตา (Cyanophyta) หรือ ไซยาโน

แบคทีเรีย (Cyanobacteria) เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

70

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

เป็นสิ่งมีชีวิตพวกโปรคาริโอท ซึ่ง เป็นพวกเดียวกับ

แบคทีเรีย จัดอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้

มีโครงสร้างที่แน่นอน มีไฟโตไซยานินเป็นองค์ประกอบ

หลักของรงควัตถุ ทำให้มีสีเขียวแกมน้ำเงิน[14]

2. โพรคลอโรไฟตา (Prochlorophyta) เป็นสาหร่าย

โปรคาริโอตที่มีลักษณะคล้ายไซยาโนแบคทีเรียหลาย

อย่าง เช่น มีแคโรทีนอยด์คล้ายกัน ผนังเซลล์เป็นสารพวก

กรดมิวเรมิก ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นต้น และยังมี

คลอโรฟิลล์เอและบี แต่ไม่มีไฟโคบิลิโซม [14]

3. โรโดไฟตา (Rhodophyta) เป็นสาหร่ายสีแดง

หลายชนิดมีขนาดใหญ่ บางชนิดเป็นสาย มีการจัด เรียงตัว

ของเซลล์คล้ายเนื้อเยื่อพาเรงคิมา [15]

4. คลอโรไฟตา (Chlorophyta) เป็นสาหร่ายสีเขียว

มีโครงสร้างแตกต่างกันหลายแบบ มีลักษณะทางชีวเคมี

เช่นเดียวกับพืชชั้นสูง เชื่อกันว่าเป็นต้นกำเนิดของพืช

สีเขียวในปัจจุบันนี้ [15]

5. แคโรไฟตา (Charophyta) ประกอบด้วยสาหร่าย

แคโรไฟต์หรือสาหร่ายไฟ (Stoneworts or Brittleworts)

ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์เป็น

แบบชนิดพาเรงคิมา [14]

6. ยูกลีโนไฟตา (Euglenophyta) ประกอบด้วยสิ่ง

มีชีวิตพวกยูกลีนอยด์ (Euglenoids) หลายชนิดไม่มีสารสี

นักสัตววิทยาจึงจัดไว้ในไฟลัมโปรโตซัว ส่วนชนิดที่มีสาร

สีที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง จะมีสารสีคล้าย

สาหร่ายสีเขียว และเป็นพวกที่มีต้นกำเนิดมาไม่น้อยกว่า

200 ล้านปีมาแล้ว [15]

7. ไฟร์โรไฟตา (Pyrrophyta) ไดโนแฟลเจลเลท

(Dinoflagellates) โครโมโซมไม่มีโปรตีนฮิสโตน (Histone)

ขณะมีการแบ่งของเซลล์แบบไมโทซิส โครโมโซมคง

หนาแน่นตลอดเวลา จะเห็นไม่ชัดระยะอินเตอร์เฟส และ

เป็นพวกที่มีต้นกำเนิดที่แยกสายวิวัฒนาการเกิดขึ้นในช่วง

แรกของการวิวัฒนาการของยูแคริโอต [15]

8. คริสโซไฟตา (Chrysophyta) เป็นสาหร่าย

สี เ ขี ย ว แ ก ม ท อ ง แ ล ะ ส า ห ร่ า ย สี เ ขี ย ว แ ก ม เ ห ลื อ ง

นักวิทยาสาหร่ายหลายท่านจัดแยกได้หลายดิวิชัน บางครั้ง

นำไปจัดรวมไว้ในสาหร่ายสีน้ำตาลเพราะมีลักษณะทาง

ชีว เคมีคล้ ายสาหร่ ายสีน้ ำตาล โดยเฉพาะสารสี ใน

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเหมือนกัน [15]

9. ฟิโอไฟตา (Pheophyta) เป็นสาหร่ายสีน้ำตาล

มีโครงสร้างเชิงซ้อนขนาดใหญ่ บางชนิดมีเนื้อเยื่อที่

เจริญแล้ว เช่น เนื้อเยื่อคล้ายโฟลเอ็ม เพื่อการลำเลียงอาหาร

ในต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ [15]

โดยการจัดจำแนกสาหร่ายอีกระบบหนึ่งจะจำแนก

สาหร่ายเป็น 2 ประเภทตามขนาดได้แก่ จุลสาหร่าย

(Microalgae) และ มหสาหร่าย (Macroalgae) โดย

จุลสาหร่ายจะเป็นสาหร่ายที่ไม่มีระบบท่อน้ำ ท่ออาหาร

และมองเห็นด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน ต้องมองด้วยกล้อง

จุลทรรศน์ ส่วนมหสาหร่ายจะเป็นสาหร่ายที่มองเห็นเป็น

ลำต้นได้ด้วยตาเปล่า โดยในบทความนี้จะมุ่งเน้นที่จะ

อธิบายถึงจุลสาหร่ายเนื่องจากสามารถนำมาเพาะเลี้ยงเพิ่ม

ปริมาณเป็นจำนวนมากได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการ

และใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงไม่มากนัก

การใช้จุลสาหร่ายในการผลิตแก๊สไฮโดรเจน เนื่องจากจุลสาหร่ายมีความพิเศษที่แตกต่างจาก

พืชเชื้อเพลิงทั่วไป คือ ความรวดเร็วในระบบสังเคราะห์

ด้วยแสง [16] สาหร่ายสามารถนำเอาพลังงานจากแสง

อาทิตย์มาใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงได้อย่างรวดเร็ว

กว่าพืชทดแทนอื่นๆ [16] จึงไม่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการให้

อาหารและการเลี้ยงดูมาก มีศักยภาพในการเพิ่มจำนวนสูง

[17] สามารถเพาะเลี้ยงได้เป็นจำนวนมากโดยไม่ยุ่งยาก

[16] ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงไม่เปลืองและไม่มีผลกระทบ

ต่อการเพาะปลูกพืชการเกษตรอื่นๆโดยสามารถนำพื้นที่

ที่ เสื่อมโทรมมาดัดแปลงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ได้ [16]

อีกทั้งยังให้ผลพลอยได้มูลค่าสูง เช่น ผลพลอยได้ที่ใช้เป็น

ปุ๋ย อาหารสัตว์ สารปฎิชีวนะ เครื่องสำอาง หรือแม้แต่ใช้

เป็นยารักษาโรค [17] จึงกล่าวได้ว่าจุลสาหร่ายเป็นพืชที่ใช้

ผลิตแก๊สไบโอไฮโดรเจนประสิทธิภาพสูง

ในปี ค.ศ.1939 และ 1944 นาย ฮานส์ แกฟฟ์รอน

[18,19] ได้ทำการสังเกตเมแทบอลิซึมของแก๊สไฮโดรเจน

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

71 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ในสาหร่ายสีเขียวเป็นคนแรก และมีการปรับปรุงเซลล์

เ พื่ อ ต ร ว จ ห า แ ก๊ ส ไ ฮ โ ด ร เ จ น ใ น ส ภ า ว ะ ที่ ไ ม่ มี แ ก๊ ส

ออกซิเจน รวมไปถึงการสังเกตดูโมเลกุลของไฮโดรเจน

ร่วมกับการลดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในที่มืดไปด้วย

จากการทดลองพบว่าเมื่อสาหร่ายอยู่ในสภาวะที่ไม่มีแก๊ส

ออกซิเจน จะมีการสร้างแก๊สไฮโดรเจนขึ้นและพบว่าการ

ผลิตแก๊สไฮโดรเจนของสาหร่าย Scenedesmus obliquus

ในที่มีแสงสว่าง อัตราการเปลี่ยนแปลงไฮโดรเจนจะสูงใน

ระยะเวลาสั้นๆ ในที่มีแสง [20]

แก๊สไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นจากจุลสาหร่ายจะได้มา

จ า ก ก า ร สั ง เ ค ร า ะ ห์ ด้ ว ย แ ส ง ข อ ง จุ ล ส า ห ร่ า ย โ ด ย

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของจุลสาหร่ายแบ่ง

ออกเป็น 2 แบบ คือ โฟโตออโตโทรฟิค (Photoautotrophic)

และโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค (Photoheterotrophic) [21]

โฟโตออโตโทรฟิค เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหาร

เองได้โดยการสังเคราะห์ด้วยแสง และใช้แก๊สคาร์บอนได

ออกไซด์ เป็นแหล่งคาร์บอนในการสร้างอาหาร เช่น

ไซยาโนแบคทีเรียที่มีการสังเคราะห์ด้วยแสงคล้ายพืชชั้น

สูง สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีแดง สาหร่ายสีน้ำตาล

เป็นต้น [22]

โฟโตเฮเทอโรโทรฟิค เป็นพวกที่สร้างอาหารเอง

จากสารอนินทรีย์ไม่ได้ จึงต้องมีการบริโภคสารอินทรีย์

เข้าสู่ เซลล์ โดยใช้คาร์บอนจากสารประกอบคาร์บอน

เป็นสารประกอบอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียสีม่วง

(purple bacteria), green sulfur bacteria และ Heliobacteria

[23] เป็นต้น

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของจุลสาหร่าย การสังเคราะห์ด้วยแสงของจุลสาหร่ายจะใช้

พลังงานจากแสงในช่วงคลื่นที่เรียกว่า Photosynthetically

Active Radiation (PAR) ซึ่งมีความยาวคลื่นแสงระหว่าง

400-700 นาโนเมตร สารสีแต่ละชนิดมีการดูดกลืน

ความยาวคลื่นแสง PAR ที่แน่นอน ซึ่งในการสังเคราะห์

ด้ วยแสงสารสีจะทำงานร่วมกับโปรตีนในเยื่ อหุ้ ม

ไทลาคอยด์ของคลอโรพลาสต์ เพื่อสร้างสารประกอบเชิง

ซ้อนในการเก็บพลังงานแสงหรือระบบแสง ระบบแสงมี

2 ชนิด คือ ระบบแสง 1 (PS I) และ ระบบแสง 2 (PS II)

โดยการทำงานของระบบแสง 1 จะดูดกลืนคลื่นความ

ยาวคลื่นแสงที่ 700 นาโนเมตร เรียกระบบแสงนี้ว่า P700

ส่วนการทำงานของระบบแสง 2 จะดูดกลืนคลื่นความ

ยาวคลื่นแสงที่ 680 นาโนเมตร จึงเรียกว่าระบบแสงนี้ว่า

P680 นั่นหมายความว่าพลังงานจะถูกกระตุ้นทุกๆ

โฟตอนที่ความยาวคลื่นแสงมากกว่า 680 นาโนเมตร

ระบบแสง 1 และ ระบบแสง 2 จะทำงานร่วมกันเพื่อรีดิวซ์

NADP และ ADP ไปเป็น NADPH และ ATP ตามลำดับ

พลังงานที่ได้จากแสงจะนำไปใช้ในการตรึงแก๊สคาร์บอน

ไดออกไซด์ในวัฏจักรเคลวิน (Calvin cycle) เพื่อสังเคราะห์

น้ำตาลกลูโคสที่นำมาใช้ในการออกซิไดซ์ในกระบวนการ

หายใจ และเก็บสะสมไว้เป็นอาหาร [24]

การผลิตแก๊สไฮโดรเจนของสาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค

การสังเคราะห์ด้วยแสงของสาหร่ายจะเริ่มการ

สังเคราะห์ด้วยแสงที่ระบบแสง 2 (PS II) (รูปที่ 1) [25]

โดยจะได้รับพลังงานแสง เพื่อกระตุ้นให้อิเล็กตรอนใน

ศูนย์กลางการเกิดปฏิกิริยาของระบบแสง 2 หลุดออกไป

และยั งทำให้น้ ำ เกิดการแตกตัว ได้ เป็น ออกซิ เจน

อิเล็กตรอน และโปรตอน อิเล็กตรอนที่ได้จากน้ำจะเข้าไป

แทนที่อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาจากระบบแสง 2 และจะ

ทำการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาไปยัง พลาสโต-

ควิโนน (Plastoquinone : PQH2) ส่งต่อไปยังไซโตโครม

b6f (Cyt b6f) และไหลวนกลับมาที่พลาสโตควิโนน

(Plastoquinone : PQ) ในขณะเดียวกันโปรตอนก็จะวิ่ง

ลงมาผ่านพลาสโตควิโนน (Plastoquinone : PQH2)

พร้อมกับอิเล็กตรอน โปรตอนจะวิ่งจากสโตรมาซึ่งมีความ

เข้มข้นของโปรตอนต่ำ (Low H+) ไปยังลูเมนที่ความ

เข้มข้นของโปรตอนสูงกว่า (High H+) ส่วนอิเล็กตรอนก็

กลับมาในไซโตโครม b6f และเคลื่อนตัวต่อไปโดยมี

พลาสโตไซยานิน (plastocyanin : PC) มารับไปยังระบบ

แสง 1 (PS I) ในการเคลื่อนที่ของอิ เล็กตรอนนี้ ได้

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

72

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

3

3 - . . .

