บทที่1 บทนำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15
1 บทที1 บทนำ 1.1 ที่มำและควำมสำคัญ สหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน และมีการดําเนิน ยุทธศาสตร์ระหว่างกันในหลาย ๆ ด้าน มีกรอบความร่วมมือระหว่างกัน รัสเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปซึ่งได้รับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลายในหลายทศวรรษ ที่ผ่านมา รัสเซียเป็นผู้เล่นหลักในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 1 และอ้างจากประวัติความ เป็นมาทางภูมิศาสตร์และการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้เล่นสําคัญในสหภาพยุโรป รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน รัสเซียยังเป็นผู้จัดจําหน่ายพลังงานรายใหญ่ของสหภาพยุโรปและเป็นตลาด ที่มีพลวัตและมีการเติบโตอย่างมาก สําหรับสินค้าและบริการของสหภาพยุโรป โดยมีการเติบโตทาง เศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในฐานะสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือ ในสหภาพยุโรป ( OSCE) 2 และสภายุโรป ( the Council of Europe) 3 รัสเซียและสหภาพยุโรปมุ่งมั่น ที่จะส่งเสริมและเคารพคุณค่าพื้นฐานและหลักการประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และ เศรษฐกิจแบบตลาด การให้ความสําคัญในสิ่งเหล่านี้ กล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่าง รัสเซียและยุโรป พื้นฐานทางกฎหมายในปัจจุบันสําหรับความสัมพันธ์ของรัสเซียและสหภาพยุโรป คือ ข้อตกลงความร่วมมือ (PCA) ซึ่งมีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 1997 และจะมีการต่ออายุทุกปี เป็นกรอบทาง การเมืองสําหรับการปรึกษาหารือเป็นระยะ ๆ ระหว่างรัสเซียและสหภาพยุโรป โดยอิงตามหลักการ 1 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสา หลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญเป็นองค์กรที่มีอํานาจในการเรียก ระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกําลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและ สงครามต่าง ๆ และยังมีอํานาจในการควําบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วยสมาชิกถาวร ( Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหพันธรัฐรัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร ( Non- permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับ เลือกตั้งซ้ําได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ 2 องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ( Organization for Security and Co-operation in Europe OSCE) พัฒนามาจากการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป ( Conference on Security and Cooperation in Europe CSCE) ปัจจุบันประเทศสมาชิก OSCE มี 56 ประเทศ 3 สภายุโรป ( the Council of Europe) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลส่วนภูมิภาค ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 เพื่อ ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม ในรัฐสมาชิก 47 รัฐที่มีประชากรรวมกัน 820 ล้านคน

Transcript of บทที่1 บทนำ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1

บทที่ 1 บทน ำ

1.1 ที่มำและควำมส ำคัญ

สหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์กันมาอย่างยาวนาน และมีการดําเนิน

ยุทธศาสตร์ระหว่างกันในหลาย ๆ ด้าน มีกรอบความร่วมมือระหว่างกัน รัสเซียเป็นประเทศเพ่ือนบ้านที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปซึ่งได้รับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลายในหลายทศวรรษที่ผ่านมา รัสเซียเป็นผู้เล่นหลักในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ1 และอ้างจากประวัติความเป็นมาทางภูมิศาสตร์และการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้เล่นสําคัญในสหภาพยุโรปรวมถึงประเทศเพ่ือนบ้าน รัสเซียยังเป็นผู้จัดจําหน่ายพลังงานรายใหญ่ของสหภาพยุโรปและเป็นตลาดที่มีพลวัตและมีการเติบโตอย่างมาก สําหรับสินค้าและบริการของสหภาพยุโรป โดยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

ในฐานะสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ องค์การว่าด้วยความม่ันคงและความร่วมมือในสหภาพยุโรป (OSCE)2 และสภายุโรป (the Council of Europe)3 รัสเซียและสหภาพยุโรปมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและเคารพคุณค่าพ้ืนฐานและหลักการประชาธิปไตยสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และเศรษฐกิจแบบตลาด การให้ความสําคัญในสิ่งเหล่านี้ กล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและยุโรป พ้ืนฐานทางกฎหมายในปัจจุบันสําหรับความสัมพันธ์ของรัสเซียและสหภาพยุโรป คือข้อตกลงความร่วมมือ (PCA) ซึ่งมีผลใช้บังคับในปี ค.ศ. 1997 และจะมีการต่ออายุทุกปี เป็นกรอบทางการเมืองสําหรับการปรึกษาหารือเป็นระยะ ๆ ระหว่างรัสเซียและสหภาพยุโรป โดยอิงตามหลักการ

1 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสา

หลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอํานาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพ่ือจัดตั้งเป็นกองกําลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่าง ๆ และยังมีอํานาจในการคว่ําบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วยสมาชิกถาวร ( Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝร่ังเศส สหพันธรัฐรัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดํารงตําแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ําได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ

2 องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Co-operation in Europe – OSCE) พัฒนามาจากการประชุมว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (Conference on Security and Cooperation in Europe – CSCE) ปัจจุบันประเทศสมาชิก OSCE มี 56 ประเทศ

3 สภายุโรป (the Council of Europe) เป็นองค์การระหว่างรัฐบาลส่วนภูมิภาค ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 เพ่ือส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม ในรัฐสมาชิก 47 รัฐที่มีประชากรรวมกัน 820 ล้านคน

2

เคารพประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เสรีภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ และความมุ่งมั่นในสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมถึงการเจรจาทางการเมือง การค้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา พลังงาน สิ่งแวดล้อม การขนส่ง และการป้องกันกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งในปี 2003 รัสเซียและสหภาพยุโรปได้จัดตั้งสภาหุ้นส่วนถาวร (Permanent Partnership Council: PPC) เพ่ือเป็นเวทีในการปรึกษาหารือระหว่างประเทศและกําหนดแนวคิดเรื่อง ‘พ้ืนที่ร่วมกันสี่ด้าน’ (Four Common Spaces) ได้แก่ พ้ืนที่ร่วมทางด้านเศรษฐกิจ พ้ืนที่ร่วมทางด้านเสรีภาพ ความมั่นคงและความยุติธรรม พ้ืนที่ร่วมทางด้านความมั่นคงภายนอก และพ้ืนที่ร่วมทางด้านการวิจัย การศึกษาและวัฒนธรรม