-

30.00 cm 12.0 m 25.40 cm

8 15.24 cm 120 l/s

220 V 50 Hz 55 kg 1,000 W 1.5 m

3

3 30% ( ) 50% ( )

100% ( ) (Digital multimeter) UNAOHM 9400 2 5 h 3

(1) (2)

100

EE

in

outE

(1)

100ff

in

outf

(2)

E (%) f

(%) outE (V) inE (V) outf (Hz)

inf (Hz)

1 kW -

0.25 m 12 m 2 ( ) 5.00 m 1.4 m 4

40 W 1

สูญเสียพลังงานเป็นอย่างมาก เพื่อใช้ในการปั๊มโปรตอน

จากสโตรมาเข้าสู่ลูเมน จึงต้องมีการกระตุ้นพลังงานด้วย

แสงใหม่อีกครั้งในระบบแสง 1 การทำงานของระบบ

แสง 1 จะคล้ายกับระบบแสง 2 คือเมื่อได้รับพลังงานจาก

แสงแล้วก็จะทำให้อิ เล็กตรอนในศูนย์กลางการเกิด

ปฎิกิริยาของระบบแสง 1 หลุดออกมามายังสโตรมา

และอิเล็กตรอนที่วิ่งมาจากระบบแสง 2 ก็จะมาแทนที่

อิเล็กตรอนที่หลุดไป หลังจากนั้นอิเล็กตรอนที่หลุดออกมา

จะเคลื่อนที่ไปยังเฟอริดอกซิน (ferredoxin : Fd) แล้วรีดิวซ์

NADP+ ให้กลายเป็น NADPH โดยเอ็นไซม์เฟอริดอก-

ซินเอ็นเอดีพีรีดักเตส (ferredoxin-NADP reductase : Fp)

โปรตอนที่อยู่ในลูเมนจะค่อย ๆ เคลื่อนขึ้นไปใน ATP

synthase และได้ ATP ออกมา

รูปที่ 1 การสังเคราะห์แสงของสาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

73 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ซึ่งเส้นทาง ก ของการสังเคราะห์แสงจะเกิดขึ้น

ตามสภาวะปกติ โดยได้ออกซิเจนจากการสังเคราะห์ด้วย

แสง เฟอริดอกซิน (ferredoxin : Fd) จะทำการขนส่ง

อิเล็กตรอนไปยังส่วนประกอบเคมี NADP+ จะได้ NADPH

ออกมา NADPH ที่ได้จะทำปฎิกิริยากับ ATP และแก๊ส

คาร์บอนไดออกไซด์ ได้เป็นคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะนำไปใช้

เป็นอาหารและเก็บสะสมต่อไป ส่วนเส้นทาง ข จะเกิดขึ้น

ภายใต้สภาวะพิเศษ เช่น สภาวะที่ไม่มีแก๊สออกซิเจน,

รูปที่ 2 การสังเคราะห์แสงของโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค

ความดันของแก๊สไฮโดรเจนต่ำมาก ๆ เป็นต้น อิเล็กตรอน

จะเคลื่อนที่ผ่านเฟอริดอกซิน (Fd) และเข้าทำปฏิกิริยา

กับโปรตอน โดยมีเอนไซม์ไฮโดรจิเนสเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

และไม่ต้องใช้ ATP ในการทำปฏิกิริยา จะได้แก๊สไฮโดรเจน

ออกมา กลไกนี้ต้องคำนึงถึงเอนไซม์ไฮโดรจิเนส ซึ่งมี

ความไวมากต่อแก๊สออกซิเจน จากที่กล่าวมานี้จะได้

สมการดังนี้

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

74

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

การผลิตแก๊สไฮโดรเจนของสาหร่ายโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของโฟโตเฮ

เทอโรโทรฟิค (รูปที่ 2) [25] จะประกอบด้วยระบบ

แสง 1 (photo-system one (PS)) เพียงอย่างเดียว ซึ่ง

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจะอยู่บริ เวณเยื่อหุ้ม

เซลล์ โดยที่ระบบแสง 1 (PS) จะได้รับพลังงานจากแสง

อาทิตย์และพลังงานจากกรดอินทรีย์ (ตัวอย่าง คือ

อะซิเตต) หรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ในการแยกน้ำ

ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่ไม่มีแก๊สออกซิเจน จะได้

อิ เล็กตรอน โปรตอน และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

อิเล็กตรอนที่ได้ออกมานี้จะถูกปั๊มให้เคลื่อนที่ผ่าน C2

ไปยังระบบแสง 1 พลังงานจากแสงจะทำให้อิเล็กตรอน

ในศูนย์กลางการเกิดของระบบแสง 1 หลุดออกมาและ

เคลื่อนที่ไปยังพลาสโตควิโนน (Plastoquinone : PQH2)

ต่อไปยังไซโตโครม bc1 (Cyt bc1) และไหลวนกลับมาที่

พลาสโตควิโนน (Plastoquinone : PQ) ไปยังพลาสโต

ควิโนน (PQH2) และเข้าสู่ไซโตโครม bc1 เหมือนเดิม

ในขณะเดียวกันโปรตอนที่เคลื่อนที่ผ่าน พลาสโตควิโนน

(PQH2) เช่นกัน โดยที่โปรตอนจะวิ่งลงมาจากสโตรมา

ซึ่งมีความเข้มข้นของโปรตอนต่ำ (Low H+) ไปยังลูเมน

ที่มีความเข้มข้นของโปรตอนสูงกว่า (High H+) และ

โปรตอนที่อยู่ในลูเมนจะเข้าสู่ ATP synthase โดยการ

ปั๊มโปรตอนจากลูเมน (ความเข้มข้นของโปรตอนสูง (High

H+) ) ไปยังสโตรมา (ความเข้มข้นของโปรตอนต่ำ

(Low H+)) และสร้าง ATP ขึ้นมา ส่วนอิเล็กตรอนที่อยู่

ในไซโตโครม bc1 จะถูกแยกออกเป็น 2 สาย มีหนึ่งสาย

ที่วิ่งกลับเข้าไปใน C2 และดำเนินการเหมือนขั้นตอนที่

กล่าวมาในช่วงแรก ส่วนอีกหนึ่งสายจะวิ่งขึ้นไปยัง

เฟอริดอกซิน (Fd) โดยใช้ ATP ที่ได้จากการทำงานของ

ATP syn thase มา เป็นพลั งงานในการขับ เคลื่ อน

อิ เล็กตรอนไปยัง เฟอริดอกซิน (Fd) ซึ่ ง เป็นตัวรับ

อิ เล็กตรอน และโปรตอนจะถูกเปลี่ ยนไปเป็นแก๊ส

ไฮโดรเจน โดยอาศัยเอนไซม์ไนโตรจิเนส พลังงาน ATP

และอิเล็กตรอนที่ได้รับมาจากเฟอริดอกซิน (Fd) ซึ่ง

ขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีโมเลกุลของไนโตรเจน โดย

ปกติแล้วเอนไซม์ไนโตรจิเนสมีความไวต่อแก๊สออกซิเจน

แต่ในกระบวนการนี้ไม่มีปัญหาเพราะกระบวนการนี้เกิด

ขึ้นในสภาวะไม่มีออกซิเจน (anoxygenic photosynthesis)

ซึ่งจะไม่ผลิตออกซิเจนออกมา [23]

การเปรียบเทียบการผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากสาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค

และสาหร่ายโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากสาหร่าย

โฟโตออโตโทรฟิคเป็นกระบวนการที่น่าสนใจเพราะ

แหล่งพลังงานที่ ใช้ ในการผลิตแก๊สไฮโดรเจน เป็น

พลังงานที่มีแหล่งกำเนิดที่ถูกและหาได้ง่าย ซึ่งก็คือ

น้ำและแสงอาทิตย์ และไม่มีผลิตภัณฑ์ของคาร์บอนได

ออกไซด์ แต่กระบวนการนี้มีปัญหาคือ เอนไซม์ที่ใช้ใน

การผลิตไฮโดรเจนซึ่งคือไฮโดรจิเนส มีออกซิเจนเป็นตัว

ยับยั้ง ซึ่งในขณะที่เกิดกระบวนการผลิตไฮโดรเจนจะมี

ออกซิเจนเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ถ้าจะเลือกใช้สาหร่าย

โฟโตออโตโทรฟิคมาใช้ในการผลิตแก๊สไฮโดรเจนจะต้อง

ทำการกำจัดออกซิเจนอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วสูงซึ่ง

ไม่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติ ซึ่งในอนาคตความรู้ทางด้าน

พันธุวิศวกรรมจะนำมาช่วยในการปรับปรุงสายพันธุ์ให้มี

ความต้านทานออกซิเจนมากขึ้น

ส่วนกระบวนการโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค เป็น

กระบวนการที่มีเพียงระบบแสง 1 เท่านั้นในการแยกน้ำ

และปฏิกิริยาการปลดปล่อยไฮโดรเจน ในกระบวนการนี้

ออกซิเจนที่เป็นตัวยับยั้งไม่ทำให้เกิดปัญหาเพราะไม่มี

ออกซิเจนเกิดขึ้น ส่วนข้อดีอื่นๆ คือ การผลิตไฮโดรเจน

เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อเสียของกระบวนการนี้คือ

เอนไซม์ไนโตรจิเนสต้องการพลังงานในรูปของ ATP, การ

ผลิตไฮโดรเจนจากสารอินทรีย์ต้องการพลังงานในการเกิด

ปฏิกิริยา (bioenergetically) มาใช้ประโยชน์มากกว่าการ

ผลิตไฮโดรเจนจากน้ำ และผลิตภัณฑ์ที่ ได้จากการ

สังเคราะห์แสงคือ แก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคาร์บอนได

ออกไซด์ที่ ได้จากสารอินทรีย์ ซึ่งลักษณะเฉพาะของ

สาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค และสาหร่ายโฟโตเฮเทอโร

โทรฟิคในกระบวนการผลิตไฮโดรเจน สรุปดังตารางที่ 1

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

75 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

บทสรุป พลังงานไฮโดรเจนถือเป็นพลังงานแห่งอนาคต

อย่างแท้จริงเนื่องจากเป็นพลังงานที่สะอาดที่สุด จากการ

ศึกษากระบวนการเกิดแก๊สไฮโดรเจนจากจุลสาหร่าย

พบว่ามีความเป็นไปได้ในการที่จะนำจุลสาหร่ายมาผลิต

แก๊สไฮโดรเจน โดยจุลสาหร่ายทั้งสองชนิดคือ ชนิด

โฟโตออโตโทรฟิค และชนิดโฟโตเฮเทอโรโทรฟิคสามารถ

ที่จะผลิตแก๊สไฮโดรเจนได้โดยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง

กัน โดยที่จุลสาหร่ายชนิดโฟโตออโตโทรฟิคจะพบว่าการ

ผลิตแก๊สไฮโดรเจนจะใช้น้ำและแสงเป็นวัตถุดิบ และ

ผลผลิตที่ได้จะเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สออกซิเจน

แต่ในขณะเดียวกันจุลสาหร่ายชนิดโฟโตเฮเทอโรโทรฟิคใช้

สารอินทรีย์เป็นวัตถุดิบเนื่องจากกระบวนการผลิตแก๊ส

ไฮโดรเจนจะต้องใช้พลังงานเข้ามาเกี่ยวข้อง และผลผลิต

ที่ได้จะเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

แต่ในปัจจุบันการผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากจุลสาหร่ายยัง

ไม่ เป็นที่นิยมนักเนื่องจากยังขาดองค์ความรู้หลายๆ

ประการ เช่น การเลี้ ยงสาหร่ายระบบใหญ่ที่ จะให้

ประสิทธิภาพที่ดี กระบวนการกำจัดออกซิ เจนของ

จุลสาหร่ายชนิดโฟโตออโตโทรฟิค และปริมาณแก๊ส

ไฮโดรเจนที่ผลิตได้ยังไม่คุ้มทุน เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทย

ตารางที่ 1 ลักษณะเฉพาะของสาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค และสาหร่ายโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค ในกระบวนการผลิตไฮโดรเจน

ปฏิกิริยา สาหร่ายโฟโตออโตโทรฟิค สาหร่ายโฟโตเฮเทอโรโทรฟิค

1. เอนไซม์ ไฮโดรจิเนส ไนโตรจิเนส

2. ความต้องการ ATP ของเอนไซม์ ไม่ใช่ ใช่

3. ออกซิเจนเป็นตัวยับยั้ง ใช่ ใช่

4. ออกซิเจนเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการผลิต ใช่ ไม่ใช่

5. สารตั้งต้น น้ำ สารอินทรีย์, กรดอินทรีย์ เช่น อะซิเตด

6. มีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ ใช่ (จากสารอินทรีย์)

7. ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแก๊ส ไฮโดรเจน และออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์

ก็ได้ เริ่มมีนักวิจัยหันมาสนใจที่จะศึกษางานในด้านนี้

เพิ่มขึ้นบ้างแล้ว โดยการศึกษาการสะสมของแป้งใน

จุลสาหร่าย โดยจะถูกสลายโดยแบคทีเรียที่ผลิตกรด

แลกติกกลายเป็นกรดอินทรีย์ในการที่จะกลายเป็นแก๊ส

ไฮโดรเจนโดยกระบวนการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย

[26] การศึกษาวิจัยในด้านนี้ที่เพิ่มขึ้นจะช่วยทำให้พัฒนา

องค์ความรู้ที่จะสามารถนำมาใช้ได้จริงในอนาคต

เอกสารอ้างอิง[1] สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2552) .

สถานการณ์พลังงานในปี 2551 และแนวโน้ม

ปี 2552 สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน2552 จาก: http://

www.eppo.go.th/Thaienergynews/Energy_

Policy/ Watching ShowDetail.aspx?watching

OID=50.

[2] ธรรมนูญ ศรีทะวงศ์. (2550). พลังงานไฮโดรเจน

สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน2552 จาก: http://www.

kmitnbxmie8.com/ index.php?lay=show&ac=

article&Id=568260&Ntype=3.

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

76

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

[3] Dutta, D., De, D., Chaudhuri, S. and Bhattacharya,

S . K . ( 2 0 0 5 ) . H y d r o g e n p r o d u c t i o n b y

Cyanobacteria. Microbial Cell Factories. 4: 36

[4] Tian, X., Liao, Q., Liu, W., Wang, Y.Z., Zhu, X., Li,

J. and Wang, H. (2009). Photo-hydrogen

production rate of a PVA-boric acid gel

g r a n u l e c o n t a i n i n g i m m o b i l i z e d

photosynthetic bacteria cells. International

Journal of Hydrogen Energy. 34: 4708–4717.

[5] Zhang, H., Brunsb, M.A. and Logana, B.E. (2006).

B i o l o g i c a l h y d r o g e n p r o d u c t i o n b y

Clostridium acetobutylicum in an unsaturated

flow reactor. Water Research. 40: 728 – 734.

[6] Ginkel, S. V. and Sung, S. (2001). Biohydrogen

Production as a Function of pH and Substrate

Concentration. Environ. Sci. Technol. 35:

4726-4730.

[7] Wang, X., Monis, P.T., Saint, C.P. and Jina, B.

(2009). Biochemical kinetics of fermentative

h y d r o g e n p r o d u c t i o n b y C l o s t r i d i u m

butyricum W5. International Journal of

Hydrogen Energy. 34: 791–798.

[8] Madamwar, D., Garg, N. and Shah, V. (2000).

Cyanobacterial hydrogen production, World

Journal of Microbiology & Biotechnology.

16: 757-767.

[9] สมนึก บุญพาไสว. (2549). เซลล์เชื้อเพลิง สืบค้นเมื่อ

16 กันยายน2552 จาก: http://www.ipst.ac.th/

design/ document/Fuel_cell.pdf.

[10] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2552). เซลล์เชื้อเพลิง

สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน2552 จาก: http://th.

wikipedia.org/wiki/เซลล์เชื้อเพลิง.

[11] Chapman, V.J. and Chapman, D.J. (1980). The

Algae. 2nd ed. London: Macmillan.

[12] บัญญัติ มนเทียรอาสน์. (2533). แพลงค์ตอนวิทยา

เบื้องต้น. เชียงใหม่: ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง

คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยี

การเกษตรแม่โจ้.

[13] Purves, William K., Orians, Gordon H. and Heller,

H. Craig. (1992). Life: The Science of Biology.

3rd ed. Massachusette: Sinaure associates.

[ 1 4 ] วั น เ พ็ ญ ภู ติ จั น ท ร์ . ( 2 5 4 9 ) . วิ ท ย า ส า ห ร่ า ย

( P h y c o l o g y ) . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 1 . ก รุ ง เ ท พ ฯ :

โอเดียนสโตร์.

[15] Mauseth, James D. (1991). Botany: A Introduction

to Plant Biology. Philadelphia: Sauders College

Publishing Co., Inc.

[16] กระทรวงพลังงาน. (2550). ไบโอดีเซล…สาหร่าย

จะกลายเป็นทอง สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2552

จาก: http://www. energyfantasia.com/ef4/pedia/

pediashow.php?show=399.

[17] อาภารัตน์ มหาขันธ์. (2551). พลังสาหร่าย พลัง

อนาคต สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน2552 จาก: http://

www.adeq.or.th /web/news/news_env_detail.

php?id=18.

[18] Gaffron, H. (1939). Reduction of CO2 with H2 in

green plants. Nature. 143: 204–205.

[ 1 9 ] G a f f r o n , H . ( 1 9 4 4 ) . P h o t o s y n t h e s i s ,

photoreduction and dark reduction of carbon

dioxide in certain algae. Biol Rev Cambridge

Philos Soc. 19: 1–20.

[20] Gaffron, H, Rubin, J. (1942). Fermentative and

photochemical production of hydrogen in

algae. J Gen Physiol. 26: 219–240.

[21] Asimov, Isaac .(1968). Photosynthesis. New York,

London: Basic Books.

[22] Bryant , D.A. and Frigaard , N.U. (2006).

Prokaryotic photosynthesis and phototrophy

illuminated. Trends Microbiol. 14 (11): 488.

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย วิทวัส แจ้งเอี่ยม

77 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

[23] Madigan, M T.and Ormerod, J G. (1995).

Anoxygenic Photosynthetic Bacteria. In

Blankenship et al. pp 17-30., New York:

Kluwer Academic Publishers.

[24] Hall, D.O. and Rao, K.K. (1994). Photosynthesis.

5th ed. Cambridge University Press.

[25] Akkerman, Ida. Janssen, Marcel. Rocha, Jorge and

Wijffels , Rene H. (2002). Photobiological

hydrogen production:photochemical efficiency

and bioreactor design. International Journal of

Hydrogen Energy. 12: 1195-1208.

[26] Rodjaroen,S., Juntawong, N., Mahakhant, A. and

M i y a m o t o , K . ( 2 0 0 7 ) . H i g h B i o m a s s

Product ion and Starch Accumulat ion in

N a t i v e G r e e n A l g a l S t r a i n s a n d

Cyanobacterial Strains of Thailand. Kasetsart

Journal Natural Science, 41: 570-575.

บทความวิชาการ

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

Organic Agriculture in Thailand

สรพงค์ เบญจศรี1*

Sorapong Benchasri1*

คำนำ อาหารนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการดำรงชีพ

ของมนุษย์ แต่การเพิ่มจำนวนประชากรของโลกอย่าง

ร ว ด เ ร็ ว จ า ก อ ดี ต จ น ถึ ง ปั จ จุ บั น ส่ ง ผ ล ใ ห้ เ กิ ด ก า ร

เปลี่ยนแปลงต่อการผลิตและการทำการเกษตรเป็น

อย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาการเกษตรกรรมแบบใหม่

ที่เกิดจากการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 ทำให้สังคมไทยเริ่ม

เข้าสู่จุดเปลี่ยนที่ถูกเรียกว่า "การปฏิวัติเขียว (Green

r evo lu t i on ) " ซึ่ งสั งคม เกษตรกรรมของไทยต้อง

ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการผลิตเพื่อการยังชีพมาสู่การ

ผลิต "เพื่อการค้า"เป็นหลัก ทำให้เกษตรกรเริ่มมีการใช้ปุ๋ย

และสารเคมีต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพดีต่อการ

ส่งขาย นอกจากนี้มีการสร้างระบบชลประทานและเขื่อน

มีการใช้เครื่องจักรกลทางเกษตรขนาดใหญ่และมีการ

เปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรผสมผสาน (integrated

farming) มาสู่การส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว (mono-

cropping) ที่รับประกันด้านปริมาณผลผลิต [1] ทั้งนี้เพื่อ

1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง 931101 Department of Agricultural Technology, Faculty of Technology and Community Development, Thaksin University, Pa Phayom, Phatthalung, 93110, Thailand* Corresponding author: [email protected]

เป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งออกเป็นหลัก

โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เกษตรกรรมแบบใหม่เริ่มต้นจากความต้องการปริมาณ

พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ซึ่งได้จากการทำลายพื้นที่ป่าไม้

อันเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของต้นน้ำลำธาร ความอุดม

สมบูรณ์ของดินและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่าง

สมดุล การทำลายพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว

เป็นจำนวนหลายแสนไร่ ซึ่งเป็นการผลิตที่ผิดธรรมชาติ

โดยไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดการ

เสื่อมโทรมของพื้นที่เกษตร อีกทั้งการใช้สารเคมีควบคุม

และกำจัดวัชพืชปริมาณสูงในประเทศที่กำลังพัฒนาและ

ประเทศพัฒนาแล้ว พบว่าสารเคมีดังกล่าวก่อให้เกิด

สารพิษปนเปื้อนในแหล่งต่างๆ เช่น ดิน น้ำ และในชั้น

บรรยากาศ นอกจากนี้ยังมีสารพิษตกค้างในผลผลิตทาง

การเกษตร [2] จากผลสำรวจและวิเคราะห์ของกองวัตถุ

มีพิษการเกษตรได้สรุปพืชผักที่มีการปนเปื้อนของสาร

ป้องกันกำจัดศัตรูพืชเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่า

ถั่วลันเตามีสารพิษตกค้างมากที่สุดคือ 87 เปอร์เซ็นต์

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

79 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ร อ ง ล ง ม า คื อ คื่ น ฉ่ า ย ( 8 0 เ ป อ ร์ เ ซ็ น ต์ ) ค ะ น้ า

(78 เปอร์เซ็นต์) กวางตุ้ง (68 เปอร์เซ็นต์) ถั่วฝักยาว

(66เปอร์ เซ็นต์) ถั่วแขก (60 เปอร์ เซ็นต์) หอมแบ่ง

(59 เปอร์เซ็นต์) และกะหล่ำดอก (50 เปอร์เซ็นต์) ตาม

ลำดับ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่พบตกค้างในพืชผัก

ดั งกล่ าว ได้ แก่ me thamidophos , p ro fenophos ,

cypermethrin และ monocrotophos [3,4] ส่วนการ

สำรวจและวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผลไม้พบจำนวน

ตัวอย่างของผลไม้ที่มีการปนเปื้อนจากสารป้องกัน

กำจัดศัตรูพืชเกิน 50 เปอร์ เซ็นต์หลายชนิดเช่นกัน

โ ด ย พ บ ว่ า ช ม พู่ มี ส า ร พิ ษ ต ก ค้ า ง ม า ก ที่ สุ ด คื อ 1 0 0

เ ป อ ร์ เ ซ็ น ต์ ร อ ง ล ง ม า คื อ อ งุ่ น ( 9 9 เ ป อ ร์ เ ซ็ น ต์ )

ส้มเขียวหวาน (94 เปอร์เซ็นต์) พุทรา (94 เปอร์เซ็นต์)

ส้มโอ (76 เปอร์ เซ็นต์) ฝรั่ง (71 เปอร์ เซ็นต์) เงาะ

(63 เปอร์ เซ็นต์) ทุ เรียน (53 เปอร์ เซ็นต์) และลิ้นจี่

(51 เปอร์เซ็นต์) ตามลำดับ สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ที่ พ บ ป น เ ปื้ อ น ใ น ผ ล ไ ม้ ไ ด้ แ ก่ c y p e r m e t h r i n ,

monocro tophos , methamidophos , endosu l fan ,

dimethoate, carbaryl และ dicofol เป็นต้น นอกจากนี้

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจพบสารพิษตกค้าง

ในผลผลิตทางการเกษตรจากผลไม้รับประทานทั้งเปลือก

5 ชนิด ได้แก่ องุ่น ชมพู่ ฝรั่ง พุทรา และละมุด โดยเป็น

สารเคมีในกลุ่มออร์แกโนฟอสเฟต และคาร์บาเมทถึง

98 เปอร์เซ็นต์ ปี 2540 กรมวิชาการเกษตรได้รายงาน

การวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดิน และน้ำ บริเวณพื้นที่