ในยุคหลังสงครามเย็น อัตลักษณ์ของรัสเซียในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของยุโรปนี้ได้กําหนด หรือสถาปนาแนวนโยบายต่างประเทศและยุทธศาสตร์แห่งชาติของรัสเซียที่ต้องการสร้า งความสัมพันธ์อันดีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปรวมทั้งการรวมกลุ่มภูมิภาค ที่ต่อมาเรียกว่าเป็นสหภาพยุโรป อย่างน้อยที่สุดในช่วงสมัยแรกของประธานาธิบดี บอริส เยลต์ซิน รัสเซียมีข้อเสนอว่ารัสเซียจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอีกด้วย ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ความไว้เนื้อเชื่อระหว่างรัสเซียกับ สหภาพยุโรปค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจากการพบปะเจรจาและการประชุมร่วมกันระหว่างผู้นํารัสเซียและสหภาพยุโรปอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งรัสเซียและสหภาพยุโรปได้บรรลุข้อตกลงหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Cooperation Agreement: PCA) ในปี ค.ศ. 1994 ซึ่งมุ่งเน้นการพ่ึงพาซึ่งกันและกัน (interdependence) ในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง เป็นต้น เยลต์ซินได้ กล่าวว่ารัสเซียจะเป็นหุ้นส่วนที่ซื่อสัตย์ เชื่อถือได้และไว้ใจได้

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาเดินทางมาถึงจุดหนึ่ง จุดที่ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศเริ่มมีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน อันเนื่องมาจากการดําเนินการทางยุทธศาสตร์ที่ส่งผลกระทบทางด้านลบแก่อีกประเทศหนึ่ง หรือเป็นสิ่งที่ไปละเมิดหลักสันติภาพในการอยู่ร่วมกัน หรือละเมิดข้อตกลงที่ทําไว้ร่วมกัน ย่อมมีการกระทบกระทั่งกันเกิดขึ้น ดังเช่น วิกฤตการณ์ในภูมิภาคบอลข่าน สงครามโคโซโว เป็นต้น กล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและสหภาพยุโรปดําเนินไปในรูปแบบขึ้น ๆ ลง ๆ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่าง รัสเซียกับสหภาพยุโรป ซึ่งค่อย ๆ เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา เป็นผลมาจากความ แตกต่างระหว่างคุณค่า ปทัสถาน อัตลักษณ์และผลประโยชน์ของทั้งสองมหาอํานาจในการเมืองโลก โจทย์สําคัญที่สุดประการหนึ่งที่ทําให้ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหภาพยุโรปตกต่ําไปสู่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน คือโจทย์ของเพ่ือนบ้านร่วมกัน (common neighborhood) ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) ซึ่งถือเป็น

3

หลังบ้านของรัสเซีย4 สหภาพยุโรปได้เริ่มกระบวนการขยายสมาชิกภาพในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา ซึ่งรัสเซียมองการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปด้วยสายตาที่ค่อนข้างหวาดระแวง โดยรัสเซียพิจารณาว่าสหภาพยุโรปต้องการแข่งขันเชิงอํานาจภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซีย และเหตุการณ์ที่กล่าวได้ว่าส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ อย่างที่สุด ก็คือ วิกฤตการณ์ยูเครนและไครเมีย ที่รัสเซียเข้าไปแทรกแซง หลังจากการตัดสินใจของสหรัฐ สหภาพยุโรปก็ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นว่าด้วยการเพ่ิมมาตราการคว่ําบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ซึ่งประเทศตะวันตกเห็นว่าการลงโทษคือมาตรการเดียวเพ่ือเป็นหลักค้าประกันต่ออันที่เรียกว่าเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาครวมทั้งเพ่ือเป็นการป้องปรามการกระทําของรัสเซียที่ถือว่าเป็นการแทรกแซงสถานการณ์ภายในยูเครน แต่ในขณะเดียวกันสหภาพยุโรปก็ต้องเตรียมพร้อมรับผลที่จะตามมาเมื่อดําเนินมาตรการลงโทษต่าง ๆ เหล่านี้

ความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปในแง่ของการดําเนินยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างกันจึงเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจในการศึกษาถึงความเป็นมาและความสําคัญสําหรับเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตามที่เป็นปัจจัยหลักในการกําหนดทิศทางความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศนี้ หรือแต่ละประเทศมีการใช้แนวทางใดในการดําเนินยุทธศาสตร์ที่ส่งผลทั้งทางด้านบวกและด้านลบ หรือแม้กระทั่ง สามารถวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในอนาคตได้ 1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพ่ือศึกษาความเป็นมาความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสหภาพยุโรป

ผ่านการดําเนินยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างกัน 1.2.2 เพ่ือศึกษาถึงแนวทางในการดําเนินยุทธศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและ

ทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน 1.2.3 เพ่ือศึกษาถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปใน

อนาคต ผ่านการวิเคราะห์ทางการดําเนินยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน

4 จิตติภัทร พูนขํา, “ผิดที่ไว้ใจ? รัสเซียกับสหภาพยุโรปในภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง ,” สืบค้นเมื่ํอวันที่

6 ตุลาคม 2561, https://www.the101.world/russia-eu-geopolitic-of-suspicion/.