การเกษตรในแปลงปลูกไม้ผลพบว่ามีสารพิษดังกล่าว

ในปริมาณสูง ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้

สารเคมีไม่ถูกต้อง จึงส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำเพื่อการ

อุปโภคและบริโภคของเกษตรกรเป็นอย่างมาก นอกจากนี้

มีการตรวจสอบพบสารพิษกำจัดแมลงในพืชผัก ซึ่งมีการ

สะสมเกินมาตรฐานความปลอดภัยด้วยเช่นกัน ส่วน

ผลผลิตทางการเกษตรส่งออกนั้น พบสารเคมีป้องกัน

กำจัดศัตรูพืชตกค้างในสินค้าเกษตรส่งออกประเภทผัก

และผลไม้อยู่ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสารเคมีกลุ่ม

ออร์แกโนคลอรีน สารเคมีดังกล่าวสลายค่อนข้างช้า และ

คงสภาพในสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลายาวนาน ไม่เหมาะ

ที่จะนำมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูกพืชสำหรับการบริโภค [5]

นอกจากนี้การใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชส่งผลให้เกิด

การดื้อยาต่อโรคและแมลง ซึ่งศัตรูพืชหลายชนิดสามารถ

ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยสร้างความต้านทานหรือ

ดื้อยาต่อสารเคมี เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนเจาะ

สมอฝ้าย ไรแดง และเชื้อราสาเหตุโรคไฟทอปเทอรา

เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมิได้เพียงแต่ทำลายศัตรูพืช

เท่านั้น แต่มีผลต่อการทำลายศัตรูพืชธรรมชาติที่มี

ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืชด้วย เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน

รวมถึงแมลงผสมเกสร ทำให้ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิต

ในดินสูญเสียความสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อจุลินทรีย์

ที่มีประโยชน์ในดินหลายกลุ่มถูกทำลาย [6,7] ประกอบกับ

ปุ๋ยเคมีบางชนิดมีผลทำให้ดินมีความเป็นกรดสูงขึ้น ซึ่ง

เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อสาเหตุโรคพืชได้

จากผลกระทบดังกล่าวเกษตรกรจึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ในการซื้อปุ๋ย และสารเคมีต่างๆ ซึ่งตรงข้ามกับราคา

ผลผลิตของเกษตรกรกลับลดลงจึงทำให้ เกษตรกร

ประสบกับปัญหาการขาดทุนไม่สามารถที่จะดำรงชีพ

โดยพึ่งพาการทำการเกษตรเพียงอย่างเดียวได้ เกษตรกร

จำเป็นต้องดิ้นรนหารายได้ในด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม

รายได้จากการประกอบอาชีพงานด้านอื่นไม่เพียงพอต่อ

การนำไปเลี้ยงครอบครัว ดังนั้นระบบการเกษตรอินทรีย์

เป็นเกษตรกรรมทางเลือกอีกประเภทหนึ่งในการผลิต

สินค้าอาหารที่มาจากการทำเกษตรกรรมโดยยึดหลัก

การทำการเกษตรตามวิถีทางธรรมชาติ ซึ่งสามารถใช้

สารอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์ แต่ห้ามใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี

ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมี และเมล็ดพันธุ์พืชที่มีการตัดต่อ

พันธุกรรมในกระบวนการเพาะปลูก ทั้งนี้วิธีการทำการ

เกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ต้องมีขั้นตอนกระบวนการ

ตรวจสอบในไร่นาและระบบรับรองกระบวนการผลิต

และคุณภาพของผลผลิตอย่ างชัด เจน และโปร่งใส

ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะส่งผลโดยตรงต่อการอนุรักษ์

สิ่ งแวดล้อม เพราะทำให้ดิน น้ ำ และอากาศดีขึ้น

นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจาก

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

80

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนหรือตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร

ที่นำไปบริโภค ซึ่งผู้บริโภคในประเทศพัฒนาแล้วได้

เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญในเรื่องนี้ จึงมีแนวโน้ม

ที่จะบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์

เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

ปัจจุบันพบว่ามีองค์กรของภาครัฐและเอกชนหลาย

หน่วยงานเริ่มให้ความสนใจและลงทุนในเชิงธุรกิจอย่าง

จริงจังมากขึ้น [6] อย่างไรก็ตามการทำเกษตรอินทรีย์

ในประเทศไทยมีน้อยและบางครั้งเกษตรกรอาจเข้าใจ

ความหมายและการทำเกษตรอินทรีย์ไม่ชัดเจน

ความหมายของเกษตรอินทรีย์

มีผู้มีความรู้และความชำนาญรวมทั้งผู้เกี่ยวข้อง

ได้ให้คำจำกัดความของเกษตรอินทรีย์มากมายหลาย

มุมมอง เช่น กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาในปี

ค.ศ. 1981 รายงานว่าเกษตรอินทรีย์หมายถึง ระบบการ

ผลิตทางการเกษตรที่หลีกเลี่ยงและละเว้นการใช้ปุ๋ยเคมี

สังเคราะห์ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และฮอร์โมนที่กระตุ้น

การเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ สหพันธ์เกษตรอินทรีย์

นานาชาติ (International Federation of Organic

Agriculture Movements; IFOAM) ซึ่งเป็นเครือข่ายของ

องค์กรด้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศที่มีสมาชิก

กว้างขวางที่สุดในโลก นิยามความหมายเกษตรอินทรีย์

ไว้ว่า เกษตรอินทรีย์ คือระบบการเกษตรที่ผลิตอาหาร

และเส้นใยด้วยความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม สังคม และ

เศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพ

ต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิ เวศ

การเกษตร เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยการผลิต

จากภายนอกและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น

ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ใน

ขณะเดียวกันพยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่ม

ผลผลิตและพัฒนาความต้านทานต่อโรคและแมลง

หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากลที่สอดคล้อง

กับเงื่อนทางเศรษฐกิจ สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรม

ของท้องถิ่นด้วย นอกจากนี้เกษตรอินทรีย์มีการประยุกต์

ปรับใช้กลไกธรรมชาติในการผลิตและปฏิเสธแนวทาง

การเกษตรที่พยายามฝืนหรือเอาชนะวิถีแห่งธรรมชาติ

[8,9] สำหรับประเทศไทยกรมส่งเสริมการเกษตร [10]

ให้ความหมายของเกษตรอินทรีย์ คือการทำเกษตร

อินทรีย์ เพื่อลดและเลิกการใช้สารเคมี และกลับมาสู่

กระบวนการผลิตตามธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยน้ำหมักทาง

ชีวภาพแทนการใช้สารเคมี ในระยะแรกการใช้น้ำหมัก

อ า จ ไ ด้ ผ ล น้ อ ย แ ต่ เ มื่ อ ใ ช้ ร ะ ย ะ ห นึ่ ง จ ะ เ ห็ น ค ว า ม

เปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ

สุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี

ลดลง สภาพแวดล้อมดีขึ้น และที่เห็นได้อย่างชัดเจนคง

หนีไม่พ้นเรื่องของดินที่กลับคืนมาสู่ความอุดมสมบูรณ์

อย่างยั่งยืน เกษตรอินทรีย์อาศัยการปลูกพืชหมุนเวียน

จากเศษซากพืช มูลสัตว์ พืชตระกูลถั่ ว ปุ๋ ยพืชสด

เศษซากเหลือทิ้งต่างๆ การใช้ธาตุอาหารจากการผุพัง

ของหินแร่ รวมถึงการใช้หลักการควบคุมศัตรูพืช โดย

วิธีชีวภาพ เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับ

เป็นแหล่งอาหารของพืช รวมทั้งการควบคุมศัตรูพืชต่างๆ

เช่น แมลงศัตรูพืชและวัชพืช ดังนั้นจากความหมาย

ดังกล่าวเกษตรอินทรีย์ให้ความสำคัญของดินเป็นปัจจัย

หลัก เนื่องจากดินเป็นรากฐานของสิ่งมีชีวิตในการเกื้อกูล

การดำรงชีพของมนุษย์ สัตว์ พืชและสิ่ งมีชีวิตที่มี

ขนาดเล็ก ซึ่งอาศัยอยู่ในดิน [11] ดังนั้นเกษตรอินทรีย์

จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับความ

อุดมสมบูรณ์ของดิน

ความอุดมสมบูรณ์ของดินในการผลิต

ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์

ความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยทั่วไปหมายถึง

ความสามารถของดินในการให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ

เจริญเติบโตของพืช ซึ่งส่วนประกอบหลักของดินนั้น

ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ อนินทรียสาร (inorganic) น้ำ

(water) อากาศ (air) และอินทรียสาร (organic) เมื่อ

พิจารณาถึงดินที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

ของพืชจะต้องมีสัดส่วนของส่วนประกอบดังกล่าวคือ

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

81 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

อนินทรียสาร 45 เปอร์เซ็นต์ น้ำ 25 เปอร์เซ็นต์ อากาศ

25 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียสาร 5 เปอร์เซ็นต์ ในส่วน

ของอินทรียสารนั้นการทำการเกษตรอินทรีย์พบว่าเป็น

ส่วนประกอบที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมี

คุณสมบัติในการควบคุมสมบัติทางกายภาพ ชีวภาพ

และเคมีของดิน นอกจากนี้อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร

และพลังงานให้กับสิ่งมีชีวิตเล็ก ซึ่งอาศัยอยู่ในดิน ได้แก่

โปรโตซัว แมลงที่เป็นประโยชน์ขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือน

(nematode) เชื้อจุลินทรีย์พวกรา (fungi) แบคทีเรีย

(bacteria) และยีสต์ (yeast) จึงกล่าวได้ว่าความสมบูรณ์

ของดินในระบบเกษตรอินทรีย์มิได้มุ่งเน้นถึงแร่ธาตุที่พืช

ต้องการ แต่จะต้องเป็นดินที่มีชีวิต คือดินที่มีความ

อุดมสมบูรณ์ได้จะต้องมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในดินเป็น

จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์

ในดินหลายกลุ่มมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบ

รากพืชในดินรวมถึงอินทรียวัตถุในดิน [9] เช่น

กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุ

กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีบทบาทสำคัญในดิน ซึ่งบ่งบอก

ถึงความสมบูรณ์ของดินมีหลายกลุ่ม กลุ่มจุลินทรีย์

กลุ่มแรก คือจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุ ซึ่งจัดว่า

เป็นกลุ่มที่มีปริมาณมากที่สุด จุลินทรีย์กลุ่มนี้ได้พลังงาน

และแหล่งคาร์บอนจากอินทรียวัตถุในวัสดุเศษพืชจะมี

สารประกอบคาร์บอนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเซลลูโลส

และลิกนิน เป็นอินทรียสารในรูปที่ยังไม่เป็นประโยชน์

ต่อพืช ดังนั้นจุลินทรีย์กลุ่มนี้จะมีการสร้างน้ำย่อยเพื่อ

ย่อยสลายสารอินทรีย์ดังกล่าว หลังจากการย่อยสลายแล้ว

จะได้น้ำตาลกลูโคสซึ่งมีขนาดโมเลกุลเล็กลงรวมทั้งจะได้

คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการ

สร้างเซลล์จุลินทรีย์และธาตุอาหารที่ เป็นประโยชน์

ต่อพืช

กลุ่มจุลินทรีย์แปรสภาพไนโตรเจน

ในสภาพปกติปริมาณไนโตรเจนที่สะสมอยู่ใน

ดินส่วนใหญ่ได้มาจากซากพืชหรือซากสัตว์ที่ตายแล้ว

และอยู่ในรูปอินทรีย์ไนโตรเจนมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์

โดยจะประกอบด้วยสารประกอบอะมิโนหรือโปรตีน

กรดอะมิโนอิสระ น้ำตาลอะมิโนพวกกลูโคซามีนและ

แกแลคโตซามีน ซึ่งได้มาจากกรดนิวคลีอิค จุลินทรีย์

ในดินได้แก่ จุลินทรีย์ในสกุล bacillus, Arthrobacter

S t r e p t o m y c e s , A s p e r a i l l u s N i t r o b a c t e r แ ล ะ

Nitrosomonas จะสร้างน้ำย่อยพวก protease เพื่อ

เปลี่ยนโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน น้ำตาล ribose และ

deoxyribose ซึ่งสารดังกล่าวนี้ส่วนหนึ่งเป็นอาหาร

ของจุลินทรีย์ เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ และอีกส่วนหนึ่ง