4

1.3 ขอบเขตกำรศึกษำ ผู้วิจัยได้กําหนดขอบเขตการศึกษา โดยเริ่มจากการศึกษาภูมิหลังความสัมพันธ์ของ

สหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรป โดยใช้วิธีการศึกษาผ่านทางเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการณ์ในภูมิภาคบอลข่าน การขยายเขตอิทธิพลของสหภาพยุโรป วิกฤตการณ์ยูเครนและไครเมีย รวมถึงศึกษาถึงวิธีการดําเนินยุทธศาสตร์ทางภูมิศาสตร์ระหว่างกันในช่วงเวลาที่ผ่านมาผ่านทางการดําเนินนโยบายต่างประเทศ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

1.4 วิธีกำรศึกษำ

ภาคนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยได้

วิเคราะห์จากเอกสารต่าง ๆ ซึ่งสามารถแยกประเภทได้ดังนี้ 1.4.1 ข้อมูลขั้นปฐมภูมิ (Primary Data)

คําแถลงการณ์ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และคําแถลงการณ์ของ สหภาพยุโรป (Declaration of European Union) หรือสุนทรพจน์ต่าง ๆ

1.4.2 ข้อมูลขั้นทุติยภูมิ (Secondary Data) ประกอบด้วยหนังสือภาษาไทย วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ และ

หนังสือภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีการสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านข้อมูลภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซีย และภาษาไทย เพ่ือความถูกต้อง ความหลากหลายทางข้อมูล เพ่ือประกอบการทํานิพนธ์

1.5 สมมติฐำนของกำรศึกษำ

ความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสหภาพยุโรปเริ่มเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันในปัจจุบัน ซึ่งค่อย ๆ เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา เป็นผลมาจากความแตกต่างระหว่างคุณค่า ปทัสถาน อัตลักษณ์และผลประโยชน์ของทั้งสองมหาอํานาจในการเมืองโลก โจทย์สําคัญที่สุดประการหนึ่งที่ทําให้ความสัมพันธ์รัสเซีย-สหภาพยุโรปตกต่ําไปสู่ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน คือโจทย์ของเพ่ือนบ้านร่วมกัน (common neighborhood) ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรป ได้แก่ ยุโรปกลาง ยุโรปตะวันออก และเครือรัฐเอกราช (Commonwealth

5

of Independent States: CIS) ซึ่งถือเป็นหลังบ้านของรัสเซีย สหภาพยุโรปได้เริ่มกระบวนการขยายสมาชิกภาพในบริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมา ซึ่งรัสเซียเองมองการขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปด้วยความหวาดระแวง โดยรัสเซียพิจารณาว่าสหภาพยุโรป ต้องการแข่งขันเชิงอํานาจภูมิรัฐศาสตร์ในบริเวณที่รัสเซียถือว่าเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซีย หรือไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการณ์ในภูมิภาคบอลข่าน สงครามโคโซโว และเหตุการณ์ที่กล่าวได้ว่าส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ อย่างที่สุด ก็คือ วิกฤตการณ์ยูเครนและไครเมีย ที่รัสเซียเข้าไปแทรกแซง ซึ่งเหตุการณ์หลาย ๆ เหตุการณ์นี้ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีของทั้งสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปในปัจจุบัน

1.6 แผนกำรด ำเนินงำน

ช่วงระยะเวลาของแผนการดําเนินงาน มีข้ันตอนดังต่อไปนี้ ช่วงที่ 1 เดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2561 เสนอหัวข้อนิพนธ์ รวมไปถึงรวบรวมข้อมูล

เบื้องต้นเพื่อจัดทําบทที่ 1 ช่วงที่ 2 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เริ่มจัดทําบทที่ 1 และเก็บรวบรวมข้อมูลเพ่ือใช้

ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรป ช่วงที่ 3 เดือนธันวาคม-มกราคม พ.ศ. 2561 หาข้อมูลเพื่อจัดทําบทที่ 2 ช่วงที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2561 หาข้อมูลเพื่อจัดทําบทที่ 3 และ 4 ช่วงที่ 5 เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 หาข้อมูลเพื่อจัดทําบทที่ 5 ช่วงที่ 6 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 จัดรูปแบบและเรียบเรียงภาคนิพนธ์ให้สมบูรณ์

1.7 ผลประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

1.7.1 เพ่ือทราบความเป็นมาความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสหภาพยุโรป ผ่านการดําเนินยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างกัน

1.7.2 เพ่ือทราบถึงแนวทางในการดําเนินยุทธศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน

1.7.3 เพ่ือทราบถึงแนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับสหภาพยุโรปในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์ทางการดําเนินยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน

6

1.8 นิยำมค ำศัพท์

“ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก

“ยุทธศาสตร์” หมายถึง กลไกหรือเครื่องมือที่จะทําให้องค์การมีหรือเพ่ิมความสามารถในการแข่งขันที่ต้องการ สําหรับทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และแนวทางหรือวิธีการที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งความสามารถในการแข่งขัน

“ภูมิรัฐศาสตร์” หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบทางภูมิศาสตร์ (มนุษย์และกายภาพ) ที่มีต่อการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพ่ือทําความเข้าใจ อธิบาย และคาดการณ์พฤติกรรมการเมืองระหว่างประเทศจากตัวแปรทางภูมิศาสตร์ ซึ่งรวมถึงภูมิภาคศึกษา ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ประชากรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ของการประเมินในระดับภูมิภาค

1.9 ทบทวนแนวคิด ทฤษฎี เอกสำรและงำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.9.1 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาความสัมพันธ์ของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปกับการดําเนิน

ยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ผู้ศึกษาได้นําแนวคิดเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ (National Interest) ทฤษฎีการเมืองเกี่ยวพัน (Linkage Politics Theory) ทฤษฎีดุลแห่งอํานาจ (Balance of Power Theory) ทฤษฎีเกม (Game Theory) และทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics Theory) มาใช้เป็นกรอบในการศึกษา

1.9.1.1 แนวคิดผลประโยชน์แห่งชำติ (National Interest) ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นแนวคิดท่ีนํามาอธิบายการดําเนินความสัมพันธ์

ระหว่างประเทศ โดยสามารถนํามาวิเคราะห์ถึงจุดประสงค์ของการสร้างความสัมพันธ์ ตลอดจนแนวนโยบายต่างประเทศของรัฐหนึ่งต่ออีกรัฐหนึ่ง ผลประโยชน์แห่งชาติมักขึ้นอยู่กับรัฐที่จะเป็นตัวกําหนด การนิยามความหมายของแนวคิดผลประโยชน์แห่งชาติ จึงแตกต่างตามแนวคิดของนักทฤษฎี ดังนี้

7

ผลประโยชน์แห่งชาติตามแนวคิดสัจนิยม5 มองว่า ผลประโยชน์แห่งชาติคือเป้าหมายสูงสุดของรัฐ การกระทําใด ๆ ก็ตามของรัฐจะขึ้นอยู่กับหลักผลประโยชน์แห่งชาติเป็นตัวตั้ง นอกจากนี้ นักสัจนิยมยังมองว่าผลประโยชน์แห่งชาติเป็นเรื่องของความสามารถทางการทหารและเศรษฐกิจ เนื่องจากการเมืองระหว่างประเทศคือการต่อสู้กันระหว่างอํานาจ ในบางครั้งอํานาจทางการเมือง การทหารสําคัญกว่าอํานาจทางเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้ง อํานาจทางเศรษฐกิจกลับสําคัญกว่าอํานาจทางการเมืองและการทหาร ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับสถานการณ์ ในช่วงเวลานั้น ๆ

ผลประโยชน์แห่งชาติตามแนวคิดเสรีนิยม6 มองว่า ผลประโยชน์แห่งชาติเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกระแสลูกที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐไม่สามารถโดดเดี่ยวตัวเองให้อยู่รอดได้ ผลประโยชน์แห่งชาติจึงมองในเรื่องของการที่รัฐต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันมาร่วมมือกันเพ่ือสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน7

โดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของ ผลประโยชน์แห่งชาติโดยกว้างออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ผลประโยชน์แห่งชาติที่สําคัญยิ่งต่อชีวิต (Vital National Interest) เรื่องผลประโยชน์แห่งชาติที่สําคัญลําดับแรก (Primary National Interest) และผลประโยชน์แห่งชาติที่สําคัญรองลงมา (Secondary National Interest)8

1. ผลประโยชน์แห่งชาติที่สําคัญต่อชีวิต (Vital National Interest) หรือผลประโยชน์แห่งชาติที่สําคัญลําดับแรก ได้แก่ ผลประโยชน์ที่มีความจําเป็นต่อการคงอยู่ของรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วย ดินแดน ประชากร อํานาจอธิปไตย และรัฐบาล โดยถือว่าหากขาดองค์ประกอบเหล่านี้เพียงอันใดอันหนึ่งไปหรือทั้งหมดย่อมไม่ถือว่าเป็นรัฐ

2. ผลประโยชน์แห่งชาติที่สําคัญรองลงมา (Secondary National Interest) เป็นผลประโยชน์ที่รัฐสามารถสละได้โดยไม่เสี่ยงต่อความมั่นคงและความคงอยู่ของชาติ

5 แนวคิดสัจนิยม (Realism) คือ แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการอธิบายและการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง

ประเทศ เป็นแนวคิดที่ให้ความสําคัญกับรัฐ การเอาตัวรอด และอํานาจ โดยเชื่อว่าทุกประเทศในโลกพยายามแสวงหาทางเอาตัวรอดและรักษาผลประโยชน์ไว้ จึงส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง การแข่งขัน การทําสงคราม โดยนําลักษณะธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์ มาเป็นจุดเร่ิมต้นของการศึกษา

6 แนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) คือ แนวคิดทางการเมืองที่เชื่อมั่นในเหตุผลของมนุษย์มาประยุกต์ใช้กับการเมือง โดยมองว่า แม้มนุษย์จะพยายามรักษาผลประโยชน์ให้แก่ตัวเอง แต่ก็เชื่อว่าผลประโยชน์ดังกล่าว มักมีความคล้ายคลึงกันในแต่ละปัจเจกบุคคล ซึ่งความคล้ายคลึงกันนั้น จะสามารถสร้างความร่วมมือกันได้ เช่นเดียวกันกับกิจกรรมระหว่างประเทศ ที่ถึงแม้จะมีความขัดแย้ง มีสงครามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การจะสามารถบรรลุผลประโยชน์ได้ ย่อมเกิดจากความร่วมมือ

7 นรุตม์ เจริญศรี, ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, พิมพ์คร้ังที่ 2, (เชียงใหม่: บีบุ๊กก๊อปปี้ปรินซ์, 2556), 52-56.

8 มหาวิทยาลัยรามคําแหง, ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์, การเมืองระหว่างประเทศ, พิมพ์คร้ังที่ 10, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2532), 36-45.

8

ทั้งนี้มีเงื่อนไขของการสละผลประโยชน์ที่มีความสําคัญรองลงมาจากนี้ในลักษณะของการตอบแทนผลประโยชน์ที่มีค่าเท่ากันหรืออาจจะมีค่ามากกว่า

นอกจากนี้ ผลประโยชน์แห่ งชาติ ๆ สามารถจํ าแนกออกเป็นองค์ประกอบได้อีก 6 ประเภท ดังนี้

1. การรักษาเอาตัวรอด (Self-Preservation) หรือ ความอยู่ รอด (Survival) การรักษาเอาตัวรอดหรือความคงอยู่ของรัฐเป็นความต้องการขั้นต่ําสุดหรือน้อยที่สุดของทุกรัฐ และถือได้ว่าเป็นผลประโยชน์ที่สําคัญยิ่งของรัฐ ทั้งนี้การกระทําของรัฐเพ่ือให้บรรลุผลประโยชน์ดังกล่าว อาจไปกระทบกับผลประโยชน์ของรัฐอ่ืนได้เช่นกัน ดังนั้น การรุกราน การขัดแย้ง การแข่งขัน ย่อมเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาหรือการตอบโต้ของรัฐที่ถูกกระทบกระเทือนผลประโยชน์เพ่ือป้องกันรักษาตัวเอง

2. ความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ (National Security) สภาพความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศส่งผลให้รัฐต่าง ๆ พยายามแสวงหาความมั่นคงปลอดภัยด้วยการเพ่ิมโอกาสความอยู่รอดให้มากที่สุดหรือลดโอกาสภัยคุกคามให้น้อยที่สุด ทั้งในปัจจุบันและอนาคตการกระทําดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับทัศนคติ การมองสภาวะแวดล้อม รวมทั้งประสบการณ์ในอดีตและการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคตของรัฐนั้น ๆ

3. ความกินดีอยู่ดีร่วมกันแห่งชาติ (National Collective Well-being) หมายถึง ความกินดีอยู่ดีของประชากรภายในประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปัจจุบันความกินดีอยู่ดีครอบคลุมไปถึงเทคโนโลยี ความรู้ ความสามารถ และความก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ ความกินดีอยู่ดีร่วมกันแห่งชาติเป็นผลประโยชน์ที่สนับสนุนความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ การกระทําของรัฐแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะก่อให้เกิดนโยบายที่เป็นไปไหน ทิศทางการป้องกันผลประโยชน์แห่งชาติ และการคุกคามผลประโยชน์ของรัฐอ่ืน เช่นเดียวกัน ก็อาจจะก่อให้เกิดความร่วมมือและความขัดแย้งในผลประโยชน์ที่ตรงกัน

4. ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแห่งชาติ (National Prestige) การกระทําของรัฐ ที่สร้างความประทับใจ ดึงดูดใจ เลื่อมใส หรือศรัทธาจากรัฐอ่ืน เพ่ือให้ได้มาซึ่งการยกย่องให้มีสถานะพิเศษ จะทําให้รัฐนั้น ๆ มีความรู้สึกภาคภูมิใจในเกียรติภูมิของชาติ เนื่องจากการมีสถานภาพอันเป็นที่ยอมรับ จะส่งผลดีต่อการต่อรองผลประโยชน์ ทั้งยังทําให้เกิดความสัมพันธ์ที่พิเศษระหว่างรัฐอีกด้วย

5. อุดมการณ์ (Ideology) เนื่องจากอุดมการณ์เป็นระบบความเชื่อของรัฐ จึงสามารถทําให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันหรือขัดแย้งกันระหว่างรัฐได้ อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์เป็นไปได้ทั้งผลประโยชน์หลัก และผลประโยชน์รอง ขึ้นอยู่กับการกําหนดของรัฐนั้น ๆ เนื่องจาก

9

อุดมการณ์มีลักษณะเป็นนามธรรม จึงมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปตามการตีความและการใช้เหตุผลของบุคคลและสภาพแวดล้อม

6. อํานาจของชาติ (National Power) กล่าวได้ว่า อํานาจเป็นเครื่องมือเพ่ือแสวงหา รักษา และเพ่ิมพูนผลประโยชน์ของชาติ การให้ได้มาซึ่งอํานาจ จึงถือได้ว่าเป็นผลประโยชน์สําคัญของชาติ แม้การเมืองระหว่างประเทศจะไม่ใช่การต่อสู้เพ่ืออํานาจเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีผลประโยชน์อ่ืน ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ เพราะอํานาจสามารถสนับสนุนค้ําจุนผลประโยชน์อ่ืน ๆ ของชาติได้ ซึ่งหากปราศจากอํานาจแล้ว การจะแสวงหาผลประโยชน์เป็นการปกป้องผลประโยชน์ที่มีอยู่ย่อมจะกระทําได้ยาก

กล่าวโดยสรุปได้ว่า ผลประโยชน์แห่งชาติ คือ เรื่องของเอกราช ความมั่นคง ความปลอดภัย ความสงบสุข การกินดีอยู่ดี และการพัฒนาของประชาชนและสังคม ทั้งนี้ผู้นําของประเทศ จะคํานึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติของตนเป็นหลักเสมอ แม้จะมีความร่วมมือมอบอํานาจในการรักษาความมั่นคงและการบริหารงานให้แก่องค์กรที่สูงกว่ารัฐได้ แต่ยังคงเป็นความร่วมมือในขอบเขตที่จํากัดเท่านั้น9

1.9.1.2 ทฤษฎีดุลแห่งอ ำนำจ (Balance of Power Theory) ทฤษฎีแห่งอํานาจ เป็นทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ ให้

ความสําคัญกับอํานาจระหว่างรัฐ โดยศึกษาถึงรูปแบบบางประการของรัฐ ที่ใช้ในการถ่วงดุลเพื่อความมั่นคงระหว่างรัฐ ดังนั้น หลักสําคัญในการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตาม ทฤษฎีดุลแห่งอํานาจจึงอยู่ที่ดุลยภาพ (Equilibrium)10

ฮันส์ เจ. มอร์เกนธอ (Hans J. Morgenthau) กล่าวว่า ทฤษฎีดุลอํานาจ หมายถึง การดําเนินนโยบายของรัฐในการกระจายอํานาจ และเชื่อว่าการเมืองระหว่างประเทศเป็นการเมืองที่ไม่มีกฎเกณฑ์ กล่าวคือ จะไม่มีสงครามเมื่อเกิดดุลยภาพ แต่เมื่อใดที่ดุลยภาพหายไปจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกตาม จะเกิดวิกฤตการณ์ระบบดุลแห่งอํานาจ โดย มอร์เกนธอ ได้ให้คําจํากัดความว่า ผลประโยชน์ คือ การดิ้นรนต่อสู้เพ่ืออํานาจนั่นเอง การที่รัฐต่าง ๆ ใฝ่ฝันอยากมีอํานาจ โดยที่แต่ละรัฐพยายามที่จะคงไว้หรือไม่ทําลายสถานภาพเดิม จะนําไปสู่ความจําเป็นที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อที่จะนําไปสู่สภาพการณ์ ที่เรียกว่า ดุลอํานาจ ดังนั้น แต่ละรัฐจึงพยายามสร้างพันธมิตรเพ่ือให้ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน

มอร์ ตั น เ อ . แคป เลน (Morton A.Kaplan) นั กคิ ดคนสํ า คัญ ในความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในระบบการเมืองระหว่างประเทศจะไม่มีรัฐใดรัฐ

9 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, คณะรัฐศาสตร์, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, 81-82. 10 นรุตม์ เจริญศรี, ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, 59-60.