แปรสภาพต่อไปเป็นอนินทรีย์ไนโตรเจน ซึ่งเป็นรูป

ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ แอมโมเนียม และไนเตรท

นอกจากนี้สารประกอบอะมิโนจะสามารถรวมตัวกับสาร

ควิโนนกลายเป็นสารประกอบฮิวมัส ซึ่งเป็นอินทรียสาร

ที่ เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน และมีบทบาท

สำคัญต่อการควบคุมเสถียรภาพของโครงสร้างดินและ

เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้จุลินทรีย์ดิน

บางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเปลี่ยนให้เป็น

สารประกอบไนโตรเจน ซึ่งมีประโยชน์ต่อพืชได้ เช่น

แบคทีเรียในสกุล Azotobacter Beijerinckia Spirillum

และ Clostridium จุลินทรีย์ดินที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ

แบคทีเรียในสกุล rhizobium มีความสามารถพิเศษใน

การตรึงไนโตรเจนแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยโดยสร้างปม

ที่รากพืชตระกูลถั่วและไรโซเบียมจะเปลี่ยนไนโตรเจน

ที่ตรึงจากอากาศให้เป็นแอมโมเนียมและกรดอะมิโน ซึ่ง

จะใช้สั ง เคราะห์ โปรตีนและสารประกอบอินทรี ย์

ไนโตรเจน โดยส่วนหนึ่งจะใช้ในการเจริญและแบ่ง

เซลล์ของไรโซเบียม อีกส่วนหนึ่งจะเป็นประโยชน์กับ

พืชตระกูลถั่ วทำให้มีการเจริญเติบโตดีและผลผลิต

เพิ่มขึ้น และบางส่วนปลดปล่อยออกมาสู่ดิน [12]

กลุ่มจุลินทรีย์แปรสภาพฟอสฟอรัส

สารประกอบกลุ่มอินทรีย์ฟอสฟอรัสซึ่งไม่มี

ประโยชน์ต่อพืช จะอยู่ในรูปของ phytin และ phosphoric

acid ปกติจุลินทรีย์ในดินจะสร้างน้ำย่อย phytase หรือ

phosphatase เพื่อแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัสให้อยู่ใน

รูปของอนินทรีย์ฟอสฟอรัสที่เรียกว่า orthophosphate

ซึ่งเป็นพวก mono และ dihydrogen phosphate นอกจากนี้

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

82

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

สารประกอบอนินทรีย์ฟอสฟอรัสบางชนิดอยู่ในรูปของ

หินฟอสเฟตซึ่งพืชยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

ดั งนั้ นมี จุ ลินทรี ย์บางชนิดในสกุล Bac i l l u s และ

Aspergillus สร้างกรดอินทรีย์พวกกำมะถัน ละลาย

ฟอสฟอรัสออกมาให้อยู่ในรูปที่ เป็นประโยชน์ต่อพืช

ได้ [6]

กลุ่มจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดิน

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาการแพร่ระบาด

ของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคพืชในดิน ซึ่งเป็นปัญหา

ที่มีความสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่การเกษตร

ที่มีอินทรียวัตถุในดินต่ำ และมีระดับธาตุอาหารในดิน

ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช ส่งผลให้ต้นพืช

อ่อนแอและมีความสามารถในการต้านทานโรคพืชลดลง

เชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับพืชมีหลายชนิด ได้แก่

เชื้อรา Aspergillus flavus, Macrophomina phaseolina,

Rhiaoctonia solani, Fusarium solani และ Sclerotium

rolfsi i จุลินทรีย์ดังกล่าวทำความเสียหายให้กับพืช

เ ศ ร ษ ฐ กิ จ ห ล า ย ช นิ ด ไ ด้ แ ก่ ข้ า ว โ พ ด เ ลี้ ย ง สั ต ว์

ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ถั่วเหลือง และถั่วเขียว

เป็นต้น ในสภาพดินร่วนปนทรายซึ่งมีปริมาณอินทรียวัตถุ

ต่อพื้นที่น้อยจะมีปัญหาในการดูดซับน้ำลดลง ส่วน

ดิ น เ ห นี ย ว มี ลั ก ษ ณ ะ ใ น ก า ร ร ะ บ า ย น้ ำ ไ ม่ ดี ส ภ า พ

ดังกล่าวนี้จะมีความเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของ

เ ชื้ อ โ ร ค พื ช ใ น ดิ น ไ ด้ แ ก่ เ ชื้ อ ร า M a c r o p h o m i n a

phaseolina และ Rhizoctonit solani เมื่อมีการเพิ่ม

อินทรียวัตถุให้กับดิน ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและ

วัสดุตอซัง จะมีผลต่อการลดจำนวนประชากรของ

เชื้อโรคพืชในดิน การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน จะมีผล

ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มจุลินทรีย์ที่ เป็นประโยชน์ในดิน

ได้แก่ Bacillus sp. Streptomyces sp. และ Trichoderma sp.

กลุ่มจุลินทรีย์ดังกล่าวมีความสามารถในการย่อยสลาย

เศษวัสดุอินทรีย์ ได้ดี ดังนั้นจะสามารถแก่งแย่งธาตุ

อาหารจากแหล่งวัสดุอินทรีย์ได้ดีกว่ากลุ่มจุลินทรีย์เป็น

โทษต่อพืช นอกจากนี้ขณะที่มีการย่อยสะลายปุ๋ยพืชสด

ฟ า ง ข้ า ว แ ล ะ ต อ ซั ง พื ช จ ะ ส ร้ า ง อิ น ท รี ย์ จ ำ พ ว ก

สารระเหย ได้แก่ e thana l และ CO 2 รวมถึงกรด

อินทรีย์หลายชนิด เช่น lactic, acetic, butyric และ

formic acids ซึ่งจะมีผลต่อการเข้าทำลายผนังเซลล์

ข อ ง เ ชื้ อ โ ร ค พื ช ส่ ง ผ ล ใ ห้ เ ชื้ อ โ ร ค ล ด ล ง ไ ด้ ซึ่ ง จ า ก

ความอุดมสมบูรณ์ของดินและจุลินทรีย์ต่างๆ เหล่านี้

ส่งผลต่อการบริหารการจัดการเกษตรอินทรีย์ของไทย

การบริหารการจัดการโดยวิธีทางธรรมชาติของระบบการทำเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย

การทำเกษตรอินทรีย์มีจุดมุ่งหมายในการฟื้นฟู

และรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ระบบนิเวศเกษตร

ด้วยวิธีการที่ยั่งยืน ซึ่งเทคนิควิธีทางธรรมชาติต่างๆ

ในแต่ละวิธีจะมีความเชื่อมโยงกันอยู่ ดังนั้นจึงไม่สามารถ

เลือกใช้เพียงวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำพาไปสู่จุด

มุ่งหมายสูงสุด แต่ต้องใช้กรรมวิธีหลายๆ วิธีประกอบ

กันเพื่อให้ได้ผลสำเร็จ [13]

1. การใช้วัสดุเหลือใช้คลุมดิน โดยใช้เศษซาก

อินทรียวัตถุพวกใบไม้ ฟางข้าว แกลบ ชานอ้อย มูลสัตว์

หรือปล่อยให้มีพืชขึ้นปกคลุมดินในบริเวณที่ต้องการ

เพื่อรักษาความชื้นและอุณหภูมิภายในดิน เพื่อป้องกันการ

ชะล้างของผิวดินที่ เกิดจากน้ำและลม และเป็นการ

บำรุงดินรวมทั้งการควบคุมวัชพืช

2. การปรับปรุงดินโดยใช้พืชตระกูลถั่ว (Legu-

minosae) เนื่องจากพืชตระกูลถั่วมีประโยชน์ในการให้ปุ๋ย

ไนโตรเจนแก่ดิน (ไนเตรท และแอมโมเนีย) ช่วยให้เศษ

ซากพืชย่อยสลายได้ดีขึ้น ลดการระบาดของแมลง รักษา

ความชื้นของดิน และสามารถป้องกันการชะล้างของ

ผิวหน้าดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หินแร่ และเศษวัสดุ

จากการเกษตร ธาตุอาหารที่ได้จากกระบวนการเน่าเปื่อย

ผุพังของปุ๋ยประเภทนี้ เป็นประโยชน์ต่อพืชในขณะ

เ ดี ย ว กั น ก็ ไ ม่ เ ป็ น อั น ต ร า ย ต่ อ ค ว า ม ส ม ดุ ล แ ล ะ สิ่ ง

มีชีวิตในดิน

4. การลดการไถพรวนดิน สำหรับการผลิตพืช

ภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์ การไถพรวนเป็นสาเหตุหนึ่ง

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

83 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ที่ทำให้โครงสร้างของดินเสียหาย ดังนั้นการไถพรวน

ให้น้อยที่สุด หรือไถพรวนแบบอนุรักษ์เพื่อลดการรบกวน

กิจกรรมและปริมาณของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ

ที่เป็นประโยชน์ต่อดิน

5. การผสมผสานระหว่างการปลูกพืชและเลี้ยง

สัตว์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงหมูควบคู่กับ

การเลี้ยงปลา การเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการปลูกหญ้า เพื่อ

หมุนเวียนการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรต่างๆ ในไร่นา

และเป็นการจัดการทรัพยากรในไร่นาให้เกื้อกูลประโยชน์

ซึ่งกันและกัน ทั้งในเรื่องการควบคุมศัตรูพืชและการ

เพิ่มอินทรียวัตถุ จึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพาปุ๋ยวิทยาศาสตร์

(ปุ๋ยเคมี) หรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

6. การควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชโดยไม่ใช้สาร

ฆ่าแมลง ในการปลูกพืชภายใต้ระบบเกษตรอินทรีย์หากมี

วัชพืชมากสามารถควบคุมได้โดยปลูกพืชหลายชนิด ปลูก

พืชคลุมดินหรือใช้กลวิธีปล่อยวัชพืชขึ้นในหน้าแล้งแล้ว

ตัดในหน้าฝน ส่วนการควบคุมแมลงที่ เป็นศัตรูพืช

ทำได้โดยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน อนุรักษ์แมลง

ที่มีประโยชน์ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ด้วงเต่า มวนเพชฌฆาต

แมลงปอ และแมลงช้างปีกใส รวมทั้งมีการปลูกพืชที่มี

กลิ่นฉุน เช่น ดาวเรือง กระเทียม ผักกาดหอม ตะไคร้ และ

สารสะเดา เพื่อป้องกันแมลงเข้าทำลายพืชปลูก ซึ่งการ

จัดการต่างๆ เหล่านี้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ผู้ที่

ได้ชื่อว่าสามารถควบคุมธรรมชาติได้ [1]

บทบาทการทำเกษตรอินทรีย์ต่อความเป็นอยู่

ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

เกษตรอินทรีย์จะต้องเสริมสร้างสุขภาพของดิน

พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักความ

เป็นองค์รวมที่ไม่อาจแบ่งแยก หลักการข้อนี้ชี้ให้เห็นว่า

สุขภาพของมนุษย์ในฐานะปัจเจกบุคคล หรือชุมชนกับ

สุขภาพของระบบนิเวศนั้นไม่อาจแบ่งแยกออกจากกัน

ด้วย เหตุผลว่ าพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่ จะมีประโยชน์

เกื้อกูลต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์นั้นจะเพาะปลูกได้

ในดินที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น สุขภาพคือความเป็นองค์รวม

และเอกภาพของระบบชีวิตทั้งมวลมิใช่เป็นแค่ภาวะที่

ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความสามารถในการ

ปรับตัว การฟื้นฟูตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เป็นลักษณะที่

สำคัญของสุขภาพเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป

การจำหน่ายหรือการบริโภค มีบทบาทในการสร้างเสริม

ความยั่งยืน และสุขภาพของระบบนิเวศและสรรพชีวิต

ตั้งแต่จุลินทรีย์ในดินไปจนถึงมนุษย์หรือกล่าวว่าเกษตร

อินทรีย์มุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพ และคุณค่าทาง

โภชนาการ เพื่อเกื้อกูลต่อการดูแลสุขภาพ และชีวิตความ

เป็นอยู่ในเชิงป้องกัน ด้วยเหตุนี้เกษตรอินทรีย์จึงหลีกเลี่ยง

และละเว้นจากการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช

ยาสำหรับสัตว์ และสารปรุงแต่งอาหารต่างๆ เพราะสิ่ง

เหล่านี้ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม [4]

1. ด้านสิ่งแวดล้อม

1.1 เกษตรอินทรีย์ฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับคืนสู่

สภาพสมดุล เพราะพฤติกรรมและรูปแบบทางการผลิต

จะงดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

1.2 เกษตรอินทรีย์สร้างความหลากหลายทั้ง

พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ โดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบ

ทางการผลิตเชิงเดี่ยวมาสู่การปลูกพืชหลายชนิดผสม

ผสานกับการเลี้ยงสัตว์ที่เกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

1.3 เกษตรอินทรีย์ประหยัดพลังงานและมีการ

ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการใช้เครื่อง

จักรกลทางการเกษตรที่ใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็น

ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป

2. ด้านเศรษฐกิจ

เกษตรอินทรีย์มีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรสามารถ

พึ่งตนเองได้ทั้งด้านรายได้ อาหารและปัจจัยการผลิต [14]

2.1 รายได้ เกษตรอินทรีย์ในระยะเริ่มต้นอาจไม่

สามารถตอบสนองความต้องการทางด้านผลผลิตและ

รายได้ แต่ในระยะยาวความมั่นคงด้านอาหารและรายได้

เป็นตัวเงินจะมีอย่างสม่ำเสมอเพราะเทคนิค วิธีการผลิต

และการจัดการทรัพยากรแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ช่วยให้

เกษตรกรลดภาระค่าใช้จ่ายอีกด้วย เช่น ค่าปุ๋ยเคมี ค่า

สารเคมี ค่าน้ำมัน และค่าอาหาร เป็นต้น ส่วนรายได้จะ

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

84

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

มาจากการขายผลผลิตที่ เกินความต้องการบริโภคใน

ครอบครัว และเกษตรกรมีอิสระในการกำหนดชนิด

สินค้าและราคาที่จะขายไม่ต้องอาศัยพ่อค้าคนกลาง

เกษตรกรรมอินทรีย์อาจให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

ต่ำกว่าในบางพื้นที่ แต่หากคิดต้นทุน ความเสียหาย

ที่เกิดจากการชะล้างการเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ของดิน

และมลพิษที่เกิดจากสารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรกรรม

อินทรีย์ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ยิ่งในบางสถานการณ์

เช่น กรณีเกิดความแห้งแล้ง เกษตรกรรมอินทรีย์ให้ผล

ดีกว่า เนื่องจากมีวัสดุปกคลุมดิน ทำให้โครงสร้างของดิน

สามารถต้านทานการขาดน้ำได้ดีกว่า

2.2 อาหาร เกษตรอินทรีย์ปฏิเสธการผลิตเพื่อ

ขายเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งเน้นการผลิตเพื่อบริโภคใน

ครัวเรือนและตลาดท้องถิ่นเป็นสำคัญ รูปแบบการผลิต

จึงเป็นการปลูกพืชหลายชนิดที่ให้ผลผลิตหมุนเวียนไป

ตลอดปีเพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการพื้นฐานของ

ครอบครัวและชุมชน

2.3 ปัจจัยการผลิต เกษตรอินทรีย์มีการใช้ปัจจัย

การผลิตที่จัดหาได้ในครอบครัวและชุมชนไม่ต้องพึ่งพา

ปัจจัยการผลิตจากภายนอกชุมชน ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม

และการตัดสินใจของเกษตรกร

3. ด้านสังคม

เกษตรอินทรีย์มุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

รวมถึงสร้างความเท่าเทียมและยุติธรรมทางสังคม

3.1 การบริโภค ผู้บริโภคเกษตรอินทรีย์จะต้อง

ปรับเปลี่ยนแบบแผนการบริโภค ควบคู่กับผู้ผลิตที่ต้อง

ปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิต เช่น การปรับเปลี่ยนค่า

นิยมการบริโภคเนื้อสัตว์มาเป็นการบริโภคผัก และธัญพืช

เนื่องจากสัตว์มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์และแปรรูป

ธาตุอาหารต่ำกว่าพืช ดังนั้นการผลิตอาหารที่มีปริมาณ

พลังงานเท่ากัน การเลี้ยงสัตว์จะต้องใช้ทรัพยากรมาก

กว่าการผลิตพืชอาหารหรือการปรับเปลี่ยนค่านิยมการ

บริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมมาเป็น

การบริโภคอาหารจากธรรมชาติโดยตรง

3 . 2 วิ ถี ชี วิ ต รู ป แ บ บ ก า ร ด ำ ร ง ชี วิ ต จ ะ ต้ อ ง

สอดคล้องกันสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ รู้จักบริโภค

ทรัพยากรที่มีอยู่ในไร่นาของตนอย่างมีประสิทธิภาพ

มีความขยันขันแข็งในการทำงาน หมั่นหาความรู้ในการ

เกษตรและพัฒนาตนเองอยู่ เสมอ รวมทั้ งลดความ

ต้องการด้านวัตถุที่เกินความจำเป็นลง

3.3 การพึ่งพาอาศัยกัน วิธีการผลิตของเกษตร

อินทรีย์ให้ความสำคัญกับการดำรงอยู่ร่วมกันของชาวบ้าน

เกษตรกรจะต้องพึ่งพาอาศัยกันหรือรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็น

องค์กรท้องถิ่นของเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืน

เ พื่ อ เ ป็ น ห ลั ก ป ร ะ กั น ค ว า ม ส ำ เ ร็ จ ข อ ง ก า ร พั ฒ น า

เกษตรกรรมช่วยให้ฐานทรัพยากรของชุมชนมั่นคง

เศรษฐกิจดีขึ้น เกษตรกรพึ่ งตนเองได้และมีสุขภาพ

แข็งแรง

3.4 การจัดการทรัพยากร ลักษณะการกระจาย

การผลิตในไร่นาช่วยลดความจำเป็นในการใช้พื้นที่ขนาด

ใหญ่ของเกษตรกรแต่ละราย จึงสามารถกระจายการ

ถือครองที่ดินให้เกษตรกรที่ไร้ที่ดินทำกินได้ การบริหาร

จัดการทรัพยากรในระดับครอบครัวเน้นการมีส่วนร่วม

ของสมาชิกทุกคน และบทบาทที่เท่าเทียมกันระหว่างชาย

และหญิง ส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรในระดับ

ชุ ม ช น ส่ ง เ ส ริ ม ใ ห้ มี ก า ร ก ร ะ จ า ย อ ำ น า จ แ ล ะ ก า ร มี

ส่วนร่วมของประชาชน

3.5 อุดมการณ์ การทำลายสิ่งแวดล้อมอย่าง

ใหญ่หลวงในช่วง 200 ปีที่ผ่านมามีต้นเหตุจากความ

คิดที่มองสิ่งแวดล้อมมีค่าเป็นเพียงวัตถุและคิดว่ามนุษย์

ส า ม า ร ถ ด ำ ร ง อ ยู่ ไ ด้ โ ด ย ไ ม่ จ ำ เ ป็ น ต้ อ ง พึ่ ง พ า อ า ศั ย

สิ่งแวดล้อมเพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยคอยอำนวย

ค ว า ม ส ะ ด ว ก อ ยู่ แ ล้ ว จุ ด มุ่ ง ห ม า ย ขั้ น สู ง สุ ด ข อ ง

เกษตรกรรมแบบยั่งยืน คือการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์

สิ่งแวดล้อมที่ต้นเหตุ โดยการปรับเปลี่ยนแนวความคิด

ที่มองโลกแบบแยกส่วนมีมนุษย์ เป็นศูนย์กลางและ

เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติมาสู่แนวความคิดแบบองค์รวม

อ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติยอมรับว่ามนุษย์ เป็น

เพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ ซึ่งจะต้องพึ่งพาอาศัย

ซึ่งกันและกันกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลกใบนี้

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

85 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ความเป็นมาของเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย สินค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ (organic foods) ของ

ประเทศไทยเริ่มต้นดำเนินการส่งออกยังต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวง

เกษตรและสหกรณ์ให้การสนับสนุนบริษัทในเครือสยาม

ไชยวัฒน์และบริษัทในเครือนครหลวงค้าข้าวจำกัด

ดำเนินการผลิตข้าวอินทรีย์ โดยให้คำปรึกษาแนะนำและ

ประสานงานกับทุกๆ ฝ่ายที่ เกี่ ยวข้อง นอกจากนี้มี

เกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะจากจังหวัดพะเยา

และเชียงรายขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมากและได้

คัด เลือก เกษตรกรที่ มี คุณสมบัติ เหมาะสมไว้ เพี ยง

บางส่วนเพื่อเข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ยังมีองค์กร

พัฒนาเอกชน (NGOs : Non Governmental Organizations)

และบริษัทเอกชนอื่นๆ ให้การสนับสนุนเกษตรกรในการ

ผลิตข้าวอินทรีย์ ซึ่งข้าวอินทรีย์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่ง

ไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบ

ยุโรปส่วนที่เหลือจะวางจำหน่ายภายในประเทศ ราคา

ข้าวเปลือกอินทรีย์ที่ เกษตรกรได้รับจะสูงกว่าราคา

ข้าวเปลือกทั่วไป ประมาณร้อยละ 10 แต่ในส่วนที่เป็น

ข้าวสารบรรจุถุงวางจำหน่ายในประเทศไทยมีราคาสูงกว่า

ข้าวสารทั่วไปประมาณร้อยละ 20

ปี พ.ศ. 2538 มีองค์การอิสระคือสำนักงาน

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มกท.ได้ก่อตั้งขึ้นด้วย

ความร่วมมือของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบัน

วิชาการ หน่วยงานรัฐ องค์กรผู้บริโภค และเครือข่าย

ร้านค้าสีเขียวได้ยกร่างมาตรฐานเกษตรทางเลือกขึ้น

ในปี 2542

ช่วงต้นปี พ .ศ . 2540 ได้มีการก่อตั้ งชมรม

เกษตรธรรมชาติแห่งประเทศไทยขึ้น โดยการรวมตัวของ

นักวิชาการ เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค โดยได้รับการ

สนับสนุนจากกองพัฒนาการบริหารงานเกษตร กรม

ส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี

วัตถุประสงค์สำคัญคือส่งเสริมเผยแพร่วิธีการทำเกษตร

ธรรมชาติด้วยเทคนิคจุลินทรีย์ท้องถิ่นให้แก่เกษตรกร

และผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้การเกษตรธรรมชาติเป็นทางเลือก

ใหม่อีกทางหนึ่งของเกษตรกรไทย

ปี พ.ศ. 2542 กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวง

พาณิชย์ ได้อนุมัติแผนงานโครงการส่งเสริมให้ประเทศ

ไทยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารเกษตร

อินทรีย์เป็นแนวโครงการต่อเนื่อง 5 ปี (2542 – 2546) โดย

สำนักบริการส่งออกเป็นแกนกลางและประสานงานกับ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนา

และส่งเสริมกลุ่มผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร

ประเภทเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคใน

ตลาดส่งออกสินค้าอาหารหลักของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น ยุโรป

และสหรัฐอเมริกา มีแนวความคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

จึงต้องการให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมและห่วงใยสุขภาพของตนเองเพิ่มมากขึ้น

ส่งผลให้สัดส่วนความต้องการสินค้าอาหารประเภท

เ ก ษ ต ร อิ น ท รี ย์ มี แ น ว โ น้ ม เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น แ ล ะ ปั จ จุ บั น

ประเทศไทยมีโอกาสสูงในการขยายตลาดสินค้าอาหาร

ในหมวดสินค้าใหม่และเพิ่มมูลค่าได้มากขึ้นในตลาด

สินค้าหลัก [7,15]

1 7 กั น ย า ย น พ . ศ . 2 5 4 2 ไ ด้ มี ก า ร ส่ ง ม อ บ

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ฉบับแรกของประเทศให้แก่

กรมวิชาการ เกษตรเพื่ อนำไปปรับปรุ งและใช้ เป็น

มาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และให้เกิด

ประโยชน์ต่อพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย

ต่อไป ซึ่งมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย

ดำเนินการจัดทำโดยสถาบันวิจั ยวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมวิชาการเกษตรและ

กรมส่งเสริมการส่งออกประกอบด้วยพืชเกษตรอินทรีย์

ส่ งออก 7 ชนิด ได้แก่ ข้ าวโพด ข้ าวโพดฝักอ่อน

หน่อไม้ฝรั่ง กล้วยไข่ กระเจี๊ยบเขียว ขิง และสับปะรด

นอกจากนี้กรมส่งเสริมการส่งออกได้ดำเนินกิจกรรม

คู่ขนานกับโครงการนำร่อง โดยการผลิตอาหารเกษตร

อินทรีย์เพื่อส่งออกซึ่งมีพืชทดลองปลูก 3 ชนิด ได้แก่

ข้าวโพดฝักอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง และกล้วยไข่

ปี พ.ศ. 2543 มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ

วิจัยและศึกษาการตรวจสอบรับรองระบบมาตรฐาน

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

86

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

เกษตรอินทรีย์และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุ

ผลิตภัณฑ์ และติดฉลากเพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตร

อินทรีย์ นอกจากนี้กรมพัฒนาที่ดินมีการบำรุงดินด้วย

ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ไถกลบ ตอซัง และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เพื่อ