10

หนึ่งที่มีอิทธิพลครอบงําระบบได้ทั้งระบบ แต่จะมีรัฐอ่ืน ๆ รวมตัวกันต่อต้านเพ่ือคานอํานาจของอีกฝ่าย จึงเรียกว่า ระบบถ่วงดุลอํานาจ11

สําหรับนักคิดสายสัจนิยมดั้งเดิมหลายท่าน กล่าวว่า ดุลแห่งอํานาจเป็นระบบที่ต้องการให้มีอํานาจเท่าเทียมกัน เพราะการถ่วงดุลอํานาจที่เท่าเทียมกันจะสามารถป้องกันการเกิดสงครามและสามารถป้องกันไม่ให้ประเทศหนึ่งประเทศใดเข้ามามีอํานาจในการครอบครองได้อย่างเบ็ดเสร็จ12

ดุลแห่งอํานาจ จึงเป็นหลักการเบื้องต้นของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก การรักษาไว้ก็ยากยิ่งเช่นเดียวกัน หากแต่การคงไว้ซึ่งดุลอํานาจเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการรักษาสันติภาพและความม่ันคงระหว่างประเทศ

1.9.1.3 ทฤษฎีทำงภูมิรัฐศำสตร์ (Geopolitics Theory) ทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ เป็นทฤษฎีที่นํามาใช้เพ่ือศึกษาถึงสภาพแวดล้อม

และปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อการขยายอํานาจรัฐ13 นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายปัจจัยทางลักษณะของภูมิรัฐศาสตร์ที่เอ้ืออํานวยให้บางประเทศเป็นประเทศมหาอํานาจ และสามารถอธิบายการกําหนดนโยบายต่างประเทศ ที่มีผลมาจากลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์14

รูดอร์ฟ เจลเลน (Rudolf Kjellen) ศาสตราจารย์วิชาประวัติศาสตร์และการปกครอง มหาวิทยาลัยกูเต็นเบิร์ก ผู้ริเริ่มใช้คําว่า “ภูมิรัฐศาสตร์” มองว่า การที่จะสามารถเข้าใจรัฐใดรัฐหนึ่งได้อย่างลึกซ้ึง จะต้องทําความเข้าใจในเรื่องของภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐนั้นเสียก่อน ทั้งอาณาเขตพ้ืนที่ ที่ตั้งของรัฐ รูปร่างของรัฐ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ หรือแม้กระทั่งแนวพรมแดน นอกจากนี้เจลเลน ได้กล่าวไว้ว่าประเทศท่ีจะเป็นมหาอํานาจได้นั้น ไม่จําเป็นต้องทําการขยายอาณาเขตเพียงอย่างเดียว แต่การสร้างอํานาจสามารถกระทําได้โดยการใช้วัฒนธรรม หรือเทคโนโลยีของประเทศเป็นเครื่องมือในการสร้างอํานาจได้เช่นกัน

เซอร์ ฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ (Sir Halford Mackinder) ศาสตราจารย์วิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอนและผู้อํานวยการสถาบันศึกษาเศรษฐศาสตร์แห่งลอนดอน ได้เสนอทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ (Heartland Theory) เป็นทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่า เกาะโลก (World Island) ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ของทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา มีจุดยุทธศาสตร์

11 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาชาวิชารัฐศาสตร์, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, 70-71. 12 นรุตม์ เจริญศรี, ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, 61-62. 13 โกวิท วงศ์สุวัฒน์, ภูมิรัฐศาสตร์, พิมพ์คร้ังที่ 1, (นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ,

2545). 14 นรุตม์ เจริญศรี, ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, 70-72.

11

ที่สําคัญอยู่ในบริเวณดินแดนยูเรเชีย โดยดินแดนแห่งนี้ครอบคลุมจากพ้ืนที่ชายฝั่งทะเลบอลติกและทะเลดําทางตะวันตกไปจนกระทั่งถึงเขตไซบีเรียทางตะวันออก และครอบคลุมพ้ืนที่ทางเหนือจากมหาสมุทรอาร์กติกลงมาจรดเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ รวมถึงส่วนที่ราบสูงอิหร่านและที่ราบสูงมองโกเลียเข้ามาไว้ด้วย โดยเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า “ดินแดนหัวใจ” นอกจากนี้ แมคคินเดอร์ ยังได้สรุปทฤษฎีฮาร์ตแลนด์เอาไว้ว่า

ผู้ใดสามารถครอบครองยุโรปตะวันออก ผู้นั้นจะเข้าควบคุมดินแดนหัวใจ ผู้ใดสามารถครอบครองดินแดนหัวใจ ผู้นั้นจะเข้าควบคุมเกาะโลก ผู้ใดสามารถครอบครองเกาะโลก ผู้นั้นจะเข้าควบคุมโลก

นิโคลัส จอห์น สปีกแมน (Nicholas John Spykman) ศาสตราจารย์วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเยล ได้เสนอทฤษฎีริมแลนด์ (Rimland Theory) เป็นทฤษฎีที่สืบเนื่องมาจากทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ของแมคคินเดอร์ โดยกล่าวว่า ดินแดนหัวใจไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสําคัญ หากแต่ดินแดงที่มีความสําคัญจะอยู่ถัดออกมาจากดินแดนหัวใจ ที่เรียกว่าดินแดนครึ่งวงกลมริมใน ซึ่งได้แก่ ดินแดนของทวีปยุโรปและเอเชีย ยกเว้นดินแดนในตะวันออกกลาง ตะวันออกไกล ตะวันออกใกล้ และเอเชียอาคเนย์ เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณกันชน (Buffer Zone) โดย สปีกแมน ได้สรุปทฤษฎีริมแลนด์เอาไว้ว่า