ปรับปรุงบำรุงดิน และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินให้

ได้มาตรฐานในการจัดการดินในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่ง

ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

[16,7] วิฑูรย์ และเจษณี [7] พบว่าปริมาณการผลิตผัก

ผลไม้ สมุนไพร และข้าวอินทรีย์ในปี 2545 มีประมาณตัน

71,533.41 ตัน คิดเป็น 2,909.08 ล้านบาท (ตาราง 1)

อย่างไรก็ตาม Yussefi and Willer [17] กล่าวว่าหาก

เปรียบเทียบพื้นที่และจำนวนฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของ

ประเทศไทยต่อจำนวนฟาร์มในภูมิภาคเอเชียและระดับ

โลกแล้ว ประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับท้ายๆ ของโลกและ

อันดับกลางๆ ของทวีปเอเชีย จึงยังเป็นได้เพียงผู้ตาม

ในระดับต้นของขบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์ เท่านั้น

ดังนั้น หากประเทศไทยต้องการประสบความสำเร็จในการ

ทำเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจัง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริม

และให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงเพราะพืชอินทรีย์

มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันเกษตรอินทรีย์

มีมูลค่าทางตลาดเพียงร้อยละ 1 – 2 ของมูลค่าการตลาด

อาหารโลก แต่คาดว่าในปี ค.ศ. 2010 ผักอินทรีย์จะมี

เพิ่ มขึ้น 10 – 30 เปอร์ เซ็นต์ของมูลค่ าการตลาด

อาหารโลก [7]

องค์ประกอบกระบวนการผลิตพืชอินทรีย์ในประเทศไทย

ผู้ผลิต (producer) คือ เกษตรกรผู้ทำการผลิตหรือ

ผู้ปลูกพืชอินทรีย์ต้องเสนอขอปรับเปลี่ยนเป็นเกษตร

อินทรีย์และจะต้องจัดทำรายงานการบันทึกข้อมูลต่างๆ

ดังนี้ : ปีที่ปลูก ชนิดของพืช ที่ตั้งของพื้นที่ที่ทำการ

เพาะปลูก ผลวิเคราะห์ดิน การใช้สารเพิ่มลงในดินหรือ

ใช้กับพืช การใช้เมล็ดพันธุ์ การย้ายกล้าหรือส่วนของพืช

ผู้แปรรูปและผู้ประกอบการ (processor, manu-

facture and packer) คือผู้ทำการแปรรูปหรือผลิตอาหาร

ออกจำหน่าย และได้ขอการรับรองเป็นอาหารที่ได้จาก

พืชอินทรีย์และใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ในการแปรรูป

ผู้ดำเนินการ การจัดการ ผู้ขนย้าย และผู้ประกอบ

การ (handler and operator) คือผู้ที่ทำการขนส่ง เก็บ ซื้อ

และจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยต้องเก็บบันทึก

ข้อมูลที่ถูกต้องของชื่อ และที่อยู่ของบุคคลที่ติดต่อ

ซื้ออาหารวันที่ และปริมาณของอาหารที่ซื้อ และสำเนา

ใบสั่งซื้อ

องค์กรรับรองและตรวจสอบคุณภาพ (certifica-

tion and inspection body) : คือ องค์กรหรือหน่วยงานที่

รับผิดชอบในการติดต่อตรวจสอบเพื่อให้ได้ใบรับรองใน

ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนั้นได้มาตรฐานและสามารถติด

ฉลากว่าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ โดยได้ผ่านการผลิต

การขนย้าย การแปรรูป ตามหลักการต่างๆ ของผลิตภัณฑ์

เกษตรอินทรีย์ สำหรับประเทศไทยมีสำนักงานมาตรฐาน

เกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งก่อตั้งในปีพ.ศ. 2541 โดยจัดตั้ง

ตารางที่ 1 การผลิตและการส่งออกผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทย [7]

ประเภทพืช ผลผลิต (ตัน) ตลาดภายใน (ล้านบาท) ตลาดส่งออก (ล้านบาท) รวม (ล้านบาท)

ข้าว 8,350.49 23.43 68.99 92.42

ผัก ไม้ผล และสมุนไพร 63,182.92 2,779.71 36.95 2,816.66

รวม 71,533.41 2,803.14 105.94 2,909.08

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

87 วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เป็นสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) และ

ปรับปรุงมาตรฐานให้เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ครั้งแรก

คือ มาตรฐาน มกท. 2542 และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

โดยมีหน้าที่ เป็นผู้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ

ประเทศไทย

ระบบรับรองคุณภาพ (Accreditation body)

สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) เป็นองค์กรที่

กำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และรับรองผลิตภัณฑ์นั้น

เป็นเกษตรอินทรีย์และออกใบรับรองหรือเครื่องหมาย

เกษตรอินทรีย์ โดยพิจารณาการสมัครขอรับรองมาตรฐาน

เกษตรอินทรีย์มี 4 ประเภท โดยแบ่งตามลักษณะการ

ผลิตของผู้ผลิตและผู้ประกอบการประกอบด้วย

1. การสมัครขอรับรองฟาร์ม ผู้สมัครคือเกษตรกร

หรือผู้ประกอบการ ที่ทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ต้องการ

ให้สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรองฟาร์มและ

ผลผลิตในฟาร์ม การบรรจุผลิตผลอินทรีย์ของตนเองเพื่อ

จำหน่าย รวมถึงการแปรรูปในครัวเรือน หรือการแปรรูป

ขนาดเล็ก โดยใช้ผลิตผลอินทรีย์จากฟาร์มตนเอง

2. การสมัครขอรับรองการประกอบการ ผู้สมัคร

คือเกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่นำผลิตผลเกษตร

อินทรีย์ของตนเองหรือของผู้อื่นมาแปรรูปหรือเป็นส่วน

ผสมในการแปรรูป รวมถึงการรวบรวมผลิตผลอินทรีย์มา

ทำการบรรจุใหม่และจัดจำหน่าย (ผู้ค้าปลีก/ผู้ค้าส่ง)

ต้องการให้สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรองการ

แปรรูปผลิตผล และผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ ตลอดจนการ

บรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย

3. การขอรับรองแบบโครงการ ผู้สมัครคือกลุ่ม

เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่ทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์

และมีการแปรรูปหรือจัดการผลผลิตเพื่อจำหน่ายร่วมกัน

รวมถึงการรับผิดชอบร่วมกันในการทำฟาร์มของกลุ่ม

เกษตรกรและรับซื้อผลิตผลของกลุ่มเกษตรกรมาทำการ

แปรรูปและจำหน่ายต้องการให้สำนักงานมาตรฐานเกษตร

อินทรีย์รับรองการแปรรูปผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตร

อินทรีย์ ตลอดจนการบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย

4. การขอรับรองผลิตผลจากธรรมชาติ ผู้สมัคร

คือสมาชิกในชุมชนที่ดูแลรักษาป่าหรือพื้นที่ที่จะทำการ

เก็บเกี่ยวผลิตผลต้องการให้สำนักงานมาตรฐานเกษตร

อินทรีย์รับรองผลิตผลจากธรรมชาติ การบรรจุผลิตผล

อินทรีย์ที่ตนเก็บเกี่ยวได้เพื่อจำหน่ายและการแปรรูปใน

ครัวเรือนหรือการแปรรูปขนาดเล็กที่ใช้ผลิตผลอินทรีย์

ที่ตนเองเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านี้ เป็นส่วน

ประกอบสำคัญเพื่ อ เป็นพื้นฐานของการทำเกษตร

อินทรีย์อย่างถูกต้อง [6, 14, 13, 7]

เอกสารอ้างอิง[1] นิพนธ์ ไชยมงคล. (2546). ผักอินทรีย์. สืบค้นเมื่อ 15

สิงหาคม 2552. จาก http://www.agricprod.

m j u . a c . t h / v e g e t a b l e / m e n u _ l i n k .

asp.

[2] ปวธร เดชาธีระวงศ์. (2546). พฤติกรรมการบริโภคผัก

ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

ภาคนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์.

[3] เกรียงไกร จำเริญมา. (2544). บริโภคพืชผักและผลไม้

อย่างไรให้ปลอดจากสารเคมี. วารสารกีฏและ

สัตววิทยา.23,182 – 184.

[4] ยุพา หาญบุญทรง. (2551). มาตรการสุขอนามัยและ

สุขอนามัยพืชพืชและการส่งออกสินค้าเกษตร

ของไทย.แก่นเกษตร. 36(1), 1-3.

[5] อรัญ งามผ่องใส, สุนทร พิพิธแสงจันทร์ และ วิภาวดี

ชำนาญ. (2546) . การใช้สารฆ่ าแมลงและ

สารสกัดจากพืชบางชนิดควบคุมแมลงศัตรูถั่ว

ฝักยาว. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี. 25(3), 307 – 316.

[6] วรรณลดา สุนันทพงศ์ศักดิ์. (2545). เกษตรอินทรีย์

ในประเทศไทย. เกษตรกรรมธรรมชาติ. 39 ,

10 – 32.

[7] วิฑูรย์ ปัญญากุล และ เจษณี สุขจิรัตติกาล.(2546).

การตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย. กรุงเทพฯ, มูลนิธิ

สายใยแผ่นดิน.

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

88

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยสรพงค์ เบญจศรี

[8] กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2552).

ระบบเกษตรอินทรีย์มาตรฐาน. สืบค้นเมื่อ

1 5 สิ ง ห า ค ม 2 5 5 2 . จ า ก h t t p : / / p o c .

prachinonline.com/web/home/view.php?id=367

[9] วรรณลดา สุนันทพงศ์ศักดิ์. (2546). เกษตรอินทรีย์

ในประเทศไทย. วารสารอนุรักษ์ดินและน้ำ 18,

6 – 17.

[10] กรมส่งเสริมการเกษตร. (2544). เอกสารรายงาน

สถิติการผลิตการเกษตรตามชนิดพืชเลือกตาม

กลุ่มพืชผักปีเพาะปลูก 2543/2544 ทั้งประเทศ.

กรุง เทพมหานคร : กรมส่งเสริมการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

[11] Sandler, S. R. and Karo, W. (1972). Organic

Functional Group Preparations. New York :

Academic Press.

[12] ปราโมทย์ พรสุริยา. (2537). การเปรียบเทียบและ

ถ่ายทอดลักษณะคุณภาพฝักในการผสมระหว่าง

ถั่วฝักยาวกับถั่วพุ่ม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร-

มหาบัณฑิต มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.

[13] วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2547). มาตรฐานเกษตรอินทรีย์.

กรุงเทพฯ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.

[14] วิฑูรย์ ปัญญากุล. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกษตร

อินทรีย์ไทย. กรุงเทพฯ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน.

[15] วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ. (2548). Organic food และ

fair trade ปรากฎการณ์ใหม่ของการค้าสินค้า

อาหาร. ผู้จัดการ. 22, 94-95.

[16] ไพฑูรย์ พูลสวัสดิ์. (2549). ขั้นตอนการขอตราปัจจัย

การผลิตพืชอินทรีย์. เกษตรกรรมธรรมชาติ 9, 21.

[17] Yussefi, M. and H. Willer. (2003). Organic

Agriculture Worldwide: Statistics and

Future Respects, IFOAM, Tholey-Theley.

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

89

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ดัชนี

ดัชนี (Index)

ดัชนีผู้เขียน (Author Index) หน้า

กมลวรรณ สุกแดง Kamolwan Sukdang

เฉลิมขวัญ ฤทธิ์ทอง Chalermkhwan Ritthong

ดวงทิพย์ อรัญดร Doungthip Arandorn

ทวีสิน นาวารัตน์

ธัญญา ดวงจินดา Thanya Duangchinda

บัวขวัญ อุ่นเสียม Baukwan Unsiam

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์

พัชรา เจริญวิลาศพงษ์ Patchara Jarenvilapong

ภัสสร ศิริมหาชัย Phatsorn Sirimahachai

ภิมลมาส รัตนบุรี Pimolmart Rattanaburee

วิทวัส แจ้งเอี่ยม Witawat Jangiam

สนั่น ศุภธีรสกุล Sanan Subhadhirasakul

สมใจ จิตพิทักษ์

สมชาย เลี้ยงพรพรรณ Somchai Liengpornpan

สรพงค์ เบญจศรี Sorapong Benchasri

สรียา แซ่ลิ่ม Sareeya Saelim

สันติ แซ่เต็ง Santi Saeteng

สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์ Sirinthip Vitchayavoranan

สุกัญญา เดชอดิศัย Sukanya Dej-adisai

สุปาณี เลี้ยงพรพรรณ Supanee Liengpornpan

สุภฎา คีรีรัฐนิคม Suphada Kiriratnikom

เสกสรรค์ ดำกระบี่

เสาวนีย์ เจ๊งเหยง Saowanee Jaeyeng

หับเส๊าะ หมัดเหม Habsoh Madhem

อภิณัฐ คล้ายสถิต Apinat Klaysatit

อรพรรณ สกุลแก้ว Oraphan Sakulkeo

อีลีหย๊ะ สนิโซ Eleeyah Saniso

10

10

20

59

31

10

55

10

10

10

68

10

46

40

78

20

10

20

20

40

31

46

10

31

20

10

1

วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2553

90

Thaksin.J., Vol.13 (1) January - June 2010

ดัชนี

ดัชนีชื่อเรื่อง (Subject Index) หน้า

1

10

20

31

40

46

55

59

68

78

พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้าขนาดจิ๋ว : การติดตั้งและทดสอบระบบ ณ มูลนิธิสุข-แก้ว แก้วแดง

Pico-Hydropower Generator : The Setup and Test of System The Suk-kaew Kaewdang Foundation

การตรวจสอบมาตรฐานพริกไทยล่อนและขิงที่มีจำหน่ายในร้านขายยาสมุนไพร

ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Standardization of Piper nigrum and Zingiber officinale from Traditional Thai Drug Store

in Hatyai, Songkhla

การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ เพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซนในยาแผนโบราณ

ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Study on Adulteration of Steroids, Prednisolone and Dexamethasone in Traditional Thai Medicines

in Hat-Yai, Songkhla

การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียว

ในอาหารกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii)

Use of Gracilaria fisheri as Carbohydrate Source and Binder in the Diet for Giant

Freshwater Prawn (Macrobrachium rosenbergii)

การเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าวในจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง

Farming of Red Palm Weevil, Rhynchophorus ferrugineus Olivier,

in Songkhla and Phatthalung Provinces

สูตรแบบเฮรอนสำหรับรูปสามเหลี่ยม Heron-type Formula for Triangle

ข้อควรระวังในการใช้ Chi-square Test ในงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

Notice of Using Chi-square Test in Health Science Researches

เบนซีน : มหันตภัยร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง

กระบวนการผลิตแก๊สไฮโดรเจนโดยจุลสาหร่าย

Biophotolysis-based Hydrogen Production by Microalgae

เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย Organic Agriculture in Thailand

รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader)

ต้นฉบับบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณปีที่ 13ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน2553)

ได้รับการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิดังรายนามต่อไปนี้

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษมตั้นสุวรรณ สาขาวิชาเคมี

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยทักษิณ

2. รองศาสตราจารย์ดร.จรูญจักร์มณี ภาควิชาเคมี

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.จินดาพรภูริพัฒนาวงษ์ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4. รองศาสตราจารย์ดร.ชยาพรวัฒนศิริ สาขาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ชัยวัฒน์มณีสว่าง ภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

6. รองศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ขยันการนาวี ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัชพลสามารถ คณะเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

8. รองศาสตราจารย์ดร.นงลักษณ์สุพรรณไชยมาตย์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร

คณะเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิคมถนอมเสียง ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์

คณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

10. รองศาสตราจารย์ดร.นิรันดร์จันทวงศ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

11. รองศาสตราจารย์บุษยาบุนนาค สายวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ปราณีนิลกรณ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

13. รองศาสตราจารย์ดร.พัฒนาเจียรวิริยะพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วรณพวิยกาญจน์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

คณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15. รองศาสตราจารย์ดร.วราภรณ์ภูตะลุน คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

16. รองศาสตราจารย์ดร.สมภพประธานธุรารักษ์ ภาควิชาเภสัชพฤษศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล

17. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.สาธิตแซ่จึง ภาควิชาคณิตศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

18. รองศาสตราจารย์ดร.อุมาประวัติ โปรแกรมวิชาเคมี

มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

รูปแบบเนื้อหา

ลักษณะของวารสาร วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นวารสารเผยแพร่ผลงานวิจัย/บทความทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ของบุคลากรนักวิจัยในมหาวิทยาลัยทักษิณและหน่วยงานต่างๆ

ข้อแนะนำทั่วไป 1. เรื่องที่รับพิมพ์ในวารสารวิจัยนี้ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารรายงานหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน

2. ผู้ส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องเป็นสมาชิกวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณเท่านั้น

ยกเว้นบทความพิเศษที่กองบรรณาธิการพิจารณาให้ได้รับการยกเว้น

3. ต้นฉบับจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้แต่ถ้าเป็นผลงานการวิจัยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทย

และภาษาอังกฤษ

4. เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นที่พิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น

กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย

5. ต้นฉบับจะต้องได้รับการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการตีพิมพ์

ประเภทของผลงานที่จะรับตีพิมพ์ 1. บทความวิจัย(ResearchArticles)

2. บทความวิชาการ(Articles)

3. จดหมายถึงบรรณาธิการ(LettertoEditor)เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งความเห็นของ

นักวิจัยอื่นๆตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ

การเตรียมต้นฉบับทั่วไป 1. ต้นฉบับต้องพิมพ์บนกระดาษขาวขนาดA4พิมพ์หน้าเดียวเว้นขอบด้านหน้า1นิ้วครึ่งด้านหลัง1นิ้ว

ใส่เลขกำกับหน้าทุกหน้าโดยใช้แบบอักษรAngsanaNewขนาดตัวอักษร14ส่งเป็นต้นฉบับ

พร้อมแผ่นซีดีบันทึกไฟล์ข้อมูล(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์http://www.tsu.ac.th/rdi)

2. ถ้ามีภาพประกอบควรเป็นภาพถ่ายขาว-ดำที่ชัดเจนนอกจากจำเป็นจึงควรใช้ภาพสี

3. ถ้าเป็นภาพวาดลายเส้นให้วาดบนกระดาษขาวโดยใช้หมึกดำให้สะอาดและลายเส้นคมชัด

4. ความยาวของเรื่องรวมภาพตารางไม่ควรเกิน8หน้า

5. ส่งต้นฉบับจำนวน3ชุดมายังกองบรรณาธิการวารสาร

การเตรียมต้นฉบับสำหรับบทความวิจัย บทความวิจัยให้เรียงลำดับตามองค์ประกอบดังนี้

1. ชื่อเรื่อง(Title)ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2. ชื่อผู้เขียน(Authors)ครบทุกคน

3. บทคัดย่อ(Abstract)ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีความยาวไม่เกิน200คำ

4. คำสำคัญ(KeyWords)ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

5. เนื้อเรื่อง(MainBody)ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

1) บทนำ(Introduction)บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหาวัตถุประสงค์ของการวิจัย

และอาจรวมการสำรวจเอกสาร(ReviewofRelatedLiterature)

2) วัสดุอุปกรณ์และวิธีดำเนินการ(MaterialsandMethodology)

3) ผลการวิจัย(Results)

4) อภิปรายผล(Discussion)

*3)และ4)อาจเขียนรวมกันได้

5) เอกสารอ้างอิง(References)ใช้ระบบเอพีเอ(APAStyle)

6. แนบเอกสารแสดงการอนุญาตให้ทำการทดลองที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพจรรยาบรรณ

การใช้สัตว์ทดลองหรือจริยธรรมของการทดลองในมนุษย์มาพร้อมกับบทความวิจัย

7. รูปแบบการใช้คำย่อสัญลักษณ์คำย่อที่ใช้ในบทความจะต้องมีคำเต็มเมื่อปรากฏเป็นครั้งแรกในบทความ

หลังจากนั้นสามารถใช้คำย่อเหล่านั้นได้ตามปกติควรใช้ให้เหมาะสมหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อที่ชื่อเรื่องและ

ในบทคัดย่อไม่แนะนำให้ใช้คำย่อที่ใช้ไม่เกิน4ครั้งใน1บทความสำหรับสัญลักษณ์ที่ใช้ในบทความ

จะต้องมีคำจำกัดความหรือคำอธิบายเมื่อปรากฏเป็นครั้งแรกในบทความหลังจากนั้นไม่จำเป็นต้องมี

คำจำกัดความหรือคำอธิบาย(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์http://www.tsu.ac.th/rdi)

การอ้างอิง 1. ในเนื้อเรื่อง

การอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบตัวเลขอยู่ในวงเล็บ“[]”หลังข้อความที่อ้างถึงโดยตัวเลขดังกล่าวเรียงตาม

ลำดับการอ้างอิง

ตัวอย่าง

1. การใช้ปุ๋ย เคมีหรือปุ๋ย เชิง เดี่ยวบางชนิดนานและมากเกินไปมีผลทำให้ธาตุอาหารพืชบางชนิด

ขาดแคลน[1]…

2. Scherer[2]รายงานว่า...

3. และยังทำให้สมดุลของธาตุอาหารพืชในดินเสียไปด้วย[3,4]...

2. ในเอกสารอ้างอิง

1) บทความวารสาร

ชื่อผู้เขียน.(ปีพ.ศ./ค.ศ.).ชื่อบทความ.ชื่อวารสาร. ปีที่พิมพ์ (ฉบับ),หน้า.

ตัวอย่าง

[1]อุไรวรรณไอยสุวรรณ์.(2549).ผลของการปลูกสับปะรดต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพ

ของชุดดินท่ายางในจังหวัดเพชรบุรี.วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 29(2),

297-305.

[2]Scherer,H.W.(2001).Sulphurincropproduction-invitedpaper.European Journal of Agronomy.

14(3),81-111.

2) หนังสือ

ชื่อผู้แต่ง.(ปีพ.ศ./ค.ศ.).ชื่อหนังสือ.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

[3]มุกดาสุขสวัสดิ์.(2544). ความอุดมสมบูรณ์ของดิน. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

[4]Havlin,J.L.,Beaton,J.D.,Tisdale,S.L.andNelson,W.L.(2005).Soil Fertility and Fertilizers : an

Introduction to Nutrient Management.NewJersey.PearsonEducation,Inc.,

3) เอกสารที่ค้นได้จากเว็บไซต์

เขียนเอกสารอ้างอิงโดยใช้รูปแบบเดียวกับบรรณาณุกรมของสื่อสิ่งพิมพ์โดยทั่วไปก่อนที่จะนำมาใส่ใน

เว็บไซต์ต่างๆ เช่น เมื่อนำข้อมูลมาจากหนังสือสามารถเขียนเอกสารอ้างอิงโดยประกอบด้วยชื่อผู้แต่งปีที่พิมพ์

ชื่อเรื่องและสถานที่พิมพ์และเพิ่มข้อมูลที่อาจช่วยในการสืบค้นคือวันที่สืบค้นและURLโดยภาษาไทยใช้ว่า

สืบค้นเมื่อ...จาก...และภาษาอังกฤษใช้ว่าRetrieved…from…หรือถ้านำข้อมูลมาจากบทความก็เขียนเอกสารอ้างอิง

ของบทความก่อน

ตัวอย่าง

[5]อำนวยสุภเวชย์.(2542,3พฤษภาคม).เพื่อนคิดประกันชีวิต:ตัวแทนประกันมีบทบาทสำคัญอย่างไร.

ฐานเศรษฐกิจ 19(377),25-28.สืบค้นเมื่อ5พฤษภาคม2542จากhttp://www.thainews.th.com

[6]ระพีพลกุญชรณอยุธยา.(ม.ป.ป.).ความดันโลหิตสูงสืบค้นเมื่อ21มิถุนายน2550จาก

http://www.thaiheartweb.com.

ใบสมัครสมาชิกวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ

THAKSIN UNIVERSITY JOURNAL

วันรับสมัคร........................................................

หมายเลขสมาชิก................................................

(สำหรับเจ้าหน้าที่)

ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว)...............................................................................................................................................

ที่อยู่ทางไปรษณีย์ที่ต้องการให้จัดส่งวารสาร.....................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................................

อำเภอ........................................................จังหวัด........................................................รหัสไปรษณีย์...............................

โทรศัพท์.........................................................โทรสาร...............................E-mail............................................................

มีความประสงค์เป็นสมาชิกวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน.........................................................ปี (ปีละ 100 บาท)

พร้อมนี้ได้ส่งค่าสมาชิก จำนวน...............................................บาท (..............................................................................)

โดย ธนาณัติ สั่งจ่าย ปณ.ควนขนุน จ.พัทลุง 93110 ในนามบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ

ตั๋วแลกเงินธนาคาร............................................................เลขที่...............................................

(ลงชื่อ).....................................................................

.............../.................../..................

สำนักงานวารสารมหาวิทยาลัยทักษิณสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง 93110

โทรศัพท์ 0-7460-9600 ต่อ 7250-3 โทรสาร 0-7467-3227

E-mail Address : [email protected]