ผู้ใดสามารถควบคุมริมแลนด์ ผู้นั้นจะเข้าครอบครองยูเรเชีย ผู้ใดสามารถครอบครองยูเรเชีย ผู้นั้นจะเข้าควบคุมชะตาของโลก15

อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน (Alferd Thayer Mahan) ศาสตราจารย์วิชาประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์ทางเรือ มหาวิทยาลัยกองทัพเรือประจําสหรัฐอเมริกา ได้เสนอทฤษฎี สมุทรานุภาพ (Sea Power) โดยกล่าวว่า การเป็นมหาอํานาจคือการควบคุมทางทะเล เนื่องจากภูมิศาสตร์ทางทะเลมีความสําคัญในด้านการขนส่งและการคมนาคม ประเทศที่สามารถครอบครองเส้นทางการคมนาคมทางทะเลได้มากจะเป็นชาติมหาอํานาจ16

ซบิกนิว เบรซซินสกี้ (Zbigniew Kazimierz Brzezinski) ศาสตราจารย์ของนโยบายต่างประเทศของอเมริกันที่มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอบกินส์ และที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี จิมมี่ คาร์เตอร์ ได้เสนอแนวคิด The Grand Chessboard เป็นทฤษฎีที่ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ว่าด้วยศักยภาพของอเมริกาในการขยายความเป็นเจ้าโลกของตนให้ยืนยาวออกไป

15 มนู วัลยะเพ็ชร์, ภูมิศาสตร์การเมือง, พิมพ์คร้ังที่ 5, (นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง

สนามจันทร์, 2532), 14-22. 16 Alfred Thayer Mahan, The Influence of SeapowerUpon History 1660-1783 ( Boston: Little,

Brown, 1987).

12

ถึงแม้วอชิงตันในขณะนั้นซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่ม ยังกําลังรู้สึกพึงพอใจกับแสงเรืองรองของความยิ่งใหญ่ที่ตนเองเพ่ิงช่วงชิงชัยมาได้ใหม่ จนมีฐานะเป็นอภิมหาอํานาจเพียงหนึ่งเดียวของโลก แต่เบรซซินสกี้กลับสามารถจินตนาการต่อไปได้แล้วถึงความเครียดเค้นทางภูมิรัฐศาสตร์ที่จะต้องปรากฏออกมาให้เห็น และบ่อนทําลายฐานะดังกล่าวของสหรัฐอเมริกา ถึงแม้สหรัฐ ฯ ในเวลานั้นดูเหมือนมหาอํานาจใหญ่ที่กําลังครองโลกทั้งใบเอาไว้ แต่ยูเรเชียก็ยังคงเป็นสนามการแข่งขันที่สําคัญที่สุดของโลก โดยที่การมีอํานาจครอบงําทั่วทั้งมหาทวีปยูเรเชียถือเป็นพ้ืนฐานแกนกลางสําหรับความยิ่งใหญ่ของโลก

อเล็กซานเดอร์ ดูกิน (Alexandr Dugin) เป็นนักปราชญ์ นักวิเคราะห์การเมืองชาวรัสเซีย และนักยุทธศาสตร์ที่ถูกรู้จักในมุมมองของลัทธิฟาสซิสม์ ได้เสนอแนวคิด รากฐานของภูมิศาสตร์การเมือง: อนาคตทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซีย (The Foundation of Geopolitics: The Geopolitical Future of Russia) ภูมิศาสตร์การเมืองเป็นโลกทัศน์แห่งอํานาจวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังงานและของพลังงาน อีกทั้งยังเป็นศาสตร์แห่งการปกครอง ภูมิศาสตร์การเมืองนั้นเป็นชนชั้นนําอย่างแท้จริง เพราะมีเพียงชนชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมที่เกี่ยวข้อ งได้ ภูมิศาสตร์การเมืองยังถูกมองว่าเป็นโลกทัศน์เช่นเสรีนิยมหรือลัทธิมาร์กซ์ซึ่งจําเป็นต้องมีการลดทอนตีความความเป็นจริงที่ซับซ้อนผ่านแนวคิดของ spatial man ซึ่งการดํารงอยู่ของสิ่งแวดล้อมถูกกําหนดโดยการบรรเทาภูมิทัศน์และพ้ืนที่เชิงคุณภาพ ข้อเสนอของเขาถูกเปรียบเทียบกับนโยบายรัสเซียในปัจจุบันและการคิดเชิงกลยุทธ์ที่สําคัญ

อีกทั้งเป็นทฤษฎีทางภูมิรัฐศาสตร์ที่กล่าวถึงว่า การต่อสู้เพ่ือการปกครองโลกของรัสเซียยังไม่สิ้นสุด และรัสเซียยังคงเป็นพ้ืนที่เวทีของชนชั้นกลางต่อต้านการปฏิวัติของชนชั้นกลางใหม่ ต่อต้านการปฏิวัติอเมริกา จักรวรรดิยูเรเชียจะถูกสร้างขึ้นโดยยึดหลักการพ้ืนฐานของศัตรู การปฏิเสธความเชื่อความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและสหรัฐอเมริกา และไม่ยอมให้ค่าความเป็นเสรีเป็นอิสระเหนือรัสเซีย

1.9.2 เอกสำรและงำนวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง 1.9.2.1 หนังสือและบทควำมที่เกี่ยวข้อง

“พฤติกรรมควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศของประเทศยุ โ รปตะวันออก”17 โดยรองศาสตราจารย์ ประทุมพร วัชรเสถียร ปี ค.ศ. 1984 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกกับสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามเย็น และการสร้างความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับกลุ่มผู้เล่นอ่ืน เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศยุโรปตะวันตก และเยอรมนี

17 ประทุมพร วัชรเสถียร, พฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศยุโรปตะวันออก (กรุงเทพฯ: ไทย

วัฒนาพานิช, 2527).

13

ตะวันตก โดยวิเคราะห์ในเรื่องของท่าทีและความเป็นไปของพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศเหล่านี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมดังกล่าว

“ระเบียบโลกใหม่”18 เขียนโดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ปี ค.ศ. 2012 หนังสือเล่มนี้ได้เขียนเกี่ยวกับบริบทของโลกทั้งในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสําคัญ และเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างยุคสงครามเย็น (Cold War System) ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์สําคัญหลังสมัยยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ยังอธิบายให้เข้าด้วยกันในเชิงระบบที่โยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกซึ่งอยู่ในกรอบของโครงสร้างที่กําลังก่อตัวขึ้นเป็น ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) นั่นเอง

“The Foreign policy of the European Union”19 โดย Srephan Keukeleire และ Jennifer Macnaughtan ปี ค.ศ. 2008 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปในศตวรรษที่ 20 - 21 โดยได้กล่าวถึงนโยบายต่างประเทศเฉพาะนโยบายทางด้านความมั่นคงต่อภูมิภาค ทั้งในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก คาบสมุทรบอลข่าน ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในเครือ CIS และประเทศในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน

“Russia and Europe in the Twenty-First Century an Uneasy Partnership”20 โดย Jackie Gower และ Graham Timmins ปี ค.ศ. 2009 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรป โดยจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งกล่าวถึงกรอบความร่วมมือในการดําเนินนโยบายทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางการเมือง ความมั่นคงปลอดภัย และเศรษฐกิจ และความเป็นหุ้นส่วนที่ไม่ง่ายต่อกัน ความสมดุลที่เกิดข้ึนได้ยากทั้งคุณค่าและผลประโยชน์แห่งชาติ

“Perspectives on EU-Russia Relations”21 โดย Debra Johnson และ Paul Robinson ปี ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหภาพยุโรปและศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ ธุรกิจ และความมั่นคง รวมถึงมิติทางเหนือ

18 สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, ระเบียบโลกใหม่ (กรุงเทพฯ: อมรินทร์พร้ินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2555). 19 Srephan Keukeleire and Jennifer Macnaughtan, The Foreign policy of the European Union

(New York, N.Y., 2008). 20 Jackie Gower and Graham Timmins, Russia and Europe in the Twenty-First Century an Uneasy

Partnership (UK: Anthem Press, 2009). 21 Debra Johnson and Paul Robinson, Perspectives on EU-Russia Relations, 1st edition, ( USA:

Routledge, 2005).

14

ของความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหภาพโซเวียต รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจภายในประเทศของรัสเซีย การค้า สภาพแวดล้อมทางธุรกิจพลังงานและความช่วยเหลือด้านเทคนิคของสหภาพยุโรป

“ปัจจัยที่ส่งผลต่อควำมสัมพันธ์ระหว่ำงสหพันธรัฐรัสเซีย สหภำพยุโรป และสหรัฐอเมริกำ กรณีศึกษำเหตุกำรณ์กำรคว่ ำบำตรสหพันธรัฐรัสเซีย”22 โดย มณีญา กระจ่างพุทธานนท์ ปี ค.ศ. 2014 เป็นภาคนิพนธ์ที่ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซีย สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาจากเหตุการณ์การถูกประกาศคว่ําบาตรของรัสเซียในปี 2014 โดยอ้างอิงจากสถานการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เช่น กรณีข้อพิพาทก๊าซธรรมชาติ การติดตั้งขีปนาวุธในสาธารณโปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก วิกฤติการณ์การเมืองในซีเรีย เป็นต้น

1.9.2.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ “ผิดที่ไ ว้ใจ? รัสเซียกับสหภำพยุโรปในภูมิรัฐศำสตร์แห่งควำม

หวำดระแวง”23 โดย จิตติภัทร พูนขํา จาก https://www.the101.world/russia-eu-geopolitic-of-suspicion/ ปี ค.ศ. 2018 เป็นบทความที่กล่าวถึงความเป็นมาของความสัมพันธ์ของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปตั้งแต่อดีต รวมถึงความร่วมมือระหว่างกัน จนกล่าวถึงจุดเปลี่ยนในช่วงเวลาหนึ่งที่ทําให้ความสัมพันธ์ในเชิงบวกกลับกลายมาเป็นความสัมพันธ์ที่หวาดระแวงซึ่งกันและกันในปัจจุบัน โดยบรรยายผ่านเหตุการณ์สําคัญต่าง ๆ ในอดีตท่ีมีส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ในเชิงดังกล่าว

“The European Union and the Russian Federation” 24 โ ดย Press and information team of the Delegation to Russia จาก https://eeas.europa.eu/ headquarters-homepage/35939/european-union-and- russian- federation_en ปี ค .ศ . 2017 เป็นบทความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพยุโรปในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการค้า พลังงาน สิ่งแวดล้อม การศึกษา หรือแม้กระทั่งสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงปลอดภัย อีกทั้งยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางด้านเทคโนโลยี และความร่ วมมือ

22 มณีญา กระจ่างพุทธานนท์, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธรัฐรัสเซีย สหภาพยุโรป และ

สหรัฐอเมริกา กรณีศึกษาเหตุการณ์การคว่ําบาตรสหพันธรัฐรัสเซีย”, (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต, สาชาวิชารัสเซียศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557).

23 จิตติภัทร พูนขํา, “ผิดที่ไว้ใจ? รัสเซียกับสหภาพยุโรปในภูมิรัฐศาสตร์แห่งความหวาดระแวง,” สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562, https://www.the101.world/russia-eu-geopolitic-of-suspicion/.

24 Press and information team of the Delegation to Russia, “The European Union and the Russian Federation,” accessed January 15, 2019, https://eeas.europa.eu/headquarters-homepage/35939/european-union-and-russian-federation_en.

15

ทางการเงิน ซึ่งทําให้เราสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศผ่านทางความสัมพันธ์ในทุก ๆ ด้าน